Tag: space

  • my (physical) desktop

    my desktop – 4 Jan 2008 “โต๊ะทำงาน” หลังปีใหม่ไม่นาน (คลิกรูปเพื่อดูโน๊ต) อยากให้มันโล่ง ๆ กว่านี้หน่อย แต่มันต้องใช้พลังงานมากเลยถ้าจะทำงั้น ตู้เต็มหมดแล้ว ใต้โต๊ะยังมีหนังสือกับพวกโปสการ์ด (หยิบฟรี) กอง ๆ อยู่ด้วย (ถ้าคอมเล็กกว่านี้ ก็จะมีที่ให้รกเยอะกว่านี้ อิอิ) อยากดูของคนอื่นมั่ง – post yours in your blog at put the link below! 🙂 technorati tags: desktop, me

  • Live+Work Bazaar 2550 B.E.

    ห้องแถว 2550 – “เครื่องมือ” สู้ทุนข้ามชาติในรูปแบบ “อาคาร” โดย คุณยรรยง บุญ-หลง ออกแบบมาสำหรับเมืองที่มีความหนาแน่นสูง กระจายพื้นที่สาธารณะ-พื้นที่แลกเปลี่ยนค้าขาย โดยเพิ่มและดึงพื้นที่เหล่านั้นเข้าใกล้พื้นที่ส่วนตัว สําหรับนักลงทุนที่ต้องการกําไรจากที่ดิน และกําลังคิดที่จะสร้างห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาเก็ต (อย่างโลตัส ) สิ่งที่ควรไตร่ตรองให้ดีก็คือ ระบบรวมศูนย์และระบบมาตรฐานเิชิงเดี่ยว (standardization) นั้นจะนําไปสู่การจัดการในลักษณะ “สังคมนิยม” มากขึ้นๆ ความเป็นปัจเจกนั้นจะน้อยลงเมื่อกิจการขยายใหญ่ขึ้น ผลผลิตจะไม่หลากหลาย และความคิดสร้างสรรค์ (ซึ่งต้องการความเป็นปัจเจกชน) ก็จะน้อยลง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ร้านหนังสือ และห้างใหญ่ๆ กําลังประสบปัญหาขาดทุนเพราะไม่สามารถแข่งกับพ่อค้ารายย่อยทาง eBay ได้ eBay นั้นมีหลักการง่ายๆ ก็คือ สร้างพื้นที่สาธารณะขึ้นมาให้ผู้คนแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง โดยเก็บเพียงค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วม ผลปรากฎว่า eBayได้กําไรมหาศาลเพราะเขา ไม่ต้องลงทุนหาสินค้าเองเลย หากเพียงแค่เปิดพื้นที่ให้คนมาใช้เท่านั้นก็พอ ห้องแถว 2550 ก็อาจมีลักษณะคล้ายๆ กับ eBay คือ เปิดพื้นที่สาธารณะใหม่ขึ้นมาให้คนได้ใช้ โดยเก็บค่าเช่า(สําหรับห้องแถว) และค่าธรรมเนียม(สําหรับแพงลอย) ในราคาถูกแต่เก็บมากรายขึ้น ยิ่งคนมาขายเยอะก็ยิ่งเก็บได้เยอะและเก็บได้ถูกลง เป็นผลให้คนมาขายมากขึ้นอีก ดูไปดูมา…

  • digital culture

    ผมเชื่อว่า การมีปฏิสัมพันธ์กัน ทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนข่าวสารกัน แลก meme กัน ในสังคม มันเป็นกระบวนการในการสร้างวัฒนธรรม (สังคมเคลื่อนวัฒนธรรม และ วัฒนธรรมเคลื่อนสังคม เช่นกัน) เมื่อก่อน ข่าวสารมันไปได้ช้า กิจกรรมจะทำร่วมกันได้ ก็ต้องอยู่ในสถานที่ทางกายภาพร่วมกัน มีข้อจำกัดเรื่องการเดินทางอยู่ (ซึ่งต้องอาศัยเวลา) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมันก็เป็นไปตามความเร็ว(ช้า)เช่นนั้น สมัยนี้ เทคโนโลยีอย่างโทรศัพท์ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ทำให้ข่าวสารไปได้เร็วมาก เร็วกว่าสสารเสียอีก และไม่ใช่แค่ทางเดียว แต่เป็นสองทางแบบเวลาจริง (real-time) เราสามารถมีพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่ทางกายภาพ เหล่านี้เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (เรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมนั้น มีตัวอย่างในอดีตมามากมาย ตั้งแต่การใช้ไฟสัญญาณ การประดิษฐ์ตัวอักษร กระดาษ แท่นพิมพ์ ไปรษณีย์ โทรเลข เรื่อยมา) เมื่อเช้าตื่นมา ยังนอนอยู่ นึก ในระดับแรก เทคโนโลยีก็เพียงช่วยในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร แต่กิจกรรมนั้นยังทำในสถานที่ทางกายภาพ ในโลกจริงอยู่ เช่น คนที่รักการถ่ายรูป ก็ไปคุยกัน ไปแลกรูปกันดู ในกระดานข่าวสาธารณะบนอินเทอร์เน็ต (เช่น ห้องกล้อง…

  • contemporary art is on the street

    “ทุกวันนี้คนเสพงานศิลปะมีอยู่แต่เป็นคนหน้าเดิม วงการศิลปะยังต้องสร้างกลุ่มคนดูใหม่โดยการเอางานศิลปะ เข้าไปในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น ที่ผ่านมาเราเอางานศิลปะ ไปแสดงตามจุดที่คนต้องไป อย่างถนนออชาร์ด ห้างสรรพสินค้า โบสถ์คริสต์ โบสถ์จีน โบสถ์พราหมณ์ ศาล สถานที่ราชการ บางงานอาจจะมีแค่วันเดียวจบ บางงานอาจจะมีต่อเนื่อง เพื่อให้คนเข้าร่วมได้มากขึ้น เพราะผู้ชมมีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาศิลปะร่วมสมัย” ชอบและเห็นด้วยกับวิสัยทัศน์ของคุณผู้จัดงาน singapore biennale แฮะ 🙂 ว่า “ผู้ชมมีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาศิลปะร่วมสมัย” สังเกตมาหลายทีเหมือนกันว่า งานไหนที่ผู้ชมมีส่วนร่วมในงาน หรือเป็นส่วนหนึ่งของงาน มักจะทำให้งานนั้นมีรู้สึกมีชีวิตชีวา และเป็นที่จดจำ มากกว่างานที่แสดงอยู่ในสถานที่นิ่งๆ เช่นงาน Nowandthen ที่กรุงเทพฯเมื่อ 3 ปีก่อน งานอย่าง Designmai เมื่อ 2 ปีที่แล้ว .. หรืออย่างล่าสุด Singapore Biennale ปีนี้… anpanpon’s ศิลปะร่วมสมัยแถว ๆ บ้าน technorati tags: art, contemporary art, street, space

  • Place, Space, Culture, and Politics

    ได้คำใหม่มาจากงาน เสวนาปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 1: “โจทย์ปฏิรูปการเมือง 2550” วันนี้ — “การเมืองเชิงพื้นที่” และ “การเมืองเชิงสถานที่” พื้นที่ (space) น่าจะเป็นเรื่องของ ค่านิยมร่วม ความรับรู้เข้าใจร่วม เป็นอะไรที่ปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวไปตามคน ส่วน สถานที่ (place) น่าจะเป็นเรื่องของ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ หรือองค์กร สถาบัน อย่างคนอยู่ในจังหวัดเดียวกัน (สถานที่) อาจจะมีความรับรู้ต่อสิ่งรอบข้างไม่เหมือนกัน (พื้นที่) ตามภูมิหลัง ข่าวสารที่ได้รับ ค่านิยม ความเชื่อที่ต่างกัน — กล่าวคือ คนสองกลุ่มที่อยู่ในสถานที่เดียวกัน อาจจะอยู่ในพื้นที่ต่างกันก็ได้ เท่าที่เข้าใจนะ ตามไม่ทันเท่าไหร่ เดี๋ยวรออ่านข่าวดีกว่า น่าจะมีลงหลายฉบับ เห็นมีนักข่าว โอเพ่น ประชาไท สถาบันข่าวอิศรา ไทยโพสต์ ฯลฯ มีหลายประเด็นน่าสนใจมาก เรื่องระบอบที่ไม่รู้จะเอายังไง เรื่องขนาดของระบบราชการ/รัฐ การกระจายอำนาจ คำถามเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อำมาตยาธิปไตย อภิชน ฯลฯ ตามอ่านข่าวละกัน 🙂…