-
กวาดสายตาที่เส้นขอบฟ้า
@PACEyes ชวนเขียนบทความส่งนิตยสารว่าด้วยการมองภาพอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมเล่าเรื่องที่เดินทางและพบเห็น พร้อมกับข้อสังเกต รวม ๆ ทั้งหมดมันตั้งอยู่บนธีมหลักที่ผมสนใจ คือ “mobility” เป็นครั้งแรกที่เขียนในกรอบของวิธีที่เรียกว่า “horizon scanning”
-
[22-23 Dec] Conference on Nationalism and Multiculturalism
ประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม” 22-23 ธ.ค. 2551 @ เชียงใหม่ http://202.28.25.21/conf2008/ สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นมาพร้อมๆ กับการกระบวนการสร้างรัฐชาติ ได้ส่งผลต่อการให้นิยามวัฒนธรรมประจำชาติและอัตลักษณ์ประจำชาติ ศาสนา ภาษา แนวคิดเรื่องการพัฒนาและระบบคุณค่าทางสังคมภายใต้รัฐชาติไทย เหล่านี้ ได้นำไปสู่การกดทับ และทำลายอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของกลุ่มคนที่ด้อยกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนกลุ่มอารยธรรมย่อย นอกจากนี้ ยังนำไปสู่อคติทางชาติพันธุ์ ที่มองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปอย่างเป็น “คนอื่น” และการสร้างภาพแบบเหมารวม เช่น ชาวเขาทำลายป่าและค้ายาเสพติด ชาวมุสลิมชอบใช้ความรุนแรง ในบางครั้งนำไปสู่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และความรุนแรงในสังคม นอกจากนี้ นโยบายการพัฒนาภายใต้วาทกรรมความทันสมัย ผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐที่เข้าไปดำเนินงานในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มักมุ่งเน้นไปที่ปัญหาความมั่นคงของชาติและการส่งเสริมให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร การปรับเปลี่ยนจากวิถีชีวิตแบบยังชีพเข้าสู่ระบบการตลาด โครงการพัฒนาต่างๆ นั้น ยังละเลยการให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วยความหลากหลายและซับซ้อนของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น พลังทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง ซึ่งมิไม่ได้เปิดพื้นที่ให้กลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ได้ตอบโต้หรือเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน การประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม”…
-
National Security Act in Southeast Asia
“ถ้าคุณไม่กล้าพูดต่อต้าน พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ คุณกำลังให้อำนาจทุกอย่างกับรัฐบาล คุณกำลังให้อำนาจรัฐบาลในการมาเคาะประตูบ้านคุณและนำตัวคุณไป คุณกำลังยอมสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไป และ…คุณกำลังยอมสูญเสียสิทธิของคุณไป” — ไมเคิล แชง จากสิงคโปร์ ประเทศที่มี พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ บังคับใช้ “ผมไม่สามารถจิตนาการได้ในเวลานั้นว่า อำนาจในการคุมขังนี้…จะถูกใช้ต่อกลุ่มฝ่ายค้านทางการเมือง แรงงานที่เรียกร้องสวัสดิการ และประชาชนทั่วไปที่ดำเนินกิจกรรมเรียกร้องสิทธิอย่างสันติ” — เรจีโนล ฮุจ ฮิคลิง ทนายอังกฤษที่เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน เขียนใน ค.ศ. 1989 “กฎหมายความมั่นคงในมาเลเซียได้ถูกคงไว้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเพราะมันเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้อย่างง่ายดายโดยรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นเครืองมือในการสร้างความกลัวโดยรัฐ และใช้อย่างต่อเนื่องกับนักกิจกรรมที่ต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของประชาชนมาเลเซีย” — ดร. คัว เคีย ซูง นักสังคมศาสตร์และคณะกรรมการบริหารขององค์กรเสียงของประชาชนมาเลเซีย (SUARAM) ประชาไท, การเคาะประตูที่ตัดสินอนาคต : พ.ร.บ. ความมั่นคงฯกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ technorati tags: national security, Southeast Asia, law
-
Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective
จากรีวิวที่ I am what I am แต่ถึงอย่างไรกลุ่มสถาปนิกและนักคิดจำนวนหนึ่ง ได้พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าการดำรงอยู่ของความหลากหลาย ความไร้ระเบียบและความแออัด อันเป็นส่วนหนึ่งและสเน่ห์อย่างหนึ่งของภาวะความเป็นเมือง หนึ่งในกลุ่มดังกล่าว วิลเลี่ยม ลิม ดูเหมือนจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในความเป็นเมืองของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะถิ่นพำนักของเขา (สิงคโปร์) ในหนังสือ (โพสต์)โมเดิร์นทางเลือกมุมมองของเอเชีย (Alternative (Post) Modernity: An Asia Perspective) ของเขา ดู เหมือนจะเป็นการรวบรวมงานเขียนและปาฐกถาที่มุ่งให้คุณค่าในการวิเคราะห์ ความเป็นเมือง สถาปัตยกรรมเมือง และความไร้ระเบียบที่ดำรงอยู่ในเมือง ตลอดจนการกดทับของผังเมืองสมัยใหม่ต่อความไร้ระเบียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลิมได้ชี้ให้เห็นถึงการมองความหลากหลายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้คน กิจกรรมทางสังคม และวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างกันออกไป ในความคิดของเขาความไร้ระเบียบ ไร้กฏเกณฑ์ และแออัดของสถาปัตยกรรมและผังเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือเป็นสิ่งที่สมควรปิดบัง กดทับและเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หากแต่ความไร้ระเบียบดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่บ่งบอกที่อัตลักษณ์และ สเน่ห์พิเศษของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาปัตยกรรมเมืองแบบสมัยใหม่มีส่วนในกระบวนการกดทับ ปิดบังสภาพอันไร้ระเบียบของเมืองเดิม “การคำนึงถึงถนนและอาคารที่มีอยู่เดิมทำให้สิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่นั้นคู่ขนานไปกับถนนเส้นหลัก ในขณะที่สภาพเดิมของเมืองและพื้นที่ด้านหลังของสิ่งก่อสร้างใหม่นั้นถูกทิ้งไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง สภาพสังคมเช่นที่เคยผนวกกับความทรงจำและสิ่งก่อสร้างของอดีตถูกคงไว้เบื้องหลังของการพัฒนาสมัยใหม่” อ่านอีกรีวิวที่ Quarterly Literary Review Singapore (ภาษาอังกฤษ) รายละเอียดหนังสือ, การสั่งซื้อ…
-
Run Away Vietnam
เวียดนามจะแซงไทยจริงหรือ ? เจาะลึกม้ามืดเอเชีย รายงานพิเศษโดยกรุงเทพธุรกิจ มีทั้งหมด 5 ตอน (เป็น PDF): เปิดโลกการลงทุนเวียดนาม, เวียดนามยุคใหม่เน้นเศรษฐกิจเสรี, ทูตไทยเตือน, ไทยเจอมรสุมขาดแรงงานทักษะ ต่างชาติส่อย้ายหนีลงทุนเวียตนาม, สมาคมนักธุรกิจไทยฟันธง เวียตนามแซงไทยไม่ใช่แค่ฝัน tags: Vietnam, Thailand, report, development, economy
-
Asia247
Asia247 about Asia. 24 hrs a day. 7 days a week. Citizen journalism, podcasts about Asia, aggregated. tags: Asia, SE Asia, citizen journalist, podcast
-
New Asian Colonisation ?
SembCorp Industrial Parks สวนอุตสาหกรรมที่บริหารงานโดย SembCorp ใน Wuxi (ใกล้เซี่ยงไฮ้), โฮจิมินห์ซิตี้, Batam (อินโดนีเซีย) และ Bintan (อินโดนีเซีย) วันนี้ไปยืนอ่าน The Economist ฉบับล่าสุด (23 มี.ค. 2549) เค้ามีบทความวิเคราะห์เล็ก ๆ (ครึ่งหน้า) เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในการขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ซึ่งมีสองปัจจัยที่ฉุดไม่ให้มันฉิวอย่างที่ศักยภาพของสิงคโปร์ทำได้จริง หนึ่งก็คือ แรงงานมีน้อยและราคาแพง สองก็คือ ที่ดินมีจำกัด แพง ทำให้ต้นทุนการมาตั้งโรงงานตั้งกิจการใหม่ ๆ ในประเทศเค้าเนี่ยสูง จนแข่งกับอื่นในเอเชีย อย่างจีนและอินเดียได้ลำบาก ทางออกของสิงคโปร์ตอนนี้ก็คือ รัฐจะสนับสนุนให้บริษัทเอกชน (ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ถือหุ้นใหญ่โดยรัฐอีกที) เข้าไปลงทุนเปิดสวนอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างในข่าวนี่ เป็นกรณีของเกาะ Bintan ของอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากสิงคโปร์ นั่งเรือเฟอร์รี่ไปมาหากันได้ โดยสิงคโปร์ได้เจรจากับรัฐบาลอินโดนีเซีย จะให้การช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐาน สร้างถนน ไฟฟ้า ประปา ระบบการสื่อสารให้ รวมทั้งระบบการบริหารจัดการด้วย…
-
Thai Canal
คลองไทย (aka คลองกระ, คลองคอคอดกระ) Thai Canal (aka Kra Canal, Kra Isthmus Canal) โครงการศึกษาคลองไทย ของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ วุฒิสภา ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลที่ทางคณะฯ ศึกษามาร่วม 3 ปี เพื่อสรุปเป็นรายงานให้กับวุฒิสภาต่อไป FYI, Thai Canal is something like Panama Canal and Suez Canal. Thailand has a plan for the canal for more than hundred years, but it has never been realized. Location of the canal will be…