Tag: religion

  • อันล่วงละเมิดมิได้ the Untouchable ?

    จาก ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา อีกหนึ่งกฎหมายที่ถูกดัน เข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 (มีกฎหมายจำนวนมากถูกนำเข้าสนช.ในช่วงนั้น กฎหมายจำนวนมากที่ผ่านออกประกาศใช้จากการนำเข้าพิจารณาในช่วงนั้น เป็นกฎหมายที่ในเวลาปกติน่าจะผ่านออกมาลำบาก จะต้องมีการอภิปรายหรือถูกตรวจสอบจากสังคมอย่างมากแน่) มีอยู่ร่างหนึ่งจาก พ.ศ. 2551 มีมาตรานี้: มาตรา 40 ผู้ใดโฆษณาหรือไขข่าวด้วยประการใด ๆ ด้วยภาพ ตัวอักษร หรือข้อความที่ทำให้ปรากฏ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือกระทำการกระจายเสียงหรือกระจายภาพ หรือกระทำการป่าวประกาศโดยวิธีอื่นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายต่อพระพุทธศาสนา หรือเป็นเหตุให้พระภิกษุ สามเณร บรรพชิต หรือแม่ชี แล้วแต่กรณี เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ปัจจุบัน ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว มีหลายร่างจากหลายองค์กร ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เว็บ phrathai.net หลายมาตราถูกเพิ่มเข้าเอาออกหรือแก้ไข อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามาตรา 40 อย่างในร่างข้างต้น สุดท้ายจะไปโผล่ในกฎหมายฉบับจริงหรือไม่ แต่มันก็สะท้อนได้ว่า…

  • rules

    ถ้า – กฎเยอะซับซ้อน สะท้อน ความไร้ระเบียบ แล้ว – ศาสนาประจำชาติในกฎหมาย สะท้อน ความไร้ศาสนา ? ข้อเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องบางส่วน จาก ไทยพูด.คอม: หมวดที่ 3 ควรเปลี่ยนชื่อหมวด จาก ‘สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย’ เป็น ‘สิทธิและเสรีภาพของประชาชน’ มาตรา 28 วรรคแรกที่ว่า “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและ เสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน” เสนอให้ตัดเรื่อง ‘ศีลธรรมอันดีงาม’ ออก และควรเพิ่มประโยค ให้เป็น “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและ เสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รัฐไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดว่าอะไรคือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ไม่ว่าจะผ่านหน่วยงานของรัฐหรือกลไกอื่นๆ” มาตรา 38 วรรคหนึ่ง ที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกาย ของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการ ปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” เสนอว่า ควรตัดประโยคเรื่องหน้าที่พลเมืองหรือความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมฯลฯ และเพิ่มความดังนี้ “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา…