Tag: political reform

  • เลือกคนที่เอาออกได้ เลือกกฎหมายที่แก้ไขได้

    ดี ดีกับใคร ดีที่ไหน ดีเมื่อไร เมื่อสิ่งต่าง ๆ มันเปลี่ยนแปลงได้ เราจะไปยึดอะไรตายตัว ก็เลือกคนที่เราเอาออกได้(หรือมีวาระหมดอายุ) เลือกกฎหมายที่เราแก้ไขได้ กฎหมายที่ยุติธรรมวันนี้ อีกสิบปีข้างหน้ามันอาจจะไม่ยุติธรรมแล้ว เราก็ปรับไป ขอให้มันมีช่องเปิดไว้ ‎ “อยากให้ สรุปชัดเจนว่า ระบบการเมืองที่ประชาชนเข้มแข็งอย่างที่อยู่ในจินตนาการของคณะกรรมการปฏิรูป แน่นอนเป็นสิ่งที่เราต้องการ แต่ในทางปฏิบัติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมากจนแทบจะเป็นการหลอกตัวเองว่า ประชาชนจะลุกขึ้นมาทำหน้าที่ต่างๆ ในระบบการเมืองด้วยตัวเอง ปรากฏการณ์ในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกคือ การสร้างระบบตัวแทนที่ทำหน้าที่ดูแล เชื่อมโยงและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือทำให้ระบบพรรคการเมืองเข้มแข็ง ไม่ใช่อ่อนแอ สื่อแขนงต่างๆ จะเป็นตัวกลางที่สำคัญมากในการสื่อสารระหว่างพรรคและประชาชน ขณะเดียวกันต้องสร้างระบบตรวจสอบพรรคและนักการเมืองที่เข้มข้นไปพร้อมกัน มาตรวัดความเข้มแข็งของประชาชนที่ดีที่สุดคือ ผ่านการเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอและการมีพรรคการเมืองที่เชื่อมโยงกับประชาชน ตรวจสอบได้ และไม่พอใจเอาออกได้ ไม่ใช่การมีสมัชชาประชาชนจำนวนมากที่สังคมตรวจสอบไม่ได้ ในที่สุดก็จะกลายเป็นองค์กรขุนนางชาวบ้านที่ผลาญงบประมาณจำนวนมาก และอ้างว่าวาระของตนเองคือวาระของประชาชน” — สิริพรรณ นกสวน สวัสดี, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทสัมภาษณ์ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ใน ThaiReform.in.th [ผ่าน มติชนออนไลน์]

  • Thailand’s Political Reform++

    โจทย์ปฏิรูปการเมือง — การเมืองไทยยังไม่บรรลุโจทย์เดิม วันที่ 29 พ.ย. 2549 ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 1 เรื่อง “โจทย์ปฏิรูปการเมือง 2550” มีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย, ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ผศ.สิริพรรณ นกสวน, ดำเนินรายการโดย อ.ปกป้อง จันวิทย์ (ตามกำหนดการเดิม ระบุชื่อ นายพิภพ ธงไชย และนายสุริยะใส กตะศิลา แต่ทั้งสองได้ปฏิเสธที่จะร่วมอย่างกะทันหัน) เพื่อให้ได้อรรถรสจากงานนี้เต็มที่ ประชาไท ขอสรุปประเด็นเพียงสั้นๆ พร้อมทั้งเปิดคลิปเสียงให้ฟังประกอบแบบเต็ม ๆ ดังนั้น การสรุปย่อนี้ จึงเป็นการสรุปประเด็นสั้นๆ ที่เรียงตามลำดับเวลา รศ.ดร.นครินทร์ : ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีองค์กรที่มีบุคลาการจำนวนเกิน 3 สนคนอยู่หลายหน่วยงาน เช่น ตำรวจ…

  • Beyond Thaksin

    “ ทักษิณไม่ใช่ปัญหาประการเดียวของแผ่นดิน แต่มีอะไรบางอย่างที่ใหญ่กว่าทักษิณ ” ‘ประชาไท’ สัมภาษณ์ รศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ : “ความอิจฉาเป็นบ่อเกิดแห่งความเสมอภาค” (mirror: กรุงเทพธุรกิจ)