-
สัมภาษณ์ @klaikong เรื่อง “ข้อมูลเปิดภาคสาธารณะ” กับการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง #opendata #opengov
ผมสัมภาษณ์ พี่แต๊ก ไกลก้อง ไวทยการ (@klaikong) เอาไว้เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2553 ที่ผ่านมา ระหว่างเวิร์กช็อป “Open Data Hackathon” ที่ Opendream คุยกันเรื่องความเคลื่อนไหว “ข้อมูลเปิดภาครัฐ” หรือ “ข้อมูลเปิดภาคสาธารณะ” (Open Government Data หรือ Open Public Data) กับความจำเป็นของสังคมไทยที่ภาครัฐจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะเข้าถึงได้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถร่วมพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการตัดสินใจบนข้อมูลที่รอบด้าน ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วันนี้เพิ่งถอดเทปเสร็จ มีคุยกันเรื่องรูปแบบข้อมูล รวมถึงความเป็นไปได้ในการจะออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง : เรื่องมาตรฐานข้อมูลเนี่ย ประเทศเราทำไม่ได้จริงซะที คุยกันมานานแล้ว ว่าจะต้องมีระบบมาตรฐาน จะต้องมี standard อะไรต่าง ๆ XML ฯลฯ แต่ถึงทุกวันนี้ เท่าที่เห็น ร้อยละ 80 ข้อมูลก็ยังอยู่ในรูปแบบ PDF ซึ่งอันนี้มันสะท้อนเรื่องวิธีคิดว่า ข้อมูลนี้ก็ยังเป็นข้อมูลของหน่วยงานนั้นอยู่…
-
Thai political timeline แผนผังการเมืองไทย โดย ThaisWatch.com
แผนผังการเมืองไทย (timeline เลื่อนไปมาได้) โดย ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย ThaisWatch.com [via @iPattt] technorati tags: Thailand, politics, timeline, visualization
-
TUelection.com
ศูนย์ข้อมูลการเลือกตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TUelection.com ไม่รู้ใครทำ ความคิดดี update: เค้าเพิ่งเพิ่มผลการเลือกตั้งย้อนหลัง ไปถึงปี 2548 ขยันดี ทางกลุ่ม PoliticalBase.in.th ก็ขยันเช่นกัน technorati tags: university, student, election
-
Corpus-Related Research
สาขาวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์จากคลังข้อความได้ เช่น ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ วัฒนธรรมศึกษา และ การวิเคราะห์วาทกรรม ใน Linguistics of Political Argument: The Spin-Doctor and the Wolf-Pack at the White House [gbook], Alan Partington รองศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยคาเมรีโน ประเทศอิตาลี ได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างทำเนียบขาวกับสื่อ โดยการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์จากคลังข้อความ ซึ่งประกอบไปด้วยสรุปคำแถลงข่าวประมาณ 50 ชิ้นในช่วงปีท้าย ๆ ของการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีคลินตัน โดยหัวข้อนั้น มีตั้งแต่เรื่องในโคโซโวไปจนถึงเรื่องความสัมพันธ์คลินตัน-เลวินสกี งานชิ้นนี้ไม่เหมือนใครก่อนหน้า ตรงที่มันทำให้เราเห็นว่า เราสามารถนำเทคโนโลยี concordance (การแสดงคำที่กำหนดในบริบทต่าง ๆ) และหลักฐานทางภาษาศาสตร์อย่างละเอียด มาใช้ในการศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวาทกรรม ทั้งในตัวบทและกลวิธีการสื่อสารของผู้พูดได้-อย่างไร Tony McEnery and Andrew Wilson, Corpus Linguistics, Edinburgh…
-
politicalbase.in.th
เปิดแล้ว: ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย – politicalbase.in.th “แต่การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยเพียงเฉพาะในเลือกตั้งอย่าง เดียวยังไม่เพียงพอ การตรวจสอบการทำงานของพรรคการเมืองทั้งก่อนและหลังจากช่วงการเลือกตั้งยัง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเริ่มโครงการ politicalbase.in.th ก็เกิดมาจากการตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าวนี้ ทั้งนี้เพื่อลดภาระและต้นทุนการเข้าถึงข้อมูลของนักการเมือง และพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบนโยบายและความเชื่อมโยงทางการเมือง” ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากประชาชนผู้มีสิทธิ์มีเสียง โดยการช่วยกันเพิ่มข้อมูล ทีละเล็กละน้อย ค่อย ๆ สะสมเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะทั้งหมด – ตัวเว็บไซต์เป็นลักษณะวิกิที่เปิดให้ทุกคนเพิ่มและแก้ไขข้อมูลได้ โดยมีกองบรรณาธิการตรวจสอบที่มาของข้อมูลในเบื้องต้น ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย – politicalbase.in.th – โดยการสนับสนุนของ มูลนิธิฟรีดิชเนามัน (เยอรมนี), สถาบันทีอาร์เอ็น (ไทย), และ สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต แนะนำมูลนิธิฟรีดิชเนามันสั้น ๆ — มูลนิธิฟรีดิชเนามัน (Friedrich-Naumann-Stiftung) เป็นมูลนิธิของประเทศเยอรมนีเพื่อสนับสนุนการเมืองแบบเสรีนิยม (มีความเกี่ยวพันกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (FDP) ของเยอรมนี) โดยสนับสนุนเสรีภาพของปัจเจกและแนวคิดเสรีนิยม มูลนิธิดำเนินงานตามแนวคิดอุดมคติของ ฟรีดิช เนามัน ที่เชื่อว่าประชาธิปไตยจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองมีการศึกษาและได้รับข่าวสารทางการเมืองอย่างเพียงพอ ซึ่งตามแนวคิดนี้ การศึกษาการบ้านการเมือง (civic education) เป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานที่ขาดไม่ได้สำหรับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และสำหรับประชาธิปไตย…