-
download culture
โหลดกระหน่ำเมือง – เนื้อหาดิจิทัลออนไลน์ เมื่อผู้ผลิตวิ่งตามไม่ทันผู้บริโภค “มันเลี่ยงไม่ได้หรอกที่ไลฟ์สไตล์คนไทยจะเปลี่ยนมาเป็นแบบนี้ เพราะมาจากทั้งตัวเทคโนโลยีและวัฒนธรรมพื้นฐานของเรา…” พัฒนพงศ์ แสงธรรม อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอดีตนักจัดรายการวิทยุ – อดีตผู้บริหารค่ายเพลงสากลในประเทศไทยหลายแห่ง ตั้งแต่ โพลีแกรม จนถึง วอร์นเนอร์ มิวสิค ตั้งข้อสังเกต เมื่อพูดถึงพฤติกรรมดาวน์โหลดคอนเทนท์ด้านบันเทิงทั้งหนังและเพลงอย่างผิดกฎหมายในวันนี้ “เยาวชนไทยเราโหลดกระหน่ำ พวกเขามีความเข้าใจเทคโนโลยีมากกว่าคนในอุตสาหกรรมบันเทิงด้วยซ้ำ รู้ตั้งแต่วิธีการดาวน์โหลด ทั้งเอ็มพี 3 เอ็มพี 4 เรื่อยไปจนถึงชุมชนบิททอร์เรนท์ ซึ่งมีการแบ่งปันความรู้ พอเจอไวรัสต้องทำยังไง พอมีโทรจันตัวใหม่มาต้องจัดการอย่างไร พวกเขาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างเสร็จสรรพภายในชุมชนตัวเอง นี่คือปัญหาสำหรับ business operator ทั้งหลายที่ยังไม่ปรับตัวว่าควรจะวางโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมต่อไป อย่างไร” technorati tags: file sharing, digital content, copyright
-
Does Wikipedia a real peer-to-peer production ?
ต่อเนื่องจาก วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว – มีข้อสังเกตน่าสนใจจาก เชิงอรรถ ของ มหาวิหารกับตลาดสด (The Cathedral and the Bazaar) น่าสังเกตพอๆ กัน ว่าในชุมชนโอเพนซอร์สนั้น รูปแบบโครงสร้างชุมชนก็ตรงกับหน้าที่ที่ทำในหลายระดับ เครือข่ายนี้ครอบคลุมทุกอย่างและทุกที่ ไม่ใช่แค่อินเทอร์เน็ต แต่ผู้คนที่ทำงานยังได้สร้างเครือข่ายแบบกระจาย ขึ้นต่อกันอย่างหลวมๆ ในระดับเดียวกัน ที่มีส่วนที่ทดแทนกันได้เกิดขึ้นกลายส่วน และไม่ล้มครืนลงแบบทันทีทันใด ในเครือข่ายทั้งสอง แต่ละกลุ่มจะมีความสำคัญแค่ในระดับที่กลุ่มอื่นต้องการจะร่วมมือด้วยเท่านั้น ตรงส่วน “ในระดับเดียวกัน” นี้ สำคัญมากสำหรับผลิตภาพอันน่าทึ่งของชุมชน ประเด็นที่โครพอตกินพยายามจะชี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ได้ถูกพัฒนาต่อไปโดย ‘หลัก SNAFU’ ที่ว่า “การสื่อสารที่แท้จริง จะเกิดได้ระหว่างคนที่เท่าเทียมกันเท่านั้น เพราะผู้ที่ด้อยกว่าจะได้รับการตอบแทนอย่างสม่ำเสมอกว่า ถ้าพูดโกหกให้ผู้ที่เหนือกว่าพอใจ เทียบกับการพูดความจริง” ทีมงานที่สร้างสรรค์จะขึ้นอยู่กับการสื่อสารอย่างแท้จริง และจะถูกขัดขวางอย่างมากจากการมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ชุมชนโอเพนซอร์ส ซึ่งปราศจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าว จึงได้สอนเราในทางตรงกันข้าม ให้รู้ถึงข้อเสียของความสัมพันธ์ดังกล่าวในรูปของบั๊ก ผลิตภาพที่ถดถอย และโอกาสที่สูญเสียไป ข้อสังเกตนี้ ชี้ว่า ในการผลิตแบบเท่าเทียม (peer production) ชุมชนที่จะมีประสิทธิภาพควรจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชุมชนแบบเท่าเทียม/ในระดับเดียวกัน … แล้วความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวิกิืพีเดีย(ไทย)เป็นแบบไหน…
-
knowledge knowing
Knowing Knowledge — “รู้จักความรู้” — เป็นเว็บ/หนังสือ โดย George Siemens เกี่ยวกับความรู้ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ลักษณะ วิธีเข้าถึง ได้มา สร้าง แบ่งปัน “Knowing Knowledge is one of the first books about the peer to peer induced epistemological revolution, i.e. the deep changes in how we learn and exchange knowledge.” blog | หนังสือ มี PDF ฟรีด้วยนะ หรือจะซื้อก็ยินดี [ผ่าน Michel Bauwens] tags: knowledge |…
-
Wasting Collaboration
😛 WASTE is an anonymous, secure, and encryped collaboration tool which allows users to both share ideas through the chat interface and share data through the download system. WASTE is RSA secured, and has been hearalded as the most secure P2P connection protocol currently in development. Not so related, read about Mesh network research at…
-
distributed, parallel, redundant discussion forum
นึกมานานละ ทำเองไม่ได้ซักที ถามเลยละกัน อยากได้โปรแกรมทำนองเว็บบอร์ดธรรมดา ๆ นี่แหละ แต่ขอว่า เราสามารถติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้ที่หลาย ๆ โฮสต์ได้ แล้วถ้าเกิดว่าโฮสต์ไหนดันล่ม ผู้ใช้ก็จะยังไปอ่านที่อีกโฮสต์ได้ (อาจจะ redirect อัตโนมัติ หรืออะไรก็ตาม) โดยเนื้อหาทั้งสองที่นี่จะออกมาเหมือนกันเลย คือเวลาโพสต์ทีโฮสต์นึงเนี่ย โปรแกรมมันจะเอาข้อมูลไปใส่ให้ที่เหลือทุกโฮสต์ (ถ้ามีโฮสต์ไหนหายไปซักพัก พอกลับมาใหม่ ก็จะได้รับข้อมูลในช่วงที่หายไปมาด้วย) คือไม่มีใครเป็น “ตัวกลาง” จริง ๆ แล้วแต่ละโฮสต์ที่ ไม่จำเป็นว่าจะต้องรันโดยคน ๆ เดียวกัน ใครอยากจะมารันก็ได้ เปิดเพิ่มก็ได้ ทำนองว่า BitTorrent / P2P น่ะ แต่เป็นเว็บบอร์ด มีมะ ? รู้จักอยู่ตัว คือ Freenet (เป็นโปรโตคอล) แต่ใช้ยาก ช้าด้วย (เคยลองนานแล้วล่ะ แต่เหมือนตอนนี้ก็ยังไม่ได้ดีขึ้นเท่าไหร่) ซึ่งแนวคิดเค้าดีมากเลยนะ แต่อาจจะหวังสูงไปหน่อย เลยเสร็จช้า (ยังไม่มีรุ่น 1.0 เลย) อยากได้แบบใช้เว็บเบราเซอร์ปกติ…