Tag: open government data

  • เปิดข้อมูลอย่างเดียวไม่พอ ต้องให้มัน machine-readable ด้วย!

    สองสัปดาห์ก่อน พยายามจะเอาข้อมูลรายจ่ายภาครัฐมาใช้งาน แต่ก็พบปัญหาในการเอามาใช้ คือข้อมูลเท่าที่หาได้ มันไม่ machine-readable หรือ “อ่านด้วยเครื่องไม่ได้” เขียนสรุปเอาไว้ที่บล็อกโอเพ่นดรีม: รายจ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2544-2554 ในรูปแบบ machine-readable (ดาวน์โหลดข้อมูลในฟอร์แมต OpenDocument) สาเหตุหลัก ๆ คือ: เป็น PDF ไม่ใช่ CSV หรือข้อมูลในรูปแบบตารางที่คำนวณได้ อย่าง OpenDocument spreadsheet หรือ Excel แย่กว่านั้น บาง PDF เป็นแบบรูปภาพ-สแกนหน้ากระดาษามา แถมเอียงหรือไม่ชัดอีกต่างหาก PDF ที่เหมือนจะเป็นข้อความดี ๆ บางอันก็มีปัญหาการเข้ารหัสชุดตัวอักษร เช่นแสดงให้เห็นเป็น “๔๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐” แต่พอ copy มา paste ก็กลายเป็น “Ùı,,,” แบบนี้คือ human-readable แต่ไม่ machine-readable แบบชัด ๆ เลย เอกสารใช้เลขไทย ซึ่งไม่ใช่ว่าทุก…

  • Thailand Open Data Catalog บัญชีข้อมูลเปิดของไทย

    Open Data Thailand เป็นสมุดทะเบียนสำหรับชุดข้อมูลและเนื้อหาแบบเปิด เว็บไซต์นี้ทำงานด้วยซอฟต์แวร์ CKAN ซึ่งทำให้การค้นหา แบ่งปัน และใช้ข้อมูลซ้ำ ไปเป็นได้โดยง่าย โดยเฉพาะการทำงานเหล่านั้นด้วยวิธีการอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ Open Data Thailand is an open registry of data and content packages. Harnessing the CKAN software, this site makes it easy to find, share and reuse content and data, especially in ways that are machine automatable. ไอเดียของ Open Data Catalog คือ พยายามรวบรวมข้อมูลสาธารณะและข้อมูลภาครัฐ ที่เปิดเผยอยู่แล้วในอินเทอร์เน็ต แต่อาจจะกระจัดกระจายอยู่…

  • สัมภาษณ์ @klaikong เรื่อง “ข้อมูลเปิดภาคสาธารณะ” กับการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง #opendata #opengov

    ผมสัมภาษณ์ พี่แต๊ก ไกลก้อง ไวทยการ (@klaikong) เอาไว้เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2553 ที่ผ่านมา ระหว่างเวิร์กช็อป “Open Data Hackathon” ที่ Opendream คุยกันเรื่องความเคลื่อนไหว “ข้อมูลเปิดภาครัฐ” หรือ “ข้อมูลเปิดภาคสาธารณะ” (Open Government Data หรือ Open Public Data) กับความจำเป็นของสังคมไทยที่ภาครัฐจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะเข้าถึงได้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถร่วมพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการตัดสินใจบนข้อมูลที่รอบด้าน ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วันนี้เพิ่งถอดเทปเสร็จ มีคุยกันเรื่องรูปแบบข้อมูล รวมถึงความเป็นไปได้ในการจะออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง : เรื่องมาตรฐานข้อมูลเนี่ย ประเทศเราทำไม่ได้จริงซะที คุยกันมานานแล้ว ว่าจะต้องมีระบบมาตรฐาน จะต้องมี standard อะไรต่าง ๆ XML ฯลฯ แต่ถึงทุกวันนี้ เท่าที่เห็น ร้อยละ 80 ข้อมูลก็ยังอยู่ในรูปแบบ PDF ซึ่งอันนี้มันสะท้อนเรื่องวิธีคิดว่า ข้อมูลนี้ก็ยังเป็นข้อมูลของหน่วยงานนั้นอยู่…

  • Me on #ICT2020 plan

    วันนี้ไปงานระดมความเห็นเรื่องแผนไอซีทีในระยะ 10 ปีข้างหน้า (ICT2020) กลุ่ม civic empowerment (คืออะไรก็ไม่ค่อยแน่ใจ ผมก็มั่วไป) ที่เนคเทคเป็นเจ้าภาพ (ผมไป แทน หลายคนมาก ๆ ประมาณว่าแปะมือกัน) ผมได้เสนอในวงและยังยืนยันว่า ในการทำนโยบายทางสังคมใด ๆ จำเป็นต้องคิดถึงกลุ่มชายขอบทางการเมืองด้วย ไม่ใช่เพียงกลุ่มชายขอบทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ กลุ่มชายขอบทางการเมือง คือ กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ กลุ่มคนที่รัฐมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง ต่อศีลธรรมอันดีงาม และกลุ่มคนที่ถูกแปะป้ายว่า หัวรุนแรง คนเหล่านี้ก็เป็นพลเมืองหรือผู้ส่วนได้ส่วนเสียในสังคม และไม่ควรจะต้องถูกกันออกไป เพียงเพราะเขาคิดไม่เหมือนกับรัฐ ตัวอย่างของกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ ที่ได้ผลกระทบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ ในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูล เช่น ชุมชนในมาบตาพุดและประจวบ ที่ขอดูเอกสารประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากรัฐ แต่ถูกปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลเรื่อง ความมั่นคง ถ้าทัศนคติแบบนี้ยังมีอยู่ และข้ออ้างแบบนี้ยังฟังขึ้น ก็ป่วยการที่จะพูดถึงเทคโนโลยีสารพัดที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร — เพราะถึงมีเทคโนโลยีไป รัฐก็ไม่เปิดอยู่ดี แค่โยนบรอดแบนด์ตูมลงไป แล้วหวังจะให้เกิดสังคมข้อมูลข่าวสารและปริมณฑลสาธารณะ แบบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันเป็นไปไม่ได้ – ต้องเปลี่ยนทัศนคติของรัฐและสังคมด้วย ในเชิงรูปธรรมก็คือกฎหมายและระเบียบต่าง…

  • Keeps private data private, keeps public data public? No. Not in Thailand.

    พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนตรวจดูหรือค้นคว้าได้ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องข้อมูลข่าวสารของราชการและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่เว็บ www.oic.go.th ของสขร. หน้า การตอบข้อหารือและวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ สขร.: คลิกเปิดชื่อเรื่อง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หารือการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ลงวันที่ 27/11/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. 2544 คลิกเปิดชื่อเรื่อง กรมการปกครองหารือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 (ลงวันที่ 28/12/2552) … ได้เอกสาร พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เอกสารต่าง ๆ ไม่สามารถเรียกดูได้ตามชื่อเรื่องเลย แบบนี้เขาเรียกว่า ไม่เปิดเผย ครับ ในขณะที่รัฐ มีความพยายามที่จะดักฟังสอดส่องล่วงรู้ ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน (#ThaiNoSniff) พร้อม ๆ กันนั้น รัฐเอง ก็มีความพยายามจะปกปิดหรือสร้างความยากลำบากในการเข้าถึง…

  • Thai laws and regulations on official document/information administration and archives

    กฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของรัฐ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและการทำลายเอกสาร – เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 — มี หมวด 3 ว่าด้วย การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548— แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ พ.ศ. 2526 ที่สำคัญคือ: เพิ่มนิยามคำว่า อิเล็กทรอนิกส์ (การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น) และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) ลดอายุเอกสารก่อนที่จะให้ส่วนราชการส่งหนังสือเข้าหอจดหมายเหตุ จากเดิม 25 ปี เหลือ 20 ปี (=จัดส่งเข้าหอฯเร็วขึ้น)…