-
28 ก.พ. 2519 บุญสนอง บุณโยทยาน เลขาธิการพรรคสังคมนิยมฯ ถูกลอบสังหารเสียชีวิต
บุญสนอง บุณโยทยาน: นักสังคมนิยมและนักวิชาการชาวไทย (1936-1976) โดย คาร์ล เอ. ทร็อกกี้ (Carl A. Trocki) แปลจาก Carl A. Trocki, Boonsanong Punyodyana: Thai Socialist and Scholar, 1936-1976, Bulletin of Concerned Asian Scholars. 9: 3 (July-September 1977), pp.52-54. ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน เสียชีวิตด้วยกระสุนปืนของผู้ลอบสังหารเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2519 ขณะดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย แทบไม่น่าสงสัยเลยว่าสาเหตุของการลอบสังหารครั้งนี้เกี่ยวพันกับการเมือง มีเพียงส่วนน้อยในหมู่ชนชั้นนำไทยออกมาแสดงความเสียใจกับการจากไปของเขา ทำให้ไม่ค่อยมีใครคาดหวังว่าจะมีการจับกุมฆาตกรมาดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้คนอีกมากมายที่อาลัยถึงเขาอย่างสุดซึ้ง ซึ่งรวมถึงภรรยาและลูกสาวทั้งสองของเขา เพื่อนนักวิชาการ และประชาชนชาวไทย บุญสนองเป็นทั้งนักวิชาการผู้ปราดเปรื่องและนักต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองผู้ไม่เคยย่อท้อ เขาเป็นหนึ่งในนักสังคมศาสตร์เพียงไม่กี่คนที่มีความสามารถโดดเด่นทั้งในเชิงแนวคิดและการปฏิบัติ ผู้ที่เศร้าเสียใจกับการจากไปของเขา มีทั้งนักศึกษาหลายพันคน นักวิชาการ…
-
อย่าลืมฉัน / Don’t Forget Me (short documentary on “Mra bri”) #6OCT
สารคดีสั้น ว่าด้วย ผีตองเหลือง ผู้ขาดอารยะ ล้าหลัง Remember, Remember, the Sixth of October technorati tags: film, October, Thailand
-
Chulalongkorn Department of History Seminar 2/2551
(บล็อกไม่ค่อยได้อัป ก็แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ไปพลาง ๆ ก่อนนะครับ :p) สัมมนาบัณฑิตศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาคการศึกษาปลาย 2551 สถานที่ ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 13.00-16.00 น. จันทร์ 24 พฤศจิกายน 2551 “สถานะทางความรู้ของหนังสือการเมืองภายหลังการปฏิวัติ 2475 (2475-2484)” โดย ณัฐพล ใจจริง นิสิตระดับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จันทร์ 15 ธันวาคม 2551 “ประวัติศาสตร์และการเมืองของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จันทร์ 26 มกราคม 2552 “สถานะของพุทธศาสนาในสังคมไทย หลัง 14 ตุลา” โดย มโน เมตตานันโท เลาหวณิช ประธานมูลนิธิ ชีวันตารักษ์…
-
hauntedness management
ว่าจะไปอยู่ ท่าจะเจ๋ง เชิญร่วม เสวนา “ศิลปะร่วมสมัยกับการจัดการประวัติศาสตร์” (กรณี 6 ตุลา 19) อาทิตย์ 6 ก.ค. 2551 9:30-17:00 น. @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ และ นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “อดีตหลอน” (’76 Flash Back) 2-23 ส.ค. 2551 @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ งานนี้ริเริ่มโดยศิลปินภาพถ่าย มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย/การแสดงชุด “Pink Man” (ตัวอย่าง) รายละเอียดเพิ่มเติม ดูที่บล็อกคนป่วย technorati tags: contemporary arts, October 6, history
-
Dr. Sa-nguan life and thoughts
จากหนังสือ งานกับอุดมคติของชีวิต นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (หน้า 3-5) … ผมเข้าร่วมขบวนการกิจกรรมนักศึกษาตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จนกระทั่งขบวนการกิจกรรมนักศึกษาถูกทำลายในวันที่ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 แม้ว่าจะไม่ใช่ประเภทมือไมค์ไฮปาร์ค ซึ่งไม่ใช่สไตล์ของนักศึกษามหิดล แต่เราก็มีรูปแบบกิจกรรมที่ไปเสริมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในแนวทางของเรา ที่ผมมองว่าสังคมนักศึกษาขณะนั้นเป็นสังคมอุดมคติ ก็เพราะในขณะนั้นชีวิตนักศึกษาเป็นสังคมรวมหมู่ที่ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน โดยมีเป้าหมายอย่างเดียวกันก็คือ การที่จะสร้างสังคมที่เป็นธรรม และก็ทำให้ประเทศชาติเป็นประเทศที่มีความยุติธรรม ประชาชนทุกคนมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกทอดทิ้ง ผมจำได้ว่ารู้สึกรักและนับถือเพื่อนนักศึกษาหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่ทุ่มเทชีวิตทั้งกายและใจเพื่อที่จะรับใช้ประชาชน ซึ่งแรงบันดาลใจและตัวอย่างจากคนเหล่านี้ ทำให้ผมมีแนวคิดและมีความฝังใจว่า อยากจะเห็นสังคมรวมหมู่ที่ดีที่ทุกคนแบ่งปันเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นฐานคิดที่สำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ว่า เราจะไม่ปล่อยให้พี่น้องในสังคมเดียวกันนี้ต้องป่วยตายและตายไปโดยไม่ได้รับการดูแลด้วยเหตุว่าเขาไม่มีเงิน … เมื่อมีการปราบปรามนักศึกษาผมเองก็มีชื่ออยู่ในบัญชีที่ต้องถูกจับกุมเช่นเดียวกับเพื่อนนักกิจกรรมคนอื่น ๆ อีกหลายคน ในเวลานั้นพวกเราแต่ละคนต้องตัดสินใจเลือกทางชีวิตของตัวเอง ในจำนวนไม่กี่ทางเลือกที่มี ผมตัดสินเลือกที่จะอยู่ต่อสู้ในเมืองต่อไป แม้ว่าต้องหลบซ่อนตัวอยู่ระยะหนึ่งก็ตาม ในขณะที่เพื่อน ๆ จำนวนหนึ่งเลือกที่จะไปจากเมืองเพื่อต่อสู้กับรัฐบาล … นอกจากนั้น ความที่ผมไม่ถูกจับ แม้จะมีรายชื่อตามจับของทางการอยู่ ทำให้ผมไม่สามารถจะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การรับปริญญาต่อหน้าพระพักตร์และมีรูปถ่ายไปติดที่บ้าน…
-
Horror in Pink
ภาพชุด “Horror in Pink” (ปีศาจสีชมพู) ในซีรี่ส์ “Pink Man” โดย มานิต ศรีวานิชภูมิ (ขวัญใจ anpanpon) 1 ใน 100 ช่างภาพร่วมสมัยที่ “น่าตื่นเต้น” ที่สุดในโลก จากการคัดเลือกของ 10 ภัณฑารักษ์ชั้นนำ (หนังสือ Blink. โดยสำนักพิมพ์ Phaidon) เข้ากับกระแสเสื้อชมพูตอนนี้ดี Q: What did they die for? A: So we can go shopping. เมื่อปี 48 มานิตเคยจัดนิทรรศการ “นีโอ-ชาตินิยม” วสันต์ สิทธิเขตต์ หนึ่งในศิลปินผู้ร่วมแสดง (ต่อมาได้รับรางวัลศิลปาธร ประจำปี พ.ศ. 2550) ได้กล่าวไว้ว่า: “เพราะฉะนั้นการที่เรามาตั้งสติคิดว่า ฉันไม่ขอเป็นชาตินิยมกับคุณ ถ้าชาตินิยมนั้นหมายถึงการที่จะต้องคับแคบ อคติ…