Tag: newspaper

  • สื่อและขบวนการทางสังคมในมาเลเซีย: กรณีศึกษา หนังสือพิมพ์ Malaysiakini

    รายงานจากวิชา ขบวนการทางสังคม เรียนเมื่อปีที่แล้ว เทอมนั้นเป็นเทอมที่หนักที่สุด เพราะเทอมก่อนหน้านั้นเกรดห่วยจนติดโปร ก็เลยต้องลงทะเบียนเรียนมันซะ 4 วิชาเลย เพื่อดันเกรด แล้วต้องได้ทุกวิชา B+ อะไรแบบนี้ ถึงจะรอด สุดท้ายก็รอด แบบหืด ๆ (หลุดได้ B มาตัวนึง แต่รอดเพราะได้ A มาช่วยอีกตัว) เทอมนั้นเป็นเทอมที่สนุกดี ได้ไปลงสนามเล็ก ๆ น้อย ๆ (จากวิชานี้และอีกวิชาคือ วัฒนธรรมเมือง) ได้พบกับคนที่ต่อสู้มาทั้งชีวิต และบอกว่า เอ็นจีโอแค่สนับสนุนก็พอ ชาวบ้านจะนำเอง (แปลว่า เอ็นจีโออย่าเสือกเยอะ) เลือกมาเลเชียกีนี เพราะว่ามันน่าสนใจดี ในฐานะที่ตัวมันเองก็เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่ต่อเนื่องมาจากขบวนการเคลื่อนไหว Reformasi (ปฏิรูป) คือไม่ต้องมาบอกว่าสื่อต้องเป็นกลาง สื่ออย่าเลือกข้าง มาเลเชียกีนีก็พูดตรงไปตรงมา ว่าเขา เลือกข้าง คืออยู่ข้างคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความยุติธรรมจากนโยบายของรัฐ แล้วก็ต้องการการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูป แน่นอนว่าด้วยการวางตำแหน่งตัวเองแบบนี้ ก็ย่อมจะมีปัญหากับรัฐบาล กับกลุ่มที่จะเสียประโยชน์ แต่คนก็ให้ความเคารพมาเลเชียกีนีที่เขาเลือกจะ ไม่เป็นกลาง แบบนี้…

  • prachatai.com got censored, go prachatai.net instead

    อ่านข่าวประชาไทได้ ที่ www.facebook.com/prachatai และที่ prachatai.net หลังจากเว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com ถูกนายสุเทพสั่งปิดด้วยพ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยเป็นคำสั่งไปที่ผู้ให้บริการที่วางเซิร์ฟเวอร์ของประชาไท ทำให้เข้าเว็บประชาไทไม่ได้ ตอนนี้ทีมงานจึงมารายงานข่าวกันบนเฟซบุ๊ก และย้ายข้อมูลไปไว้ที่ที่อยู่ใหม่แล้ว ช่วย ๆ กันกระจายข่าวครับ (ฮูเรให้กับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร – open source จงเจริญ) update: ชมสถานการณ์สด ทาง ทีวีไทย http://udd.thaipbs.or.th technorati tags: state of emergency, censorship, Thailand, news, Prachatai

  • ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์: พิทักษ์สิทธิตัว มั่วสิทธิคนอื่น?

    เพิ่มเติม: 2009.10.12 – เสียงในอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับเรื่องนี้ จากพันทิป.คอม และ ทวิตภพ (ล่างสุด) หลังจากสื่อหลักรวมตัวจัดตั้ง ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กันไป (ข่าว: ประชาไท ไทยโพสต์ ไทยรัฐออนไลน์) เนื่องจากต้องการรวมตัวกันรักษาสิทธิของตัว ในเรื่องการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะจากเว็บท่า (portal site) ทั้งหลาย ที่คัดลอกเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้ฟรี ๆ แถมตัดราคาโฆษณาแข่งกับเว็บไซต์หนังสือพิมพ์อีก ผมสนับสนุนการปกป้องสิทธิของตัวเอง ของบรรดาสมาชิกชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานควรมีสิทธิในงานของตัว ในส่วนที่เขาได้สร้างสรรค์เพิ่มเติมขึ้นมา อันที่จริง บล็อกเกอร์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ก็ถูกทั้งเว็บท่าและเว็บไซต์ของสื่อเอง ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เรื่อย ๆ มาโดยตลอดเช่นกัน (ตัวอย่างเว็บท่า1, ตัวอย่างเว็บท่า2, ตัวอย่างสื่อ1, ตัวอย่างสื่อ2) เพียงแต่ส่วนใหญ่ไม่มีกำลังจะไปเรียกร้องอะไรได้มากนัก โดยไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันเขาพวกเขา นาน ๆ จะมีฮึดอย่าง @iannnn บ้าง (ภาคแรก, สอง, สาม) แต่ก็เห็นได้ว่า มันเหนื่อย ใช้เวลา และความพยายามมากมายแค่ไหน…

  • me(dia)

    มีเพื่อนส่งลิงก์นี้มาให้ดู น่าเสียดาย…เว็บประชาไท (ผู้จัดการออนไลน์) ในนั้นเขาว่า เขา “เปิดโปง” เบื้องหลังคนสนับสนุนประชาไท ผมก็งง ๆ ข้อมูลทั้งหมด เขาก็มีเผยแพร่ไว้ใน เกี่ยวกับประชาไท ตั้งนานแล้วนี่นา อย่างน้อยก็มากกว่าหนึ่งปีล่ะ ที่ผมเคยกดดู – มันเรียกว่าเปิดโปงตรงไหนนะ เรื่องรสนากับปลื้ม ผมก็งง ๆ – เอ เขานับ “ส่วนใหญ่” กันยังไงนะ ลองอ่านดูในความเห็นท้ายข่าว มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่านี่นา เรื่องมีคนมา “รุมด่ารสนามากกว่าปลื้ม” (แน่นอนว่ามีคนตั้งคำถามต่อท่าทีกระทบกระเทียบของรสนา ว่าไม่จำเป็นต้องพูดไปถึงวงศ์ตระกูลของปลื้มเขาเลย) ผมก็คงบอกแทน คิดแทนคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็ลองดูข้อมูลจากหลาย ๆ ที่ละกันครับ สื่อ/แหล่งข่าว/บล็อก ๆ หนึ่งไม่สามารถมีข้อมูลที่รอบด้านได้ และก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น แต่สื่อหลาย ๆ ที่ หลาย ๆ มุมมอง รวมกัน ก็สามารถที่จะให้ข้อมูลที่รอบด้านขึ้นได้ นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงต้องรักษาเสรีภาพและความหลากหลายของแหล่งข่าวเอาไว้ ให้สามารถเสนอหลายมุมมอง เสนอหลายแนวคิดที่แตกต่างกันได้ ผมคิดว่าสำหรับสื่อต่าง…

  • Innovative Manager (newspaper)

    Manager Go ในบรรดาสื่อหนังสือพิมพ์ไทย ดูเหมือนค่ายผู้จัดการจะเป็นค่ายที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ล้ำหน้าคนอื่นเสมอ อาจจะเป็นด้วยคุณภาพบุคลากรก็เป็นได้ ถ้าเรามองไปที่วงการหนังสือ/นิตยสาร นิตยสารค่ายผู้จัดการในช่วงที่ผ่านมาก็เป็นแหล่งสร้างคนทำงานหนังสือรุ่นใหม่ฝีมือดีมากมาย อินเทอร์เน็ตก็เป็นพื้นที่ที่ค่ายผู้จัดการทำได้ดีกว่าค่ายอื่นอย่างเห็นได้ชัด เว็บไซต์ ผู้จัดการออนไลน์ (manager.co.th) นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบที่ไม่ใช่แค่ “เอาหนังสือพิมพ์กระดาษมาขึ้นเว็บ” อย่างที่หนังสือพิมพ์ผู้มาก่อนทั้งหลายเคยทำ แต่ผู้จัดการออนไลน์มีการจัดเนื้อหา/รูปแบบให้เข้ากับลักษณะของอินเทอร์เน็ต มีข่าวที่ทันเหตุการณ์กว่าฉบับกระดาษ (แม้บางครั้งจะไม่ละเอียดนักในตอนแรก แต่ก็ฉับไวกว่า) มีการเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็นต่อข่าว มีการเชื่อมโยงข่าวที่เกี่ยวข้อง กล่าวโดยรวมก็คือ มีความพยายามที่จะดึงศักยภาพของเทคโนโลยีออกมาใช้ให้ได้มากที่สุด ผลก็คือ แม้เรื่องคุณภาพของข่าวในฐานะสื่อมวลชนแล้วอาจจะยังเป็นที่ถกเถียงกันได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ในฐานะเว็บไซต์แล้ว นี่คือเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเว็บหนึ่งของเมืองไทย ข้อมูลจากทรูฮิตส์ยืนยันเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน จากข้อมูลปี พ.ศ. 2549 เว็บไซต์ ผู้จัดการออนไลน์ เป็นเว็บข่าวยอดนิยมอันดับ 1 ของเมืองไทย และอันดับ 3 ของเว็บทุกประเภท (เป็นรองเพียงเว็บบันเทิง-วาไรตี้อย่าง Sanook.com และ Kapook.com เท่านั้น) มาแล้ว 3 ปีซ้อน (2549, 2548, 2547) โดยมีเดลินิวส์ มติชน และคมชัดลึกเป็นเว็บข่าวที่ตามมาห่าง…

  • Prachatai now speaks English

    Prachatai now offers news in English, with volunteer-based translation system. Prachatai en ประชาไทมีภาษาอังกฤษแล้วนะ พร้อมระบบอาสาสมัครช่วยแปลข่าว “ภาษา-อาสา” (ซึ่งมี วีร์ เป็นผู้พัฒนาหลัก) มีข่าวมาว่ารมต.ไอซีทีไม่สบายใจกับเว็บประชาไทเท่าไหร่ อยากจะให้ดูแลเป็นพิเศษ – พวกเราคงต้องช่วยกันดูแลเว็บนี้และรมต.เป็นพิเศษเช่นกัน technorati tags: Prachatai

  • Plagiarism on Thai (major) newspaper

    คอลัมนิสต์ “อมร อมรรัตนานนท์” เขียนบทความชื่อ “ฤาจะให้หยุดลมหายใจชั่วคราว หากสังคมไทย ยังเป็นเช่นนี้?” ในคอลัมน์ ฅ.เลือกข้าง ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 หน้าที่ 13 โดยลอกข้อความบางส่วนไปจากบทความที่ “คิ้วหนา” เขียนลงในบล็อก “มาบตาพุด…ยิ่งกว่าสำลักมลพิษ (ตอน ๑)” และใช้รูปภาพโดยไม่ได้อ้างอิงที่มาของภาพ ดูในรูปที่สแกนมาแล้ว หากจะอ้างว่าได้ข้อมูลมาจากที่เดียวกัน อาจจะเขียนเหมือนกันได้ ก็คงพอไหว (เข้าข้างสุด ๆ แล้วนะ) – แต่ตรงที่ขีดเส้นใต้สีแดงนั้น ซึ่งเป็นลักษณะสำนวนคำพูด ดูจะบังเอิญเกินพอดี – -“ อ่านต่อ: เจ้าข้าเอ๊ย…ระวังคนหน้าด้านขโมยบล็อก สื่อเก่า ขโมย สื่อใหม่ 😛 ไม่รู้ว่าทางคอลัมนิสต์รายนี้ นสพ.ผู้จัดการ และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะทำยังไงต่อ หรือจะทำเฉย ๆ ไม่สนใจ ปล่อยให้เรื่องเงียบไปเอง เหมือนสารพัดเรื่องราวในประเทศแห่งนี้… มาช่วยกันประจานให้ทั่ว blogosphere ดีไหม?…

  • Internet as a new media

    ประชาไท, เสรีภาพสื่อไทย ในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก, 3 พ.ค. 2550 2. จากการที่รัฐบาลและหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องพยายามให้เสรีภาพในการนำเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นแก่สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ค่อนข้างมาก กลับปรากฎร่องรอยของความพยายามในการปิดกั้นเสรีภาพในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่ถือเป็นสื่อใหม่ที่ตามข้อเท็จจริงแล้วแทบจะไม่สามารถปิดกั้นได้เลย และนับวันจะกลายเป็นทางเลือกใหม่ในการบริโภคข่าวสารของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ 3. ด้วยเหตุนี้ จึงถือโอกาสเรียกร้องไปยังเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ทำงานอยู่ในสื่อกระแสหลัก ให้ยอมรับการเกิดและดำรงอยู่ของสื่อใหม่ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเข้ามาเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการสื่อสารทางเดียวไปสู่การสื่อสาร 2 ทาง หรือหลายทาง ที่ต่างก็ต้องการเสรีภาพในการทำงาน ขณะเดียวกันก็ต้องตกอยู่ในภาวะที่สุ่มเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบและความมั่นคงของประเทศ 4. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งหลายดังมีรายชื่อข้างต้น จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมสื่อมวลชนยุคใหม่ และพยายามมองความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนี้ ในด้านดี เช่น ในฐานะเป็นเวทีเสรีที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิด เห็นกันได้อย่างเสรี ดังนั้น การดำเนินการปิดกั้นเสรีภาพในโลกดิจิตอลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง technorati tags: Internet censorship, new media

  • Newspapers24.com

    Newspapers24.com – รวบรวมเว็บหนังสือพิมพ์ออนไลน์ หลายชาติ หลายภาษา (ทั้งหมดประมาณ 12,000 ฉบับ) มีภาษาไทยด้วย [ผ่าน Rachanont] technorati tags: newspaper

  • Slashdotted Bangkok Post ? 😛

    Slashdot quoted some text from Bangkok Post, Thailand’s English newspaper. Should idea be copyrightable ?