Tag: national security act

  • Cry with, cry for me, Thailand

    อาจจะจริงที่ว่า วัฒนธรรมการเมืองไทยที่ตระหนักในสิทธิเสรีภาพได้ก้าวหน้าขึ้นบ้าง แต่แน่นอนยิ่งกว่า คือวัฒนธรรมการเมืองบ้านเรายึดติดกับตัวบุคคล และความเชื่อว่ามี ‘เผด็จการโดยธรรม’ นั้น ฝังรากลึกเกินกว่าจะถอนราก “ สำหรับผมแล้ว วันที่ 20 ธันวา ก่อนวันเลือกตั้ง 3 วัน อันเป็นวันที่ สนช. ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ ทำให้การเลือกตั้งไร้ความหมายไปโดยสิ้นเชิง เพราะจะเลือกตั้งไปทำไม ในเมื่อทหารยังคงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ” — บทบรรณาธิการประชาไท, 21 ธ.ค. 2550 ถึงเวลาหรือยัง ที่เราต้องเลือกข้างให้ชัดเจน ? สนับสนุน/ประนีประนอม กับ รัฐประหาร/อำนาจทหาร/อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ หรือ ต่อต้าน/ไม่ประนีประนอม กับ รัฐประหาร/อำนาจทหาร/อำนาจที่ควบคุมไม่ได้ จะเลือกอะไร เลือกด้วยวิธีไหน ก็แล้วแต่คุณ technorati tags: national security, Thailand, internal security, democracy

  • your hands, every hands count

    ไปประชุมมาหลายวัน (วีร์ก็ไป) กลับมามีเรื่องเยอะแยะ พร้อมเพรียงโดยสันติ — พุธ 19 ธ.ค. 8:00-19:00 น. — หน้าสภาของเรา คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) เครือข่ายสลัมสี่ภาค สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนและองค์กรภาคประชาชนทุกเครือข่าย รวมพลังปิดสภาครั้งที่ 2 ด้วยโซ่มนุษย์ล้อมสภา ร่วมกันยุติบทบาทของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการเร่งออกกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน พุธ 19 ธ.ค. 8:00-19:00 น. ยึดหลักสันติวิธีโดยเคร่งครัด ยืนยันไม่เป็นเครื่องมือกลุ่มผลประโยชน์อำนาจทางการเมืองใด ๆ และไม่ยอมให้มีการสร้างสถานการณ์ยกเลิกการเลือกตั้ง เริ่มการเลือกตั้งแล้ว กำลังจะมีสภาผู้แทนของประชาชน แต่สภาแต่งตั้งยังเร่งรีบออกกฏหมายที่ละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างรุนแรงเช่นร่างพรบ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร เป็นเรื่องที่ขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิงและเป็นการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณากฎหมาย กฎหมายที่สนช.ต้องหยุดพิจารณา: 1. ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร มีสาระสำคัญเป็นการขยายอำนาจให้กองทัพควบคุมสังคม โดยปราศจากการตรวจสอบจากสถาบันตุลาการ อันเป็นภัยคุกคามต่อหลักสิทธิเสรีภาพ หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2. ร่างกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรน้ำ มีสาระสำคัญเป็นการให้รัฐมีอำนาจบริหารจัดการน้ำแบบเบ็ดเสร็จใน 3 รูปแบบ คือ…

  • The Rise of a New Power

    ศรศิลป์, “อำนาจใหม่” ลุกขึ้นสู้แล้ว!, แด่ มาตุภูมิ, อารยชน, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550 “วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จะถูกจารจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ว่า เป็นวันที่ ‘อำนาจใหม่’ ก่อการลุกขึ้นสู้ทางการเมือง ภายใต้ธงการเมืองของตนเอง ด้วยกำลังของตนเอง แต่เพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย ขบวนกองหน้าของภาคประชาสังคมในปีกอำนาจใหม่นี้ได้ทำการชุมนุม ปิดล้อม และบุกเข้าขัดขวางการปฏิบัติงานอันมิชอบของสนช. ซึ่งกำลังเร่งผ่านกฏหมายจำนวนมากที่คุกคามสิทธิเสรีภาพของปวงชน โดยไม่มีความชอบธรรม เพราะไม่มีที่มาจากปวงชน อีกทั้งร่างกฏหมายทั้งหลายที่กำลังเร่งรัดส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นไปเพื่อการฟื้น ระบอบจารีตนิยมและอำมาตยา และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของพวกกาฝากอภิชนส่วนข้างน้อย” [petition] ร่วมลงชื่อ ปิดสภานิติบัญญัติรักษาการ หยุดกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชน technorati tags: NLA, petition, Thailand

  • STOP NLA – enough is enough

    กป.อพช. ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน และ องค์กรภาคประชาชนทุกเครือข่าย รวมพลังกัน ปิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากสนช.กำลังเร่งรีบออกกฎหมายหลายฉบับที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เช่น พรบ.ความมั่นคงฯ โดยขาดความชอบธรรมอย่างยิ่งที่จะพิจารณาในช่วงการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร แสดงถึงการทิ้งทวนของอำนาจเผด็จการต่อประชาชนทั้งประเทศ 7:00 น. พุธที่ 12 ธ.ค. พบกันหน้ารัฐสภา เพื่อปิดสภาโดยสันติวิธี เข้าชื่อให้สนช.หยุดออกกฎหมาย [pdf – petition] technorati tags: Thailand, NLA, CNS

  • On National Security Act (1)

    “ ถ้ากฎหมายนี้ผ่านจะมีรัฐซ้อนรัฐในประเทศ รัฐธรรมนูญก็หมดความหมาย ” — นายพิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย “ ขณะนี้รัฐบาลมีกฎหมายความมั่นคงอยู่แล้ว 2 ฉบับ คือ กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ที่แก้ไขเมื่อปี 2546 เพิ่มเติมเรื่องภัยคุกคาม และพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้าพูดตรงไปตรงมาคือการเปิดบทบาทให้กองทัพเข้ามาจัดการบ้านเมืองได้หลายเรื่อง เช่น มาตรา 9 ให้จัดตั้งกอ.รมน. มาตรา 10 ให้กอ.รมน.จัดการเรื่องความมั่นคงทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติอย่างเต็มที่ ทั้งที่มีกฎหมายที่จะประกาศใช้ตรงไหนก็ได้ ห้ามการชุมนุมได้อยู่แล้ว ขอบเขตความมั่นคงในราชอาณาจักรหรือภัยคุกคามกว้างมาก เป็นความมั่นคงในทรรศนะที่แปลก ให้มีอำนาจจัดการทั้งในยามปกติและไม่ปกติ ซึ่งพ.ร.บ.นี้สร้างบทบาทให้กองทัพมีอำนาจล้น และตรวจสอบไม่ได้ ถือว่าท้าทายหลักนิติธรรมของประเทศอย่างมาก ขัดต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน หากโครงการของรัฐที่ประชาชนได้รับความเสียหายมาเรียกร้องจะถือว่ากระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ พ.ร.บ.นี้ยังขัดกับการกระจายอำนาจ เป็นสิ่งย้อนยุค ผบ.ทบ.เป็นผู้มีอำนาจและใช้ดุลยพินิจสูงมาก แม้นายกฯจะเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน แต่ไม่มีอำนาจ จึงไม่ควรออกกฎหมายในยุคนี้ ควรประเมินการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่าใช้ได้หรือไม่ ไม่ใช่รวบอำนาจให้กอ.รมน. กองทัพบก เพราะเป็นการสร้างอำนาจซ้อนรัฐ ยิ่งรัฐบาลชุดใหม่อ่อนแอเพราะเป็นรัฐบาลผสม กอ.รมน.จะมีบทบาทสูงเรื่องความมั่นคง ผมไม่เห็นด้วยที่จะออกกฎหมายนี้ ” — นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์…

  • National Security Act in Southeast Asia

    “ถ้าคุณไม่กล้าพูดต่อต้าน พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ คุณกำลังให้อำนาจทุกอย่างกับรัฐบาล คุณกำลังให้อำนาจรัฐบาลในการมาเคาะประตูบ้านคุณและนำตัวคุณไป คุณกำลังยอมสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไป และ…คุณกำลังยอมสูญเสียสิทธิของคุณไป” — ไมเคิล แชง จากสิงคโปร์ ประเทศที่มี พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ บังคับใช้ “ผมไม่สามารถจิตนาการได้ในเวลานั้นว่า อำนาจในการคุมขังนี้…จะถูกใช้ต่อกลุ่มฝ่ายค้านทางการเมือง แรงงานที่เรียกร้องสวัสดิการ และประชาชนทั่วไปที่ดำเนินกิจกรรมเรียกร้องสิทธิอย่างสันติ” — เรจีโนล ฮุจ ฮิคลิง ทนายอังกฤษที่เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน เขียนใน ค.ศ. 1989 “กฎหมายความมั่นคงในมาเลเซียได้ถูกคงไว้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเพราะมันเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้อย่างง่ายดายโดยรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นเครืองมือในการสร้างความกลัวโดยรัฐ และใช้อย่างต่อเนื่องกับนักกิจกรรมที่ต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของประชาชนมาเลเซีย” — ดร. คัว เคีย ซูง นักสังคมศาสตร์และคณะกรรมการบริหารขององค์กรเสียงของประชาชนมาเลเซีย (SUARAM) ประชาไท, การเคาะประตูที่ตัดสินอนาคต : พ.ร.บ. ความมั่นคงฯกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ technorati tags: national security, Southeast Asia, law

  • Freedom (as defined by somebody else…)

    ข่าวดี รัฐธรรมนูญปี 50 ให้ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ เต็มที่ แล้วข่าวร้ายล่ะ ? ทั้งนี้ ตามแต่ ผอ.กอ.รมน. จะกำหนด … [ ลิงก์ ประชาไท ] technorati tags: freedom

  • National Security – Nation of Who ?

    พ.ร.บ. ความมั่นคง (ยังเป็นร่างอยู่ กำลังจะผ่าน) จะสร้าง ‘ความถูกต้องและชอบธรรมทางกฎหมาย’ ให้กับกองทัพ ในการใช้อำนาจกดขี่ประชาชน ซึ่งรวมถึง: อำนาจในการโยกย้ายข้าราชการ อำนาจในการจับใครคุมขังก็ได้โดยไม่ต้องพึ่งหมายศาล — โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน รวมถึงขยายเวลาควบคุมต่อได้อย่างไม่สิ้นสุด อำนาจในการห้ามมิให้มีการชุมนุม อำนาจในการกักกันบริเวณ “ สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นฝันที่เป็นจริง หากประชาชนไม่สามารถต้านทานพลังทหารและพวกเชลียร์ทหารได้ในอนาคตอันใกล้ ใครก็ตามหากถูกทหารจับไปซ้อมสักอาทิตย์สองอาทิตย์ก็อาจสามารถพูดอะไรก็ตาม ที่ทหารอยากให้ ‘สารภาพ’ ก็ได้ ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องแปลกและคาดไม่ถึง และคงจะเกิดขึ้นหาก พ.ร.บ. นี้ประกาศใช้ ” — ประวิตร โรจนพฤกษ์ กลุ่มผู้ที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. นี้ อ้างว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ก็มีกฎหมายลักษณะนี้ และประเทศทั้งสองก็ดู ‘สงบเรียบร้อย’ ดี (หากรู้ไหมว่า ความสงบเรียบร้อย(ราบคาบ) ของสองประเทศนี้ อยู่บนพื้นฐานของการกดขี่ ละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง) และข้อแตกต่างสำคัญ ระหว่างร่างของเรา กับกฎหมายของเขาที่อ้างมานั้น ก็คือ อำนาจตามกฎหมายของเขานั้น อยู่กับ นายกรัฐมนตรี (พลเรือน,…