-
[seminar] Personal Data and Risks from e-Government
Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University, will held an open seminar on personal data and risks in the age of e-government on Wednesday, July 9, 2008, 13:00-16:30 @ Room 105, Maha Chulalongkorn building, Chulalongkorn University (near MBK). For more info, please contact Soraj Hongladarom +66-2218-4756 ใครสนใจเรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคล (personal data) และความเป็นส่วนตัว (privacy) และร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังไม่ได้เกิดสักที…
-
21 should-says about the thing that should be able to say but it is now the shouldn’t
ประวิตร โรจนพฤกษ์: 21 ข้อสังเกตเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ที่ถูกหยิบใช้กันอย่างสะดวกมือ เหมือนวางอยู่ในเซเว่น อย่างกรณี เทพไท เสนพงศ์ ประชาธิปัตย์ เหมา 29 เว็บไซต์ ว่าหมิ่นฯ) technorati tags: lese majeste, Thailand, politics
-
open letter to media
5 พฤษภาคม 2551 เรียน ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนที่เคารพ ขณะนี้มีร่องรอยว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่อันตรายจากความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจทรุดลงเป็นความรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้คือ สื่อมวลชน ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แม้ต่างกันคนละขั้วก็ยังเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ตัวความแตกต่างนั้นเองมิได้เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรง ตราบเท่าที่ความแตกต่างสามารถปะทะขัดแย้งกันได้อย่างสันติตามกระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางศาล และกระบวนการทางปัญญาผ่านสื่อและเวทีวิชาการ หากเมื่อใดที่กระบวนการเหล่านั้นไม่ทำงาน หรือกลายเป็นปัจจัยยุยงส่งเสริมความเกลียดชังเสียเอง ความแตกต่างก็จะกลายเป็นความรุนแรง คนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบสื่อและสื่อที่ไม่รับผิดชอบกำลังส่งผลกร่อนทำลายประชาธิปไตยสังคมไทยใน 3 ทางดังนี้ 1. สร้างความโกรธแค้นเกลียดชัง ปลุกปั่นสถานการณ์เสียเอง 2. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นกระบอกเสียงของฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างสุดหัวใจ ให้ร้ายใส่ความคู่ต่อสู้ด้วยเล่ห์เพทุบายสารพัด 3. ทั้งหมดนี้ดำเนินไปขณะที่ ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนเฉยเมยต่อการละเมิดจรรยาบรรณสองประการข้างต้น หรือทำตัวลู่ตามลม เลือกปฏิบัติปกป้องเฉพาะพวก ลงโทษเฉพาะฝ่าย สิ่งที่ดูจะหายไปในแวดวงสื่อมวลชนไทยที่ทำการทั้ง 3 ประการข้างต้น คือ มาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ที่ต้องเคร่งครัดกับหลักการ ความเที่ยงธรรม และความรับผิดชอบที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ และสูงกว่ากระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่าง ๆ เมื่อประกอบกับอำนาจที่มากขึ้นทุกวัน ผลก็คือสื่อมวลชนของไทยจำนวนหนึ่งกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ใช้อำนาจทำร้ายผู้ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ โดยที่คนในวิชาชีพด้วยกันไม่กล้าทักท้วงตรวจสอบ สื่อมวลชนเช่นนี้นอกจากจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยแล้ว ยังกลับจะเป็นโทษอีกด้วย เพราะก่อความโกรธ หนุนความหลง และใช้เหตุผลเพียงเพื่อเอาชนะ ส่งผลโน้มน้าวสาธารณชนอย่างผิด ๆ และที่สุดสามารถจุดชนวนให้ความแตกต่างทางความเชื่อและความคิดเห็นกลายเป็นความรุนแรง…
-
me(dia)
มีเพื่อนส่งลิงก์นี้มาให้ดู น่าเสียดาย…เว็บประชาไท (ผู้จัดการออนไลน์) ในนั้นเขาว่า เขา “เปิดโปง” เบื้องหลังคนสนับสนุนประชาไท ผมก็งง ๆ ข้อมูลทั้งหมด เขาก็มีเผยแพร่ไว้ใน เกี่ยวกับประชาไท ตั้งนานแล้วนี่นา อย่างน้อยก็มากกว่าหนึ่งปีล่ะ ที่ผมเคยกดดู – มันเรียกว่าเปิดโปงตรงไหนนะ เรื่องรสนากับปลื้ม ผมก็งง ๆ – เอ เขานับ “ส่วนใหญ่” กันยังไงนะ ลองอ่านดูในความเห็นท้ายข่าว มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่านี่นา เรื่องมีคนมา “รุมด่ารสนามากกว่าปลื้ม” (แน่นอนว่ามีคนตั้งคำถามต่อท่าทีกระทบกระเทียบของรสนา ว่าไม่จำเป็นต้องพูดไปถึงวงศ์ตระกูลของปลื้มเขาเลย) ผมก็คงบอกแทน คิดแทนคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็ลองดูข้อมูลจากหลาย ๆ ที่ละกันครับ สื่อ/แหล่งข่าว/บล็อก ๆ หนึ่งไม่สามารถมีข้อมูลที่รอบด้านได้ และก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น แต่สื่อหลาย ๆ ที่ หลาย ๆ มุมมอง รวมกัน ก็สามารถที่จะให้ข้อมูลที่รอบด้านขึ้นได้ นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงต้องรักษาเสรีภาพและความหลากหลายของแหล่งข่าวเอาไว้ ให้สามารถเสนอหลายมุมมอง เสนอหลายแนวคิดที่แตกต่างกันได้ ผมคิดว่าสำหรับสื่อต่าง…
-
On various little and BIG things
ปรับปรุง 2008.03.31: แก้สะกดผิด (สระเกิน ที่มองไม่เห็นบนวินโดวส์) เพิ่มลิงก์พี่ไตร แสงศตวรรษ และ technorati แปะคลิป / และตกลง network interface ไม่ได้เจ๊งครับ ปรากฎว่าสงสัยจะ update package อะไรไปแล้วมันเจ๊ง พอลงโอเอสใหม่ มันก็ใช้ได้เหมือนเดิมครับ เน็ตเวิร์ก (ตอนนี้ใช้ Ubuntu 8.04 Beta อยู่) คลิป Kapook ชวนคุย วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2550 ที่บ้านไร่กาแฟ ขึ้นแล้วนะครับ (ตั้งแต่เมื่อวานเที่ยง ๆ ได้ ผมเพิ่งจะต่อเน็ตได้ network interface โน๊ตบุ๊คเจ๊ง) ที่ Duocore http://duocore.tv/ (ตอนพิเศษ xxx.kapook.com) ที่ FukDuk http://fukduk.tv/ (รอ 1 เม.ย. รายการ…
-
xxx.kapook.com
This news in English: Blackhat SEO on Kapook.com, at Quando Omni Flunkus Moritati blog In Japanese 日本語: kapook祭り, タイだ。 เสาร์ 22 มีนา บ่ายโมง – Kapook ชวนคุยเรื่องนี้ @ บ้านไร่กาแฟ เอกมัย (BTS เอกมัย) pittaya เจ้าเก่าของเรา คุ้ยแคะแกะเว็บเอาเปรียบชาวบ้าน มาให้เราดูกันอีกแล้วครับ คราวนี้เป็นเว็บยอดฮิตซะด้วย… xxx.kapook.com จะเป็นยังไง ลองไปอ่านที่ pittaya เขียนไว้ดู ได้รู้ได้เห็นทั้งหมดแล้วก็ เฮ่อ… อีกแล้วหนอ… “คลิป sex xxx หนังโป๊ เรื่องเสียว” เหล่านี้ล้วนเป็นคำที่ติดอันดับการค้นหาสูงอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย และมันก็ยั่วยวนเหลือเกิน ที่จะนำคำเหล่านี้มาใส่ไว้ในเว็บของตัว เพื่อหวังทำอันดับการค้นหาให้สูงขึ้น…
-
Blog provider ethics / Censorship from the "house owner"
OKNation silently censors users’ blogs — iTeau reported, Your Blog Is Banned By Me, Your Second Big Brother จริยธรรมของบล็อกเกอร์ — จริยธรรมของผู้ให้บริการบล็อก ชวนอ่าน คำสั่งของพี่รอง (Your Blog Is Banned By Me, Your Second Big Brother) โดย iTeau อย่างที่เป็นที่รู้กัน (เงียบ ๆ) มานานแล้วว่าบริการบล็อก OKNation (ที่โฆษณาว่าพื้นที่นี้ “อิสระทางปัญญา ทุกคนมีสิทธิเขียน เผยแพร่ความคิด”) มีการลบบัญชีผู้ใช้ และลบบล็อกอย่างเงียบ ๆ หลายครั้ง ลองอ่านและพิจารณากันดูครับ คิดเห็นอย่างไร มีประเด็นน่าสนใจหลายอย่าง เช่น ใครเป็นเจ้าของเนื้อหาในบล็อก ? ผู้เขียน…
-
Bloggers’ Code of Conduct (3)
CyberJournalist.net นำ จรรยาบรรณของสมาคมผู้สื่อข่าวสหรัฐ มาปรับ เป็น จรรยาบรรณบล็อกเกอร์ ซึ่งอันนี้จะเน้นที่ตัวเนื้อหามากกว่าที่ทิมเสนอ (อันนั้นจะเน้นที่ความเห็น) เน้น 3 หลัก Be Honest and Fair – ซื่อตรง เท่าเทียม ซื่อตรง จริงใจ ยุติธรรมและเท่าเทียม ในการเสาะหา รายงาน และตีความข้อมูล Minimize Harm – ก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ปฏิบัติตัวต่อแหล่งข่าว และบุคคลในข่าว ในฐานะมนุษย์ ซึ่งสมควรได้รับความเคารพ Be Accountable – อธิบายได้ โปร่งใส รับผิดได้ ไม่ลำเอียง เปิดเผยอย่างชัดเจนเกี่ยวกับ จุดประสงค์และนโยบายของเว็บ ผลประโยชน์ทับซ้อน วาระส่วนตัว ความชื่นชอบส่วนตัว ผมว่าก็ชัดดี ดูรายละเอียดที่ A Bloggers’ Code of Ethics เรื่องในชุดนี้: Bloggers’ Code of…
-
Bloggers’ Code of Conduct (2)
จรรยาบรรณสื่อใหม่ ที่ตอบโต้ได้ iTeau เปิดประด็นเอาไว้-นานแล้ว อันนี้คือสิ่งที่ Tim O’Reilly เสนอ ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับ “บล็อกเกอร์” เป็นหลัก ไม่ได้หมายถึง “ผู้สื่อข่าวพลเมือง” โดยตรง เอามาให้ดูเป็นไอเดีย ให้ต่อประเด็นได้ (ผมไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด และเห็นด้วยกับ Cory Doctorow พูดไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ”) รับผิดชอบ ไม่เพียงแค่สิ่งที่คุณพูด แต่รวมถึงความเห็นที่คุณอนุญาตให้แสดงบนบล็อกของคุณ บอกระดับความอดกลั้นของคุณต่อความเห็นหยาบคาย พิจารณานำความเห็นนิรนาม*ออกไป (* นิรนามในที่นี้ หมายถึงตามไม่ได้ว่าเป็นใคร – แต่ยังสามารถปกปิดตัวตนได้ – เช่นให้อีเมลจริงกับเจ้าของบล็อก แต่ไม่แสดงชื่อ/อีเมลแก่คนอ่านคนอื่น) เพิกเฉยต่อความเห็นที่จงใจก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง คุยกันออฟไลน์ คุยกันโดยตรง หรือหาคนกลางที่จะทำอย่างนั้นได้ ถ้าคุณรู้จักใครที่ทำตัวไม่ดี บอกเขา ถ้าคุณไม่พูดสิ่งไหนต่อหน้าคนอื่น อย่าพูดสิ่งนั้นออนไลน์ อ่านดูแล้ว ก็จะพบว่าเกือบทั้งหมด จะเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่นำเสนอออนไลน์ (ถ้าพูดถึงกรณีข่าว ก็จะไม่ได้เกี่ยวกับ “ตัวข่าว” โดยตรง แต่เกี่ยวกับ “ความเห็นท้ายข่าว”) ตรงนี้ดู ๆ…