ใครไปงานหนังสือล่าสุดนี้ คงจะเห็น วารสาร “อ่าน” ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-กันยายน 2551 แล้ว คับคั่ง…
ใครไปงานหนังสือล่าสุดนี้ คงจะเห็น วารสาร “อ่าน” ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-กันยายน 2551 แล้ว คับคั่ง…
Hit & Run บล็อกกาซีน ประชาไท สัปดาห์ที่แล้ว มีเรื่อง BarCamp Bangkok ด้วยนะ
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์: “อกหัก” มาทางนี้
น่าสนใจอื่น ๆ ในบล็อกกาซีน: Music แย้ง อดอร์โน, บ้านบรรทัดห้าเส้น คุยเรื่อง The Radio, สุดสัปดาห์กับการ์ตูน คุยเรื่อง “คุณหมอยอดนักสืบ”, พาเม้าท์ชีวิตชาวเกย์ แด่นาย “ฮีธ เลดเจอร์”, อ่ะฮ้า มีดูดวงด้วยนะ
เพื่อนที่โรงเรียนแนะนำนิตยสารออนไลน์มาในอีเมลกลุ่ม น่าสนใจจริง ๆ 🙂
ตัวนิตยสารก็น่าสนใจ
PingMag – The Tokyo-based magazine about “Design and Making Things”
ออกแบบ สถาปัตย์ ดนตรี ศิลปะ กราฟิก ไทโปกราฟี ถ่ายภาพ อนิเมชั่น หนัง งานฝีมือ แฟชั่น สตรีทอาร์ต เทคโนโลยี — 2 ภาษา ญี่ปุ่น อังกฤษ
ได้อ่าน OOM ฉบับล่าสุด ฉบับสวีเดน ชอบฉบับนี้ อยากไปสวีเดน และคิดถึงเบอร์ลิน (ไม่มีเหตุผล)
ชอบออฟฟิศในโรงงานเก่า ออฟฟิศแบบอยู่ด้วยกันเยอะ ๆ
วันนี้เดินเข้า Bookazine สยาม (เขาย้ายไปอยู่ข้างร้านขายยา+เครื่องเขียนแล้วนะ โรงหนังสยาม) เจอ Monocle เล่มใหม่ พลิก ๆ อืม กลิ่นคล้าย ๆ กันแฮะ เพิ่งจะสังเกต
DOCUMENTA MAGAZINE
โครงการหนึ่งในงาน Documenta 12 ที่รวบรวมคนทำนิตยสารทางเลือกในประเทศต่าง ๆ มาทำงานด้วยกัน
สำหรับประเทศไทย นิตยสาร/เว็บที่เข้าร่วมได้แก่ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, โอเพ่น, ประชาไท, ฟ้าเดียวกัน, Budpage, และ Questionmark
รวมนิตยสาร/วารสาร ที่เผอิญโผล่ขึ้นมาในชีวิตตอนนี้ – หรือแค่เพียงอยากจะพูดถึง
Dazed & Confused art design culture ideas inspiration Juxtapoz Art & Culture Mute Culture and politics after the Net Seed Science is Culture (สั่งซื้อฉบับย้อนหลังไป 6 เล่ม เค้าส่งมาให้ 3 เล่ม ซ้ำกัน 2 !! ฮ่วย!!) Wired How technology affects culture, the economy, and politics Make: Technology on your time Monocle Global affairs, business, culture and design (โดยผู้ก่อตั้ง Wallpaper*, คอลัมน์ ‘ดีไซน์คัลเจอร์’ ในมติชนสุดฯ เพิ่งจะแนะนำไป) Foreign Policy Global politics, economics, and ideas (หนึ่งในสองผู้ก่อตั้ง คือ Samuel P. Huntington ผู้เขียน Clash of Civilizations) ฟ้าเดียวกัน ความเคลื่อนไหวทางสังคม ราย 3 เดือน (‘ฉบับโค้ก’ ถูกแบน) วิภาษา สังคมศาสตร์, มนุษย์ศาสตร์ และวัฒนธรรม รายเดือนครึ่ง (เออ มีงี้ด้วย) (ออกมาสามฉบับแล้ว ได้อ่านสองฉบับแรก ชอบ ชอบ เล่มสองมีเรื่องสถาปัตยกรรมถนนราชดำเนินกับอุดมการณ์คณะราษฎร อ่านแล้วนึกถึง ‘วารสารหนังสือใต้ดิน’ ฉบับ ‘บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา’ ที่มีเรื่องทำนองนี้อยู่คับคั่ง) หนังสือใต้ดิน สังคมและวรรณกรรม ราย 3 เดือน (ขนาดมันเหมือนหนังสือกว่าจริง ๆ เรื่องแต่ละเล่มจะมีประเด็นหลักร่วมกัน) e-Lang ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ (ในเครือวิภาษา) ปาจารยสาร โยงหัวใจและความคิด เพื่อชีวิตแสวงหา ท้าทายบริโภคนิยม way Better life, better world Ad&Art ศิลปะและโฆษณา (พบเจออย่างบังเอิญวันนี้ ในร้านหนังสือซอยวิภาวดี 64 – เป็นนิตยสารเก่าแก่ที่กลับมาใหม่ – ในฉบับที่ซื้อมาเขียนว่า ฉบับนี้อาจจะเป็นฉบับสุดท้าย…) art|4|d สถาปัตยกรรม ออกแบบ (โฆษณาสุขภัณฑ์เยอะดี) COLORS world issues in colors, Benettonอื่น ๆ: Summer, OPEN, สารคดี, เมืองโบราณ, Bioscope, ศิลปวัฒนธรรม, ฅ.ฅน, Harmagazine (ขำดี แนว ๆ กราฟีตี กลอนเปล่า), Questionmark, CMYK, สาละวินโพสต์, Natnalin
DOCUMENTA
KASSEL
16/06—23/09
2007
anpanpon ก็พูดถึงไปแล้ว
เราเองก็อยากไปดู มิถุนา-กันยานี้
ด็อกคูเมนต้าคืออะไร ? วิกิพีเดียเขาว่างี้
(ถ้าแปลผิดก็ช่วยบอกด้วยนะ, จริง ๆ ไปดู ภาษาเยอรมัน ละเอียดกว่า):
documenta เป็นงานแสดงศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งของโลก ซึ่งในปัจจุบันจัดขึ้นทุก ๆ ห้าปี ที่เมืองคาสเซิล ประเทศเยอรมนี งานแสดงนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1955 โดย Arnold Bode ซึ่งเป็นศิลปิน อาจารย์ และผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Bundesgartenschau (งานแสดงพืชสวนสหพันธ์) ซึ่งจัดขึ้นที่คาสเซิลในตอนนั้น. งาน documenta ครั้งแรกนั้นถือว่าประสบความสำเร็จ ผิดจากความคาดหมายส่วนใหญ่ เนื่องจากมันแสดงผลงานจากศิลปินซึ่งนับว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งอยู่แล้วในขณะนั้นต่อศิลปะสมัยใหม่ เช่น ปีกัสโซ หรือ วาสสิลี่ คานดินสกี้. ในงาน documenta หลายครั้งล่าสุดจัดแสดงผลงานจากทุกทวีป – อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานสร้างสรรค์ขึ้นมาเฉพาะสถานที่ (site-specific art)
เว็บล็อกโลกจินตนาการ
Wide Wonderland
โดย Alice in Wonderland
(เขามาฝากข้อความไว้ที่โพสต์ HOF ART แนะนำเว็บนิตยสาร Happening Now นิตยสารเพื่อปรากฏการณ์ศิลปวัฒนธรรม แจกฟรี ตามสถานที่ทางศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้อ่านแล้ว ชอบ)
ได้ลิงก์ดี ๆ มาอีกอัน จากวิกิ YouMedia,
จักรพงษ์ คงมาลัย แนะนำนิตยสารทางเลือก “Ode”:
Ode นิตยสารทางเลือกเพื่อความเปลี่ยนแปลงที่ดีของโลก
ใน ยุคที่สื่อสิ่งพิมพ์ และการเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมีปัจจัยทางธุรกิจมาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดเป็นสื่อกระแสหลัก (Mainstream Media) ที่เดินตามกระแสทุน กับสื่อทางเลือก (Alternative/Independent Media) ที่เป็นอิสระจากกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างให้กับผู้อ่าน
ฟิลม์มี แนะนำ นิตยสารหนังเล่มเล็ก ฟิ้ววว
เล่มแรกนี้ เป็นเรื่อง “ฟิ้ว …บินฉิวไปกับหนังอิสระ ฉบับทำหนังแบบบ้านๆ” แถมมากับ ไบโอสโคป ปกพระนเรศวร
“ฟิ้ววว เป็นหนังสือเกี่ยวกับ หนังอิสระ อ่านสนุกเสริมพลัง เหมือนได้นั่งยานย้อนเวลากลับไปนึกถึงบรรยากาศแบบไบโอสโคปสมัยเล่มยังเล็ก โดนใจ ชัดเจนไป ตรงๆ โต้งๆ ไม่อ้อมค้อม ด้วยเนื้อหาเล่มแรกที่ว่าด้วย การทำหนังแบบบ้านบ้าน ง่ายๆโง่ๆ ใครๆก็ทำได้ ต่างต่าง นานา วิธี