Tag: linguistics

  • อุปลักษณ์ในอินเทอร์เน็ตศึกษา

    รายงานชิ้นนี้ เสนอการพิจารณาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (conceptual metaphor) ต่าง ๆ ที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เห็นว่า “อินเทอร์เน็ต” ที่อาจดูเหมือนเป็นวัตถุชิ้นเดียวชนิดเดียวนั้น สามารถเป็นวัตถุศึกษาที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม แวดวง (habitus) หรือขอบเขตความรู้ (domain) ได้อย่างไร รวมถึงอุปลักษณ์แต่ละแบบซึ่งกำหนดวัตถุศึกษานั้น ได้ซ่อนหรือปกปิดประเด็นอะไรไปบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา และทำไมจึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่เราจะต้องตระหนักถึงข้อจำกัดของอุปลักษณ์ที่ใช้เข้าใจหรือสร้างวัตถุศึกษาหนึ่ง ๆ ขึ้นมา รายงานชิ้นนี้เสนอว่า เช่นเดียวกับอุปลักษณ์อื่น ๆ อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตนั้น ได้สร้างกรอบความเข้าใจต่อประเด็นอินเทอร์เน็ต และลักษณะทางการเมืองในการกำหนดความเข้าใจนี้ ได้ส่งผลต่อนโยบายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต.

  • อุปลักษณ์-อัปลักษณ์

    การใช้อุปลักษณ์ (metaphor) ‘พ่อ’/’แม่'(-‘ลูก’) เช่น พ่อของแผ่นดิน อาจารย์แม่ บิดาแห่งวงการ… ฯลฯ ผลที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ (entailment) ในเชิงมโนทัศน์ อย่างหนึ่งก็คือ คนคนนั้นจะมีบุญคุณกับ ‘ลูก’ โดยอัตโนมัติ เป็นบุญคุณที่ชาตินี้ชาติหน้าก็ทดแทนกันไม่หมด ทั้ง ๆ ที่คน ๆ นั้นอาจจะไม่เคยทำอะไรให้ชีวิตคุณดีขึ้นมาแม้แต่น้อย ไม่เคยเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตคุณเลย ผมจึงไม่เห็นด้วยและต่อต้านการมัดมือชก ด้วย metaphor แบบนี้ ผมมีพ่อเดียว แม่เดียว ไม่ต้องเอาใครมาเป็นพ่อเป็นแม่ผมอีก หรือถ้าจะมี ก็ขอให้ผมเป็นคนเลือกใช้เอง ไม่ต้องมาจับยัดแบบผมไม่ได้เลือก (ผมเรียก อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ว่า ‘อาจารย์ย่า’ เพราะรู้สึกอย่างมากว่าคนคนนี้เคารพได้ และข้อเขียนและคำปรึกษาของเขา มีค่ากับผมมาก ทั้งในทางวิชาการและกิจกรรมอื่น ๆ แต่ผมไม่เรียก สุนีย์ สินธุเดชะ ว่า ‘อาจารย์แม่’ แน่ๆ เขาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับผมเลย) —- ผู้สนใจเรื่องอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (conceptual metaphor) วิกิพีเดียมีเขียนแนะนำไว้ หนังสือหลักเล่มหนึ่งของเรื่องนี้คือ…

  • (เพื่อ "ภูมิซรอล") [review] ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. โดย จิตร ภูมิศักดิ์.

    เทอมที่แล้ว เรียนวิชามานุษยวิทยาภาษากับยุกติ หนังสือเล่มแรกที่ทุกคนต้องอ่านและวิจารณ์ ก็คือ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2544 [2519]). (ทั้งหมดต้องวิจารณ์สองเล่ม. อีกเล่มนั้น แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเล่มไหน, จาก 3-4 เล่มที่ยุกติเลือกมาอีกที, ซึ่งผมเลือก Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso (Cambridge: Cambridge University Press, 1995 [1979]) ตามที่เคยโพสต์แบ่งกันอ่านไว้แล้ว) ช่วงนี้มีข่าว เรื่องเขมร ๆ โผล่มาบ่อย เริ่มจากการประท้วงของพันธมิตรที่ปราสาทพระวิหาร ตามด้วยเรื่องกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์…

  • [สรุป] High and Low Thai: Views from Within (A.V.N. Diller 1985)

    Diller เสนอว่า ความแตกต่างของระดับภาษามีเรื่องความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอยู่ด้วย ซึ่งสะท้อนออกมาในความขัดแย้งทางระบบการศึกษา การศึกษาและสอนภาษาตามแนว prescriptive (มีภาษาแบบแผนในอุดมคติที่ถูกต้อง) และ descriptive (ภาษาอย่างที่มันเป็น)

  • [review] Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache.

    ช่วงนี้ไม่ค่อยได้อัปบล็อก เอาของเก่ามาหากินละกัน :p นี่เป็นการบ้านของวิชาหนึ่งในเทอมที่ผ่านมา คือ วิชามานุษยวิทยาภาษา (linguistic anthropology). งานในวิชานี้มีวิจารณ์หนังสือ 2 เล่ม กับรายงานจบเทอมชิ้นหนึ่ง. ด้านล่างนี้เป็นบทวิจารณ์หนังสือเล่มที่สอง คือหนังสือ Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso. ส่วนเล่มแรกที่วิจารณ์คือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์. เทอมที่แล้ว เคยวิจารณ์หนังสือที่ Keith Basso เขียน ไปแล้วเล่มหนึ่ง คือ Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the…

  • New Blood, New Media in the New City

    ไปเชียงใหม่มาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน มีงานสัมมนาเกี่ยวกับสื่อใหม่/สื่อนฤมิต* จัดโดยคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจอคนเยอะแยะ เดินทางสู่ผู้คน เลยงอกออกมาเป็นดูโอคอร์ตอนพิเศษ อย่างน่าดีใจ ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ channel.duocore.tv/new-media-in-chiang-mai ขอบคุณทีมงานคณะการสื่อสารมวลชน + CAMT ทีม minimal gallery ขลุ่ย เมฆ ชา และพี่ปูคนขับรถที่พาเราไปทุกที่ บรรยากาศเชียงใหม่เปลี่ยนไปนิดหน่อย ที่ช้างคลานผมเห็นร้านที่เคยไปปิดลง หลายร้านบนถนนนั้นก็ปิดด้วย คนที่นั่นว่ามันไม่บูมเหมือนสองปีก่อน ที่มีงานพืชสวนโลก แต่รวม ๆ มันก็ยังเป็นเชียงใหม่นั่นแหละ ไม่ได้ต่างจากเดิม จริง ๆ ที่ไหน ๆ มันก็เปลี่ยนทั้งนั้น และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอ เหมือนใครซักคน (วิชา?) พูดระหว่างฝนตกหน้าร้าน minimal “คนที่บอกว่าปายเปลี่ยนไปไม่ดีเลย ก็คนเชียงใหม่คนกรุงเทพนั่นแหละ คนปายเขาชอบ” หรือที่แพทว่า “คนเชียงใหม่ไม่รู้หรอกว่านิมมานเปลี่ยนไป คนเชียงใหม่เขาไม่ได้มานิมมาน มีแต่คนกรุงเทพแหละที่มาเที่ยว” ใช่ หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงมันโหดร้าย แม้กระทั่งกับ “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ไปนอนบ้านริมน้ำ ซื้อของตลาดน้ำ ตกค่ำ ๆ ก็นั่งเรือไปดูหิ่งห้อย…

  • Zellig Harris’s Operator Grammar

    ค้น ๆ เรื่อง Dependency Grammar อยู่ ก็ไปเจอนี่เข้า: Operator Grammar เท่าที่อ่าน ๆ ไม่กี่หน้า ก็ประมาณว่า Operator Grammar เสนอข้อจำกัดสากล (universal constraint) 3 อย่าง คือ Dependency การจะใช้คำบางคำได้จำเป็นต้องมีคำอื่นบางคำร่วมด้วย, Likelihood การใช้คำร่วมกันบางแบบมีโอกาสเกิดมากกว่าแบบอื่น, Reduction คำในแบบผสมที่มีโอกาสเกิดสูงสามารถลดรูปให้สั้นลงได้ และบางครั้งก็ละทั้งหมดได้เลย ซึ่งนักภาษาศาสตร์บางคนก็ชี้ การมี Likelihood นี้ หมายถึง Operator Grammar นี้ คำนึงถึงเรื่อง สถิติ/ความน่าจะเป็น ในแก่นของไวยากรณ์เลย ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมทีหลัง ส่วนเรื่อง Reduction ก็เป็นตัวชี้ให้เห็นได้ว่า การลดขนาดของข้อความ/จำนวนคำ ไม่จำเป็นต้องเป็น การลดจำนวนของสารสนเทศ (information) นอกจากนี้ในการวิพากษ์เปรียบเทียบ Link Grammar และ Operator Grammar (ซึ่งต่างก็มีแนวคิดบางส่วนคล้ายคลึง/ได้อิทธิพลมาจาก Dependency…

  • Corpus-Related Research

    สาขาวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์จากคลังข้อความได้ เช่น ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ วัฒนธรรมศึกษา และ การวิเคราะห์วาทกรรม ใน Linguistics of Political Argument: The Spin-Doctor and the Wolf-Pack at the White House [gbook], Alan Partington รองศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยคาเมรีโน ประเทศอิตาลี ได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างทำเนียบขาวกับสื่อ โดยการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์จากคลังข้อความ ซึ่งประกอบไปด้วยสรุปคำแถลงข่าวประมาณ 50 ชิ้นในช่วงปีท้าย ๆ ของการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีคลินตัน โดยหัวข้อนั้น มีตั้งแต่เรื่องในโคโซโวไปจนถึงเรื่องความสัมพันธ์คลินตัน-เลวินสกี งานชิ้นนี้ไม่เหมือนใครก่อนหน้า ตรงที่มันทำให้เราเห็นว่า เราสามารถนำเทคโนโลยี concordance (การแสดงคำที่กำหนดในบริบทต่าง ๆ) และหลักฐานทางภาษาศาสตร์อย่างละเอียด มาใช้ในการศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวาทกรรม ทั้งในตัวบทและกลวิธีการสื่อสารของผู้พูดได้-อย่างไร Tony McEnery and Andrew Wilson, Corpus Linguistics, Edinburgh…

  • discourse/information/communication people

    จดกันลืม บุคคลน่าสนใจ สาวิตรี คทวณิช คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ discourse analysis; critical discourse analysis; language and politics นคร เสรีรักษ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) Freedom of Information and Privacy Protection in Thailand วราภรณ์ วนาพิทักษ์ มาตรการการจัดการการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ cultural studies technorati tags: people, freedom of information, discourse analysis

  • Thammasat Linguistics Seminar 2006

    ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการภาษาและภาษาศาสตร์ ประจำปี 2549 และเพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์ ดร. พิณทิพย์ ทวยเจริญ และอาจารย์ ดร. ศิรินี เจนวิทย์การ ในวาระอายุครบห้ารอบ วันเวลา: วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2549 8:30-16:00 สถานที่: ณ ห้องอดุล วิเชียรเจริญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) กำหนดการ ติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ 0-2613-2696 หรือ linguistics # tu.ac.th ภายในวันที่ 16 สิงหาคม 2549 (ไม่เก็บค่าลงทะเบียน) ค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ได้ที่ http://www.tu.ac.th/org/arts/ling tags: language linguistics Thai seminar Thammasat university

Exit mobile version