-
ร่วมตรวจทานร่างสุดท้าย สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ 3.0 ประเทศไทย
ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจ ร่วมกันอ่านตรวจทาน ร่างฉบับสุดท้าย ของข้อกฎหมาย (legal codes) ของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ 3.0 ประเทศไทย ทั้ง 6 ฉบับ โดยการอ่านตรวจทานนี้ ให้อ่านตรวจทานทุกส่วน ทั้งใจความ คำ ตัวสะกด เครื่องหมายวรรคตอน การเว้นวรรค การเว้นบรรทัด การขึ้นย่อหน้าใหม่ รูปแบบ ความต้องตรงกันระหว่างฉบับในข้อสัญญาที่เหมือนกัน ฯลฯ — เมื่อพ้นขั้นตอนนี้ไปแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขใด ๆ ได้อีกแล้ว สำหรับเนื้อหาต้นฉบับร่างสุดท้ายนี้ สามารถดูที่ http://cc.in.th/wiki/ ได้ เพื่อการเปรียบเทียบ ทาง Creative Commons International แนะนำว่า ในขั้นตอนนี้ ควรจะมีผู้ที่ไม่เคยอ่านสัญญาอนุญาตมาก่อน (“fresh eyes”) มาช่วยตรวจทานด้วย ดังนั้นถ้าใครยังไม่เคยอ่าน หรือมีเพื่อน ๆ ที่น่าจะสนใจ ก็ขอเชิญมาช่วยกันอ่านตรวจทานนะครับ โดยไปที่ : http://staging.creativecommons.org/licenses/by/3.0/th/legalcode http://staging.creativecommons.org/licenses/by-nc/3.0/th/legalcode http://staging.creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/legalcode http://staging.creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/3.0/th/legalcode…
-
Creative Commons Thailand update – 2008.08
a lightning session at Thailand Next Web Applications 20008 oops, 2008 Creative Commons Thailand 2008.08 View SlideShare presentation or Upload your own. (tags: nextwebapps2008 license commons) technorati tags: nextwebapps2008, thainextweb, TNWA, Creative Commons, Thailand, license
-
CC in 2 minutes
ฝากเผยแพร่ครับ (โค้ด HTML + รูปทั้งหมด สำหรับเอาไปใช้ในบล็อก/เว็บไซต์ของคุณ) “ครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่เสนอทางเลือกนอกเหนือจากลิขสิทธิ์แบบเต็มที่” — creativecommons.org สัญลักษณ์เงื่อนไขครีเอทีฟคอมมอนส์โดยสรุป… ยอมรับสิทธิ (by) หมายถึง: คุณยินยอมให้ผู้อื่นคัดลอก แจกจ่าย ใช้ และจัดแสดงงานลิขสิทธิ์ของคุณ (รวมทั้งงานที่ดัดแปลงจากมัน) – แต่ก็ต่อเมื่อพวกเขาประกาศด้วยว่างานนั้นเป็นของคุณ ไม่ใช้เพื่อการค้า (nc) หมายถึง: คุณยินยอมให้ผู้อื่นคัดลอก แจกจ่าย ใช้ และจัดแสดงงานลิขสิทธิ์ของคุณ (รวมทั้งงานที่ดัดแปลงจากมัน) – แต่สำหรับจุดประสงค์ที่ไม่ใช่เพื่อการค้าเท่านั้น ไม่แก้ไขต้นฉบับ (nd) หมายถึง: คุณยินยอมให้ผู้อื่นคัดลอก แจกจ่าย ใช้ และจัดแสดงงานลิขสิทธิ์ของคุณ เฉพาะตัวที่เหมือนต้นฉบับทุกประการเท่านั้น ไม่ใช่งานที่ถูกแก้ไขดัดแปลง อนุญาตแบบเดียวกัน (sa) หมายถึง: คุณยินยอมให้ผู้อื่นแจกจ่ายงานดัดแปลง ด้วยสัญญาอนุญาตที่เหมือนกันทุกประการกับที่ใช้กับงานของคุณเท่านั้น เงื่อนไขเหล่านี้ สามารถประกอบใช้ร่วมกันได้ เช่น: หมายถึง สัญญาอนุญาตแบบ ยอมรับสิทธิ-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน (by-nc-sa) ข้อมูลเพิ่มเติม: ครีเอทีฟคอมมอนส์…
-
Creative Commons Thailand port – 1st Public Discussion
ร่างสัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบยอมรับสิทธิ ไม่ใช้เพื่อการค้าและอนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 สำหรับประเทศไทย ซึ่งจัดทำร่างโดยสำนักกฎหมายธรรมนิติ ได้รับความเห็นชอบจาก ครีเอทีฟคอมมอนส์อินเตอร์เนชัลแนลแล้ว และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนประชาพิจารณ์ โดยจะเปิดรับความคิดเห็นจากสาธารณชนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ดาวน์โหลดร่างสัญญาอนุญาต และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://cc.in.th/ technorati tags: Creative Commons, Thailand
-
demystifying Compulsory Licensing
คนชายขอบ นำเสนอเรื่อง CL ยาเอดส์ – ตีแตกทีละประเด็น: ความเข้าใจผิดและข้อเท็จจริง กรณีการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (CL) บนยารักษาโรคเอดส์ * CL = Compulsory Licensing = มาตรการบังคับใช้สิทธิ, วิกิพีเดียอธิบายว่า: มาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licensing หรือ CL) หรือ สิทธิเหนือสิทธิบัตร คือการที่รัฐบาลออกมาตรการบังคับต่อเจ้าของสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิผูกขาดอื่นใด โดยให้รัฐหรือใครก็ตามได้รับสิทธิในการใช้สอยงานนั้นๆ โดยชอบธรรม. โดยปกติแล้วเจ้าของสิทธิมักจะได้รับค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิจากกรณีนี้ ซึ่งอาจจะมีระบุไว้ในตัวบทกฎหมายหรือตัดสินโดยผู้ชี้ขาดแล้วแต่กรณีไป. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณี ไทย CL ยาเอดส์ และความขัดแย้งกับบริษัทแอ๊บบอต(-แอ๊บแบ้ว) ดูได้ที่เว็บไซต์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และเว็บข่าวประชาไทมีรายงานเรื่องนี้อยู่ตลอด ร่วมลงชื่อบอยคอต แอ๊บบอต technorati tags: compulsory licensing
-
อ่านสัญญาดีๆ มีรางวัล – It Pays To Read License Agreements
ขำโคตร เออ เข้าใจเล่นแฮะ รายงานจาก Slashdot เกี่ยวกับ EULA ของโปรแกรม PC Pitstop ซึ่งเป็นโปรแกรมกำจัด spyware ซึ่งบริษัทที่สร้าง PC Pitstop นี่ อยากลองทดสอบดูว่า คนทั่วไปเนี่ย อ่านสัญญาการใช้กันซักกี่มากน้อยกัน โดยการใส่ข้อความเข้าไปประมาณว่า ถ้าคุณอ่านเจอข้อความนี้ คุณมีสิทธิ์ได้เงิน 1,000 เหรียญ ถ้าเกิดว่าเมลมาที่อีเมลที่กำหนด ปรากฏว่า เวลาผ่านไป 4 เดือน ถึงจะมีคนเมลมา แปลว่าก่อนหน้านั้นนี่ ไม่มีใครอ่านเลยเหรอไง!? -_-” หลังจากที่มีคนเมลมาขอ “ขึ้นรางวัล” คนแรกแล้ว ทางบริษัทเค้าก็จัดทำหน้าเว็บเกี่ยวกะเรื่องนี้เลย ประมาณสอนผู้ใช้ทั้งหลายว่า สัญญาการใช้ (EULA – End-User License Agreements) เนี่ย อ่านๆ กันหน่อยเหอะ ไอ้ที่พวกคุณโดยสปายแวร์กันงอมแงมเนี่ย ส่วนนึงก็เพราะว่าไม่ยอมอ่านสัญญากันดีๆ นี่แหละ โดยยกตัวอย่างโปรแกรมตระกูล Gator ว่า เนี่ย ในสัญญาเค้าก็เขียนไว้ชัดเจนแล้ว…