-
คนทำงานด่านหน้า-งานจำเป็น ที่จะได้รับวัคซีนลำดับต้นๆ มีใครบ้าง
สำรวจประเทศต่างๆ ใครคือ “คนทำงานด่านหน้า” หรือ “คนทำงานสำคัญและจำเป็น” ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพบ้าง และใครจะที่ได้รับวัคซีนในลำดับต้นๆ
-
ว่าด้วยการ “อยู่เฉยๆ”
อำนาจมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อมีระเบียบ อำนาจจึงมักเรียกร้องระเบียบ (ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะใช้ประสิทธิภาพที่ได้มานั้นกับเรื่องอะไร) การจัดตั้งของคนอำนาจน้อยก็เป็นระเบียบแบบหนึ่ง และการจัดตั้งเพื่อนำไปสู่การทำให้เสียระเบียบในความสัมพันธ์กับอำนาจใหญ่ ก็เป็นแบบแผนแบบหนึ่งเพื่อต่อต้านอำนาจใหญ่ที่ตั้งอยู่ได้ด้วยระเบียบการทำให้เสียระเบียบ ด้วยการ “อยู่เฉยๆ” เป็นเครื่องมือพื้นฐานของคนที่มีอำนาจน้อย ในฐานะผู้บริโภค ก็หยุดบริโภค (สินค้าที่เราว่าไม่โอ)ในฐานะคนทำงาน ก็หยุดงานในฐานะพลเมือง ก็หยุดทำตามกฎหมาย (ข้อที่เราว่าไม่โอ – คำเรียกสวยๆ คือ civil disobedience)ในฐานะผู้เสียภาษี ก็หยุดเสียภาษีในฐานะเจ้าของข้อมูล ก็หยุดให้ข้อมูล(ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ “ใส่เกียร์ว่าง” lol) การหยุดต่างๆ มันไม่ใช่เพียงการหยุดกิจกรรมเท่านั้น ความสำคัญของการหยุดต่างๆ ข้างต้นนั้นไม่ใช่การหยุดกิจกรรม แต่คือการระงับความสัมพันธ์ชั่วคราว คือเราเป็นผู้บริโภคก็เพราะเราบริโภค เราเป็นพลเมือง ก็เพราะเรากับรัฐมีสัญญาประชาคมระหว่างกัน การหยุดนี้คือ หยุดความสัมพันธ์ และพอไม่มีความระหว่างกัน สถานะเราก็จะถูกรีเซต กลับมาตั้งคำถามว่า เออ ตกลงกูคือใคร และกูเป็นอะไรกับมึง เราเป็นอะไรกัน แล้วที่ทำๆ อยู่ทุกวันนี่ มันสร้างคุณค่าอะไร หรือมึงเห็นกูเป็นของตาย เอาจริงๆ ก็น่าหัวเราะอยู่ คือมีปัญญาทำเท่านี้แหละ ในฐานะปัจเจกหนึ่งหน่วย อาวุธห่าอะไรอื่นก็ไม่เหลือแล้ว (การใช้อำนาจผ่านผู้แทนในระบบ ถ้ามี ก็สิ้นหวังแล้ว) ซึ่งระบบจะไม่รู้สึกอะไรหรอก…
-
วิทยากร บุญเรือง: การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน + การเลิกจ้างที่เป็นธรรม
รวมบทความเรื่อง การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน และ การเลิกจ้างที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดย วิทยากร บุญเรือง เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท
-
karoshi – มาถวายชีวิตเพื่อองค์กรกันเถอะ!
เงามืดของความไม่มั่นคงในการงานที่ว่านี้ ทำให้การทำงานหนักกลายเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะกับบริษัทที่เอาเปรียบหรือที่รู้จักกันในชื่อ “บริษัทดำ” ที่รีดเอาประโยชน์จากพนักงานจนพังพินาศ. ในความกลัวอย่างต่อเนื่องถึงการถูกแทนตำแหน่งอย่างฉับพลัน คนทำงานได้พัฒนาความสามารถที่จะทำให้นายจ้างพอใจ – ทำงานอย่างบ้าคลั่งล่วงเวลา โดยไม่รับค่าจ้าง และกระทั่งปลอมบันทึกเวลาทำงานของตัวเอง เพื่อที่ว่าบริษัทจะได้พ้นจากปัญหา
-
SCB – Looking-Good Governance
“ธรรมภิบาล พีอาร์” โดนแล้วจ้า รายงานจากอารยชน โดยศรศิลป์เจ้าเก่า: เช้าวันที่ 18 ม.ค. 2551 หลังผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่ไม่กี่สัปดาห์ สหภาพแรงงานธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ได้นำชาวพนักงาน ธ.ไทยพาณิชย์ หลายร้อยคนจัดชุมนุมประท้วงความอยุติธรรม “ธรรมาภิบาลจอมปลอม” ของฝ่ายบริหาร ขบวนกองหน้าของพี่น้องปกคอขาวชาว ธ.ไทยพาณิชย์ หลายร้อยคนก่อการลุกขึ้นสู้ ด้วยการแจกเอกสารและชูป้ายข้อความต่าง ๆ ประท้วงเปิดโปงเล่ห์กลธรรมาภิบาลจอมปลอมของฝ่ายบริหาร “ปืศาจคาบคัมภีร์” ชาวสหภาพที่พลีตนเป็นกรวดหินดินทรายเพื่อปูทางสู่ความยุติธรรมได้ชี้ชัดให้ เห็นภาพที่แท้จริง ซึ่งซ่อนอยู่เบื้องหลังการประโคมโหมโฆษณา “เศรษฐกิจพอเพียง” “ธรรมาภิบาลร้อยปี” และหลักจริยธรรมธรรมนานับประการของฝ่ายบริหารธนาคาร ที่ใช้ปกปิดกมลสันดานแบบทุนที่ละโมบอย่างสุดขั้ว เหยียดมนุษย์อื่นเป็นเพียงแค่ตัวเลขค่าใช้จ่ายในบัญชีทางการเงิน พี่น้องปกคอขาวชาวสหภาพไทยพาณิชย์เปิดโปงว่า พนักงานส่วนข้างมากไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งในด้านเงินเดือน สวัสดิการ และโบนัส ทั้งที่ธนาคารมีกำไรปีละหลายหมื่นล้านบาท ในขณะที่ฝ่ายบริหารเพิ่มเงินเดือนตนเองจนสูงลิ่ว ทำให้องค์กรธนาคารถูกถ่างกว้างด้วยความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และนำไปสู่การแบ่งชนชั้นภายในองค์กรอย่างรุนแรง นอกจากนั้น ฝ่ายบริหารยังจัดการการงานในองค์กรด้วยวิธีเผด็จการ ไม่รับฟังความเดือดร้อนของพนักงานทั่วไปซึ่งได้รับผลจากนโยบายต่าง ๆ ของฝ่ายบริหาร เช่นการโยกย้ายฝ่ายสินเชื่อ บัญชี และฝ่ายอื่น ๆ ที่คิดเป็นจำนวนพนักงานกว่าหนึ่งพันคนไปยังสำนักงานชิดลมอย่างฉับพลัน ทำให้เกิดความเดือดร้อนอลหม่านในหมู่พนักงาน ทั้งในการเดินทางไปกลับที่ทำงานและการรับส่งบุตรหลานไปสถานศึกษา อีกทั้งยังบิดพลิ้วสัญญาที่จะเพิ่มค่าเดินทางให้ตามที่เคยป่าวร้องไว้เมื่อ หกเดือนที่แล้ว … อ่านต่อ:…
-
Labor United
สหภาพแรงงานภาคตะวันออก ยื่นหนังสือ – ไทยซัมมิท เลิกจ้างสมาชิก 260 คน technorati tags: labor, Thailand