Tag: Khana Ratsadon

  • ปรีดี พนมยงค์: “ความผิดพลาดบกพร่องของคณะราษฎร” และ “การแก้ไขวิกฤตประเทศไทย”

    นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 50 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย คลิปเสียง 1, คลิปเสียง 2 จาก Thai E-News ปรีดี : ผมก็พักผ่อนอยู่บ้านบ้าง นั่งรถไปทัศนาจรบริเวณใกล้ ๆ บ้าง เขียนหนังสือหรือบทความบ้าง อ่านหนังสือพิมพ์ และนิตยสารทั้งของไทยและของต่างประเทศ ฟังวิทยุกระจายเสียงและดูโทรทัศน์บ้าง โดยเฉพาะผม เป็นแฟนของข่าวบีบีซีมาช้านานแล้ว ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งตอนอยู่ในประเทศจีน และระหว่างอยู่ในฝรั่งเศสนี้ ก็ฟังวิทยุบีบีซี ทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสในตอนเช้าและภาคภาษาอังกฤษในตอนกลางคืนอีก แต่ภาคภาษาไทยฟังไม่ได้เพราะบีบีซี ส่งข้ามไปภาคตะวันออกไกลเสีย ผู้สื่อข่าวบีบีซี : ผมอยากจะขอความกรุณาให้ท่านมองย้อนหลัง เรื่องประชาธิปไตยในเมืองไทย ในฐานะที่เป็นผู้ก่อการจะได้มั้ยครับ ปรีดี : ได้ครับ ในฐานะผู้ก่อการขอพระราชทานรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ผมมองย้อนหลังดังต่อไปนี้ ความผิดพลาดบกพร่องของคณะราษฎร 2 ประเภท คือความผิดพลาดบกพร่องที่เหมือนกับทุก ๆ ขบวนการเมือง…

  • พิธีกรรมสาธารณะ/วันที่ระลึกของไทย – Thai public rituals

    ในโอกาสพิธีกรรมสาธารณะ (ที่ปีนี้จัดอย่างยิ่งใหญ่ยิ่งยวด) รวบรวมและจัดประเภท (วันที่ถูกกำหนดให้เป็น)วันสำคัญ/วันที่ระลึก/วันหยุด จากแหล่งต่าง ๆ (ข้อมูลประกอบบทความที่เขียนไม่เสร็จ พิธีกรรมสาธารณะและสิ่งมันระลึกถึง – การบ้านเมื่อสองเทอมที่แล้ว) พิธีกรรมสาธารณะ/วันที่ระลึกของไทย (Thai public ritual table) รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ (ดูอ้างอิงที่ท้ายตาราง) แล้วทดลองจัดกลุ่มตามสิ่งที่ระลึกถึง ได้จำนวน 20 กลุ่ม – บางวันอาจอยู่ในกลุ่มมากกว่าหนึ่งกลุ่ม เช่น วันยุทธหัตถี (วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ที่อยู่ในกลุ่มการทหาร และกลุ่มสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์, หรือ วันตำรวจ ที่อยู่ในกลุ่มราชการ/การปกครอง และกลุ่มอาชีพ/กลุ่มคน/องค์กร. กลุ่มจากการทดลองจัดนี้ สอดคล้องกับกลุ่มวันสำคัญของไทยที่จัดโดย ธวัชชัย พืชผล (2545). กลุ่ม : จำนวนวัน อาชีพ/กลุ่มคน/องค์กร : 23 สถาบันกษัตริย์/กษัตริย์ : 23 การทหาร : 20 การศึกษา/วิทยาการ : 13 ประเพณี : 10…

  • pronounce it /Kha-na Rat-sa-don/

    เมื่อวันอาทิตย์ งาน YouFest ทำผิดพลาดไปอย่างหนึ่ง (ในหลายอย่าง) คือ ออกเสียง คณะราษฎร ไปว่า /คะ-นะ-ราด/ ที่ถูกคือ /คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน/ โดย ราษฎร /ราด-สะ-ดอน/ ในที่นี้ ก็คือ “ไม่ใช่เจ้า” นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากในวงเล็บที่เน้นย้ำในตอนท้ายของหลักข้อที่ 4 ใน หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ที่ว่า: “จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)” ขอบคุณ อ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ที่ได้กรุณาเตือน โดยอาจารย์ได้กล่าวเตือนอีกด้วยว่า นี่คือการทำให้ความหมายมันเลือนหายไป เมื่อ /คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน/ (ราษฎร) กลายเป็น /คะ-นะ-ราด/ (ราข?) ความหมายมันก็เสียไปแล้ว — จะระมัดระวังยิ่งขึ้นครับ อาจารย์ย่ายังได้ให้ความต่ออีกด้วยว่า ในหลายประเทศนั้น แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญยิ่งกว่าและเป็นที่มาของ “รัฐธรรมนูญ” ก็คือ “คำประกาศสิทธิ” ต่าง ๆ (bill of rights [เช่น…