Tag: Keith Basso

  • [review] Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache.

    ช่วงนี้ไม่ค่อยได้อัปบล็อก เอาของเก่ามาหากินละกัน :p นี่เป็นการบ้านของวิชาหนึ่งในเทอมที่ผ่านมา คือ วิชามานุษยวิทยาภาษา (linguistic anthropology). งานในวิชานี้มีวิจารณ์หนังสือ 2 เล่ม กับรายงานจบเทอมชิ้นหนึ่ง. ด้านล่างนี้เป็นบทวิจารณ์หนังสือเล่มที่สอง คือหนังสือ Portraits of “the Whiteman”: Linguistic play and cultural symbols among the Western Apache โดย Keith Basso. ส่วนเล่มแรกที่วิจารณ์คือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์. เทอมที่แล้ว เคยวิจารณ์หนังสือที่ Keith Basso เขียน ไปแล้วเล่มหนึ่ง คือ Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the…

  • [review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)

    การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…