Tag: Internet

  • ThaiJustice.com closed down

    เว็บกฎหมาย ThaiJustice.com ประกาศปิดตัว หลังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากล่าวหาว่า “หมิ่นศาล” ThaiJustice.com เว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทย ปิดตัวลงถาวรแล้ว โดยขึ้นข้อความว่า: กราบเรียนท่านอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ข้าพเจ้านายอุดม แซ่อึ้ง เป็นผู้ดูแลเว็บ www.thaijustice.com ได้รับหนังสือที่ท่านได้ทำการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับข้าพเจ้าในความผิดฐานดูหมิ่นศาลแล้วนั้น ข้าพเจ้าขอเรียนชี้แจงว่า ข้าพเจ้ามิได้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้น จึงขอประกาศปิดเว็บเป็นการถาวร หมิ่นโน่นหมิ่นนี่ อะไรอะไรก็หมิ่น ต่อไปใครจะพูดอะไรก็คงจะพูดไม่ได้ เดี๋ยวถูกฟ้องไม่รู้เรื่อง ศาลเป็นใคร ทำไมถึงจะวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้? ถ้าศาลเป็นผู้ใช้อำนาจเป็นคุณเป็นโทษให้กับคนอื่นได้ ศาลก็ควรจะต้องถูกตรวจสอบได้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ ถ้าไม่งั้น ก็ไม่ควรจะมายุ่งเกี่ยวกับอำนาจเลย … หนังสือเล่มแรกของไทยที่ถูกแบนคือ “หนังสือกฎหมาย” !! [ ลิงก์ ThaiJustice.com | ผ่าน ประชาไท ] technorati tags: justice, Thailand, Internet

  • BEHAVE! – Big Brother Is Watching You!

    รายงาน จับตา ไอซีที : ออก กม.ลูก บังคับเก็บประวัติคนเล่นเน็ต เลข 13 หลัก เลขบัญชี เลขบัตรเครดิต (ประชาไท) ประกาศกฎกระทรวง เกี่ยวกับข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (เพื่อประกอบใช้กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) ข้อ 6 ผู้ให้บริการ มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ดังนี้ (1) ข้อมูลที่สามารถระบุและติดตามถึงแหล่งกำเนิด ต้นทางของการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ (2) ข้อมูลที่สามารถระบุปลายทางของการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ (3) ข้อมูลที่สามารถระบุพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารถึงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่น วันที่ เวลา ปริมาณการติดต่อ และระยะเวลาของการติดต่อสื่อสารระบบคอมพิวเตอร์ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ให้บริการเก็บเพียงเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการของตน พี่ใหญ่เค้าอยากจะรู้ทุกอย่าง ดูข่าวเพิ่มเติม ฐาน, blognone, ประชาไท หลักพื้นฐานทั่วไปอันหนึ่ง ที่น่าจะใช้เป็นแนวทางพิจารณาตรวจสอบขอบเขตอำนาจกฏกระทรวงอันนี้ได้ ว่าล้ำเส้นเกินไปหรือไม่ คือ หลักการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ OECD ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ (อ้าง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ…

  • Big Brother State

    ข้อความจาก คณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (จัดตั้งตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544) แผนการดำเนินงานและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ ที่ควรเร่งผลักดัน คณะอนุกรรมการฯ มีแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นลำดับ โดยการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลใช้บังคับ ทางคณะอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาและพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความพระราชบัญญัติฯ แล้วเสร็จ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำพระราช บัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับ พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. …. รวมถึงการพิจารณายกร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหน่วยงานธุรการและผู้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการ และการร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่อยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. …. , ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พ.ศ. …. จากข้อมูลในหน้าเว็บนั้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย สำหรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้น ประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับ…

  • remotely connected

    ผมมีพี่น้องสี่คน ผู้หญิง ผู้ชาย* ผู้ชาย ผู้ชาย *นั่นคือผม เป็นเวลาหลายปีแล้ว สิบปี ที่พวกเราเริ่มจะอยู่บ้านไม่พร้อมกัน – “อยู่” ในความหมายว่า นอนบ้าน ผมเข้ามหาลัยปี 39 ไปอยู่หอ ไม่นาน พี่ผมไปเรียนต่อ และน้องคนกลางเข้ามหาลัย ไปค้างบ้านเพื่อนทำงานบ่อย ๆ ผมจบกลับมาอยู่บ้าน – น้องคนเล็กเข้ามหาลัย ไปอยู่หอ ฯลฯ ล่าสุดผมกลับมาบ้าน พี่ผมไปทำงานประเทศเพื่อนบ้าน น้องคนเล็กทำงานที่ต้องบินไปบินมา เราคุยกันไม่ค่อยมาก มีอยู่ช่วงนึง ผมมักคุยกับน้องคนเล็กผ่านเว็บบอร์ดคณะ (เราเรียนที่เดียวกัน) และรุ่นพี่ผม มาโพสต์หาผมในเว็บบอร์ด บอกว่าให้ติดต่อน้าด้วย เค้าติดต่อผมไม่ได้ อินเทอร์เน็ต… เราเป็นพี่น้องกันแบบข้ามชาติ … เอ่อ ผมหมายถึงประเทศ technorati tags: brother, sister

  • surfing is moving

    ใช้อินเทอร์เน็ตยามอยู่นอกบ้าน AIS – mobileNET – เดือนละ 999 บาท/ไม่จำกัด (ค่าบริการแผนอื่น) DTAC – GPRS – เดือนละ 999 บาท/ไม่จำกัด, วันละ 39 บาท/ไม่จำกัด (ค่าบริการแผนอื่น) Hutch – MBI – เดือนละ 999 บาท/ไม่จำกัด (ค่าบริการแผนอื่น) True – Cyber SIM (GPRS + Wi-Fi + Dial-Up) – เดือนละ 800 บาท/ไม่จำกัด (ค่าบริการแผนอื่น) – update! True – GPRS – (หาข้อมูลราคาไม่เจอ) True – Wi-Fi – ชั่วโมงละ 90…

  • disposable e-mail address

    เอาไว้ใช้สมัครบริการต่าง ๆ ได้ ถ้าไม่อยากใช้อีเมลที่ปกติใช้อยู่ (กลัวสแปม, ระวังความเป็นส่วนตัว, ไม่อยากเปิดเผยตัว, ไม่แน่ใจความปลอดภัยของเว็บ ฯลฯ) ที่อยู่อีเมลใช้แล้วทิ้ง (Disposable e-mail addressing) หรือ DEA หมายถึงบริการทางเลือกสำหรับแบ่งปันและจัดการที่อยู่อีเมล. DEA มีจุดประสงค์เพื่อสร้างที่อยู่ติดต่อใหม่ที่ไม่ซ้ำกับใคร เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับ. โดยที่หากในเวลาต่อมา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำที่อยู่อีเมลนี้ไปใช้ในทางอันตรายหรือก่อกวน, เจ้าของที่อยู่ดังกล่าว ก็สามารถยกเลิก (“ทิ้ง”) ที่อยูนั้นได้อย่างง่ายดาย โดยไม่กระทับกับที่อยู่ติดต่ออื่น ๆ ตัวอย่างของที่อยู่ใช้แล้วทิ้ง เช่น ContactName@YourName.Provider.com ประโยชน์ของที่อยู่อีเมลใช้แล้วทิ้ง เช่น สำหรับใช้กันสแปม รายชื่อผู้ให้บริการที่อยู่อีเมลใช้แล้วทิ้ง (dmoz) Handbook for Bloggers and Cyber-dissidents (ฉบับภาษาไทย) วิธีเขียนบล็อกแบบไม่เปิดเผยตัวตน (นิรนาม) วิธีทางเทคนิคในการหลบเลี่ยงการเซ็นเซอร์ [ผ่าน anon.hui] technorati tags: Disposable e-mail address

  • Nation-State and the Netizen

    เราสามารถนำคำอธิบายความขัดแย้ง ระหว่าง รัฐ (state) กับ ชาติ (nation, กลุ่มคน) มาใช้อธิบายความขัดแย้งระหว่าง รัฐ กับ ชาว(เผ่า)อินเทอร์เน็ต ได้ไหม ? ชาวอินเทอร์เน็ตบางส่วน มีคุณค่าพื้นฐานที่ยึดถือร่วมกันอยู่ เช่น netiquette, open-source culture, hacker ethic และเป็นลักษณะที่ข้ามเขตพรมแดน เลยขอบเขตของรัฐออกไป (แฮกเกอร์เวียดนามก็ยึดถือคุณค่าเดียวกับแฮกเกอร์ญี่ปุ่น เป็นต้น) อย่างนี้แล้ว แม้ชาวอินเทอร์เน็ตกลุ่มนั้นจะไม่ถึงขนาดนับเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ได้ แต่เราจะเรียกว่า เผ่า (tribe) จะพอไหวไหม ? Netizen ? แล้วกรณีที่รัฐพยายามจะเข้ามาจัดการจัดระเบียบอินเทอร์เน็ต (รวมถึงการเซ็นเซอร์) ก็คือการที่รัฐพยายามจะมามีอำนาจเหนือชาติ (อินเทอร์เน็ต) ส่วน(คนใน)ชาตินั้นก็พยายามจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง แต่ความพยายามของรัฐ จะประสบความยากลำบากอย่างหลีกหนีไม่พ้น เพราะเครื่องมือของรัฐนั้น มีขีดจำกัดอำนาจอยู่แค่ในเขตแดนของรัฐเท่านั้น ในขณะที่ชาติครอบคลุมเกินไปกว่า นึก ๆ เรื่องนี้ขึ้นมาได้ ระหว่างอ่าน รัฐ-ชาติกับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่ โดย…

  • (keep) watching the Cyber Crime Bill

    ดูสิว่าไปถึงไหนกันแล้ว สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ ครั้งที่ 11/2550 technorati tags: Internet censorship, Internet, cyber-crime bill

  • Don’t put all your eggs in the Internet

    อย่าแม้แต่จะคิดพึ่งพิงช่องทางใดช่องทางหนึ่งเป็นหลัก เตรียมหาทางเลือก ทางสำรองเอาไว้ตลอดเวลา เมื่อวานและวันนี้ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยังอยู่ในสภาพพิการ เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง และช้าอืด พื้นที่สาธารณะ สื่อพลเมือง เวทีประชาธิปไตย ฯลฯ อะไรก็ตาม อินเทอร์เน็ตคือโอกาส แต่ไม่ใช่คำตอบเบ็ดเสร็จที่จะโถมตัวเข้ามาหมด วิทยุชุมชน ทีวีชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ศาลาประชาคม วัด โรงเรียน เหล่านี้ยังมีความสำคัญเสมอ นอกจากจะมองมันเป็น “ทางสำรอง” สำหรับคนเมืองผู้มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แล้ว มันยังเป็น “ทางหลัก” ในอีกหลายพื้นที่ ที่แม้แต่คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีด้วย (เลิกหวังกับ แลปทอปร้อยเหรียญ ได้แล้ว — รัฐบาลกลัวอะไร?) ส่วนตัวการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของไทยเอง ก็ควรจะทบทวนด้วยไหม ว่าได้เทน้ำหนักการเชื่อมต่อออกต่างประเทศไปกับประเทศใดประเทศหนึ่ง เส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง มากเกินไปไหม มีเส้นทางสำรอง เส้นทางทางเลือก ที่พอเพียงหรือไม่ ? หากเกิดภัยธรรมชาติสร้างความเสียหายให้กับเส้นทางบางเส้นทาง เส้นทางที่เหลือจะยังรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นคับคั่งขึ้นได้หรือไม่ ? ทั้งที่เพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติ จากการที่ต้องแบกรับการจราจรจากเส้นทางอื่นที่เสียไป และที่เพิ่มขึ้นจากความตื่นตระหนกของผู้คน เช่น ตอนที่เกิดสึนามิเมื่อสองปีก่อน การจราจรบนอินเทอร์เน็ตก็พุ่งขึ้นสูงทันที ทุกคนอยากรู้ข่าว แน่นอนว่า เส้นทางสำรอง เส้นทางทางเลือก…

  • OpenNet Initiative

    OpenNet Initiative (ONI) ภารกิจของ ONI คือการตรวจสอบหาความจริง และท้าทาย การกรองเนื้อหา (filtration) และการตรวจตราเฝ้าดู (surveillance) โดยรัฐ วิธีของเราประยุกต์ความเข้มงวดในระเบียบวิธี เข้ากับการศึกษาการกรองเนื้อหาและการตรวจตราเฝ้าดู และผสมผสานการศึกษากรณีจริง เข้ากับการตรวจยันทางเทคนิค เป้าหมายของเราคือ เพื่อสร้างภาพที่น่าเชื่อถือของการปฏิบัติเหล่านี้ ในระดับชาติ ภูมิภาค และองค์กร และขุดค้นผลกระทบของมัน ที่มีต่อ เอกราชของรัฐ ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน กฎหมายระหว่างประเทศ และโลกาภิบาล ตัวอย่างผลการศึกษาในประเทศต่าง ๆ : จีน พม่า สิงคโปร์ The ONI mission is to investigate and challenge state filtration and surveillance practices. Our approach applies methodological rigor to the study…

Exit mobile version