-
คำ “ออกตัว” — มาราธอน เล่มแรก
ด้านล่างนี้น่าจะเป็น “คำนำ” หนังสือเล่มครั้งแรกของผม วันนี้เพิ่งจะได้จับ ผมเลือกใช้คำว่า “มาราธอน” กับกิจกรรมของเครือข่ายพลเมืองเน็ตนี้ เพราะเห็นด้วยว่าการศึกษาและรณรงค์ประเด็นใดก็ตาม ไม่สามารถสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน มาราธอนคือการวิ่งระยะไกล ข้ามเขตแดนและส่งข่าวสาร หนังสือเล่มวางตำแหน่งตัวเองเป็นจุดสตาร์ท ดังคำออกตัว
-
อย่าโทษคนนำสาร Don’t shoot the messenger
คดีของจีรนุชชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 ในหลายประเด็นสำคัญ 1. ภาระของ “ท่อ” 2. ตัวกลางกลายเป็น “แพะ”
-
Z to A: The Future of the Net (and how to stop it)
(a draft from 2008) Tony Curzon Price blogs about Jonathan Zittrain‘s LSE lecture on “The Future of the Net (and how to stop it)” From Zittrain to Aristotle in 600 words technorati tags: Internet, governance
-
แอนิเมชัน – ประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต
แอนิเมชันเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต มันไม่ได้อยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้นโดยนักประดิษฐ์คนเดียวหรือกลุ่มเดียว แต่เกิดจากความพยายามในการสร้างเครือข่ายเพื่องานวิทยาศาสตร์ ความมั่นคง และเชิงพาณิชย์ ในศูนย์วิจัยต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ต่างคนต่างทำ ด้วยจุดประสงค์แตกต่างกัน เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละคนก็เรียนรู้แนวคิดของกันและกัน สร้างมาตรฐานที่จะแลกเปลี่ยนกันได้ และเครือข่ายต่าง ๆ ก็เชื่อมต่อกัน และกลายเป็นอินเทอร์เน็ต แนวคิดการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการ ARPANET (สหรัฐอเมริกา) แนวคิด packet-switching ถูกสร้างขึ้นที่ National Physical Laboratory (สหราชอาณาจักร) (พร้อม ๆ กับที่ห้องปฏิบัติการอื่น ๆ) เพื่อหลีกเลี่ยงความคับคั่งของเครือข่าย แนวคิด distributed computer network ถูกสร้างขึ้นศูนย์วิจัย RAND เพื่อให้มันใจว่าระบบจะยังทำงานแม้โหนดจำนวนหนึ่งในเครือข่ายจะทำงานไม่ได้ แนวคิด inter-networking (การเชื่อมต่อของเครือข่ายกับเครือข่าย) และแนวคิดการส่งผ่านข้อมูลโดย physical layer ถูกสร้างขึ้นในโครงการ CYCLADES (ฝรั่งเศส) ที่ Institut de Recherche d’lnformatique…
-
"webmaster" คำเจ้าปัญหา สิ่งตกค้างทางประวัติศาสตร์
เว็บมาสเตอร์ (webmaster) เป็นคำจากประวัติศาสตร์ที่มีปัญหา เมื่อตอนเว็บเริ่มต้น ระบบยังไม่ซับซ้อน ยังมีขนาดเล็ก เว็บไซต์ส่วนใหญ่ คนเดียวทำทุกอย่าง ทั้งลงทุน จดทะเบียน เตรียมการเทคนิค ออกแบบหน้าตา ใส่เนื้อหา ดูแลส่วนต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ว่า ทำทุกส่วน รู้ทุกอย่าง ควบคุมได้ทั้งหมด เราจึงเรียกบุคคลคนเดียวนี้ว่า เว็บมาสเตอร์ ซึ่ง master มีความหมายทั้ง ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ(ในการสร้างเว็บไซต์) เป็นผู้มีอำนาจ(ดูแลปกครองเว็บไซต์) และเป็นเจ้าบ้าน(เจ้าของเว็บไซต์) แต่ตอนนี้ลักษณะดังกล่าว ไม่เป็นความจริงอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากเว็บไซต์มีขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น จึงมีการแบ่งงานกันทำ แยกตามความเชี่ยวชาญ ตามความสามารถและทรัพยากร บางคนเป็นเจ้าของลงทุน บางคนจัดการเรื่องเทคนิคโครงสร้างพื้นฐาน บางคนดูแลเซิร์ฟเวอร์ บางคนออกแบบหน้าตา บางคนดูแลเนื้อหา ฯลฯ การใช้คำว่า เว็บมาสเตอร์ เพียงอย่างเดียว จึงกำกวม ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ทำหน้าที่อะไร และต้องรับผิดชอบในส่วนใดกิจกรรมใดของเว็บไซต์ดังกล่าว เนื่องจากหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าว มีผลตามมาทางกฎหมายด้วย เราจึงควรจะระมัดระวังการใช้คำดังกล่าว และระบุหน้าที่ให้ชัดเจน ไม่พูดคำว่า เว็บมาสเตอร์…
-
แบบสำรวจ “สิทธิเสรีภาพในอินเทอร์เน็ต” – An Online Survey on Internet Rights and Freedom
เชิญร่วมตอบแบบสอบถาม เรื่อง “สิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต” เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ความคิดเห็นต่อการดูแลอินเทอร์เน็ต และอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน — แบบสอบถามใช้เวลาทำประมาณ 7 นาที http://bit.ly/netfreedom-q ผลสำรวจจะถูกนำเสนอในงานเสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” (ดูรายละเอียดด้านล่าง) เสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” วันเวลา: อาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2552 13.00-16.00น. สถานที่: สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน (แผนที่: http://tja.or.th/map.jpg, เว็บไซต์: http://tja.or.th/) เป้าหมาย: เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สนใจในการนำอินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ มาเป็นเครื่องมือในการช่วยผลักดันนโยบายจากภาคประชาชน การตรวจสอบนักการเมืองและพรรคการเมือง ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยบนอินเทอร์เน็ต รูปแบบงาน: เสวนากลุ่มย่อยระหว่างผู้สนใจ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เสวนา กำหนดการ: 13:00-13:30 “เสรีภาพในการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์” โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) 13:30-14:00 “การสำรวจความคิดเห็นด้านการเมืองของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทย” โดย Siam Intelligence Unit 14:00-14:30 “เว็บไซต์ฐานข้อมูลนักการเมืองไทย” โดย…
-
accounting tool for (un)accountable business
rt @suntiwong http://tinyurl.com/6zp3ed รายงานสด คะแนนโหวตนายก คะแนนต่อคะแนน a Thai netizen uses free online tools to report today prime minister vote. Look at the vote summary at http://tinyurl.com/6zp3ed (Google Spreadsheet), and follow the minute-by-minute updates at http://twitter.com/suntiwong (Twitter). ทำด้วย Google Spreadsheet, กระจายข่าวด้วย Twitter technorati tags: citizen reporter, politics, Twitter, Internet, Thailand