Tag: Internet censorship

  • your children will be next… :p

    WordPress.com ถูกปิดกั้น[โดยไอเอสพี] (ดู ปกป้อง.คอม, iTeau) ตามด้วย GotoKnow ถูกปิดกั้น[โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ] (ดู จันทวรรณ, และกรณีก่อนหน้านี้) ตามด้วย (ใครจะเป็นรายต่อไป ?) ลงชื่อสนับสนุน คำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้รัฐยุติการปิดกั้นเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต FACT เสนอ “เสรีภาพพลเมือง” ในรัฐธรรมนูญ technorati tags: Internet censorship, free speech

  • Nation-State and the Netizen

    เราสามารถนำคำอธิบายความขัดแย้ง ระหว่าง รัฐ (state) กับ ชาติ (nation, กลุ่มคน) มาใช้อธิบายความขัดแย้งระหว่าง รัฐ กับ ชาว(เผ่า)อินเทอร์เน็ต ได้ไหม ? ชาวอินเทอร์เน็ตบางส่วน มีคุณค่าพื้นฐานที่ยึดถือร่วมกันอยู่ เช่น netiquette, open-source culture, hacker ethic และเป็นลักษณะที่ข้ามเขตพรมแดน เลยขอบเขตของรัฐออกไป (แฮกเกอร์เวียดนามก็ยึดถือคุณค่าเดียวกับแฮกเกอร์ญี่ปุ่น เป็นต้น) อย่างนี้แล้ว แม้ชาวอินเทอร์เน็ตกลุ่มนั้นจะไม่ถึงขนาดนับเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ได้ แต่เราจะเรียกว่า เผ่า (tribe) จะพอไหวไหม ? Netizen ? แล้วกรณีที่รัฐพยายามจะเข้ามาจัดการจัดระเบียบอินเทอร์เน็ต (รวมถึงการเซ็นเซอร์) ก็คือการที่รัฐพยายามจะมามีอำนาจเหนือชาติ (อินเทอร์เน็ต) ส่วน(คนใน)ชาตินั้นก็พยายามจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง แต่ความพยายามของรัฐ จะประสบความยากลำบากอย่างหลีกหนีไม่พ้น เพราะเครื่องมือของรัฐนั้น มีขีดจำกัดอำนาจอยู่แค่ในเขตแดนของรัฐเท่านั้น ในขณะที่ชาติครอบคลุมเกินไปกว่า นึก ๆ เรื่องนี้ขึ้นมาได้ ระหว่างอ่าน รัฐ-ชาติกับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่ โดย…

  • Nipples and the Citizen Power

    … ในฐานะที่เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีในอดีต <คุณสุวิทย์ คุณกิตติ> ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า “ คุณต้องยอมรับว่า ไม่ว่าคุณจะพยายามบล็อกอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีใดก็ตาม คุณไม่มีวันทำได้สำเร็จ ถ้าเราปิดเว็บไซต์ไปสักแห่งหนึ่ง ใครๆ ก็สามารถหาพร็อกซี่เพื่อเข้าถึงมันจนได้ การเซ็นเซอร์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำร้ายประชาชน ทำร้ายรัฐบาล และยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ” ท่านยังกล่าวด้วยว่า แทนที่จะเซ็นเซอร์ ทางที่จะแก้ปัญหา [การใช้อินเทอร์เน็ตแบบผิดๆ] เป็นทางแก้ทางสังคม – ให้การศึกษา, ศีลธรรม, สำนึกทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อที่ประชาชนจะได้ตัดสินใจอย่างรอบรู้เอง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ได้ดีเพียงไร ข้อสรุปอันแรกที่ผมอยากย้ำไว้ก็คือ คนไทยต้องเลี้ยงลูกเอง เลิกคิดที่จะให้รัฐเลี้ยงลูกแทนเสียที เพราะถ้าคิดอย่างนั้นหอบลูกไปทิ้งไว้หน้าสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าของรัฐดีกว่า นอกจากนี้ควรเข้าใจด้วยว่าอำนาจที่รัฐได้มาจากการปกป้องสายตาเด็กจากหัวนมผู้หญิงนั้น รัฐได้ใช้มันไปในทางฉ้อฉลเพื่อบดบังความรับรู้ของประชาชนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐ หรือข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นภัยต่อกลุ่มอำนาจด้วย เว็บที่ถูกกระทรวงไอซีทีบล็อกนั้นไม่ได้มีแต่เว็บโป๊ แต่รวมถึงเว็บอื่น ๆ ที่มีข้อความซึ่งผู้มีอำนาจเห็นเป็นอันตรายต่อตัวด้วย ดาบศีลธรรมนั้นบั่นรอนทั้งศีลธรรมและเสรีภาพทางอื่น ๆ ไปพร้อมกัน บั่นรอนศีลธรรมเพราะทำให้มนุษย์ไม่พัฒนาตนเองให้ใช้วิจารณญาณของตนเอง จึงไม่อาจศีลธรรมได้จริง บั่นรอนเสรีภาพเพราะข้อมูลข่าวสารที่เรารับรู้ถูกตัดตอนจนทำให้เสรีภาพเหลือเพียงเสรีภาพที่จะทำตามคำสั่งของเบื้องบน ผมไม่ได้หมายความว่ารัฐไม่มีประโยชน์นะครับ ตรงกันข้าม รัฐสามารถช่วยครอบครัว, โรงเรียน, สื่อ, ชุมชน และสังคมได้มาก (เพราะกระจุกทรัพยากรจำนวนมากของเราทั้งหมดไว้จัดการเอง) ในอันที่จะเพิ่มสมรรถภาพทางหัวใจของเราก็จะเผชิญกับโลกที่เป็นจริง แต่ต้องไม่ปล่อยให้รัฐถือดาบศีลธรรมเที่ยวฟาดฟันอย่างโง่ๆ…

  • (keep) watching the Cyber Crime Bill

    ดูสิว่าไปถึงไหนกันแล้ว สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ ครั้งที่ 11/2550 technorati tags: Internet censorship, Internet, cyber-crime bill

  • Cameraphone Reports, Tags and Labels, Censorship Code of Conduct

    ลิงก์ที่ดองไว้หลายวัน ยังไม่ได้อ่านเลย NYC 911 to Accept Cellphone Pics and Video — จารย์มะนาวน่าจะสนใจ พลเมืองในฐานะหูตาของผู้รักษากฎหมาย .. ไว้อีกหน่อยถ้ามีกล้องมือถือจับภาพ “พับเล็ก ๆ” ตามสี่แยกได้ คงสนุก Labels Not Tags, Says Google — มันต่างกันยังไง ? ฉลาก? กะ ป้าย? – -“ Microsoft, Google Agree to NGO Code of Conduct — เกี่ยวกะเรื่องเซ็นเซอร์ ไมโครซอฟท์กะกูเกิลจะร่วมกันร่างแนวทางปฏิบัติในการเรื่องการเซ็นเซอร์ technorati tags: Google, Microsoft, cellphone, tags, labels, New York

  • Bloggers Handbook in Thai

    คู่มือสำหรับบล็อกเกอร์ และนักเคลื่อนไหวไซเบอร์ แปลจาก Handbook for Bloggers and Cyber-dissidents ของ องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Borders หรือ RSF) แนะนำวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเคลื่อนไหวทางสังคม ตั้งแต่วิธีการเลือกเครื่องมือ แนวปฏิบัติ และเทคนิคในการเขียนบล็อกแบบไม่เปิดเผยตัวตน ฉบับภาษาไทย แปลเสร็จแล้วสองบท (จาก 13 บท) วิธีเขียนบล็อกแบบไม่เปิดเผยตัวตน (นิรนาม) วิธีทางเทคนิคในการหลบเลี่ยงการเซ็นเซอร์ ขอขอบคุณ คุณคนชายขอบ ที่ได้กรุณาแปลสองบทแรกให้อย่างรวดเร็ว รวมถึงผู้ร่วมตรวจทานทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย หากท่านใดได้แปลเพิ่มเติม สามารถส่งมาได้ที่ facthai AT gmail.com — ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง [ลิงก์ คู่มือสำหรับบล็อกเกอร์ และนักเคลื่อนไหวไซเบอร์ @ เว็บล็อก กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT)] technorati tags: FACT, Internet censorship, privacy

  • ants’ works

    Thaksin Interview on YouTube ยังมีคนตัวเล็ก ๆ ทำงานเล็ก ๆ … คนตัวเล็ก ๆ เยอะ ๆ ทำงานส่วนเล็ก ๆ เยอะ ๆ เป็นงานใหญ่ technorati tags: YouTube, Internet censorship

  • CNN is bad for kids

    Good news & bad news. Bad News: CNN.com is now completely blocked by Thai (junta) government. Try http://cnn.com/ by yourself, you will be paused for a minute, then got a *fake* error message, “504 Gateway Timeout”. Good News: You can still access it via proxy servers abroad, -OR- use “Tor” router program – an efficient…

  • Harvard to Investigate Net Censorship in Thailand

    ข่าวสำหรับตีพิมพ์ จาก กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะสืบสวน การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (In English: Harvard University to Investigate Internet Censorship in Thailand) สำหรับเผยแพร่ทันที — 2 มกราคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดจะสืบสวนการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ดร. บอนนี่ โดเฮอตี้ อาจารย์ผู้ดูแลประจำแผนงานสิทธิมนุษยชน ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะเป็นผู้นำทีมคณะนักวิจัยมายังประเทศไทยในช่วงต้นเดือนมกราคม ร่วมกันกับ ศูนย์เบิร์กมานเพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคม (Berkman Center for Internet and Society) ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และโครงการโอเพนเน็ตอินิชิเอทีฟ (OpenNet Initiative) ทีมงานจะทำการสืบสวนประเด็นการแสดงออกอย่างเสรีในประเทศไทย ทีมงานจะพิจารณาการปิดกั้นและคัดกรองเว็บในปัจจุบัน ซึ่งกระทำโดยหน่วยงานรัฐบาลไทยจำนวนหนึ่ง ที่เด่นชัดก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย ทีมงานจะสืบสวนหาความจริงเกี่ยวกับสถานการณ์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกอย่างเสรี และจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในบริบทที่กว้างกว่า เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน เนื่องจากการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยทั้งหมดนั้น…

  • Worse than Singapore

    Thailand’s leading figure in the ongoing campaign against Internet censorship, CJ Hinke (of Freedom Against Censorship Thailand), talks to The Nation’s Pravit Rojanaphruk about the alarming increase in the government’s censorship in cyberspace. technorati tags: FACT, Internet censorship, free speech

Exit mobile version