-
Me on #ICT2020 plan
วันนี้ไปงานระดมความเห็นเรื่องแผนไอซีทีในระยะ 10 ปีข้างหน้า (ICT2020) กลุ่ม civic empowerment (คืออะไรก็ไม่ค่อยแน่ใจ ผมก็มั่วไป) ที่เนคเทคเป็นเจ้าภาพ (ผมไป แทน หลายคนมาก ๆ ประมาณว่าแปะมือกัน) ผมได้เสนอในวงและยังยืนยันว่า ในการทำนโยบายทางสังคมใด ๆ จำเป็นต้องคิดถึงกลุ่มชายขอบทางการเมืองด้วย ไม่ใช่เพียงกลุ่มชายขอบทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ กลุ่มชายขอบทางการเมือง คือ กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ กลุ่มคนที่รัฐมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง ต่อศีลธรรมอันดีงาม และกลุ่มคนที่ถูกแปะป้ายว่า หัวรุนแรง คนเหล่านี้ก็เป็นพลเมืองหรือผู้ส่วนได้ส่วนเสียในสังคม และไม่ควรจะต้องถูกกันออกไป เพียงเพราะเขาคิดไม่เหมือนกับรัฐ ตัวอย่างของกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหรือกิจกรรมของรัฐ ที่ได้ผลกระทบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ ในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูล เช่น ชุมชนในมาบตาพุดและประจวบ ที่ขอดูเอกสารประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากรัฐ แต่ถูกปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลเรื่อง ความมั่นคง ถ้าทัศนคติแบบนี้ยังมีอยู่ และข้ออ้างแบบนี้ยังฟังขึ้น ก็ป่วยการที่จะพูดถึงเทคโนโลยีสารพัดที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร — เพราะถึงมีเทคโนโลยีไป รัฐก็ไม่เปิดอยู่ดี แค่โยนบรอดแบนด์ตูมลงไป แล้วหวังจะให้เกิดสังคมข้อมูลข่าวสารและปริมณฑลสาธารณะ แบบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันเป็นไปไม่ได้ – ต้องเปลี่ยนทัศนคติของรัฐและสังคมด้วย ในเชิงรูปธรรมก็คือกฎหมายและระเบียบต่าง…
-
[seminar] Personal Data and Risks from e-Government
Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University, will held an open seminar on personal data and risks in the age of e-government on Wednesday, July 9, 2008, 13:00-16:30 @ Room 105, Maha Chulalongkorn building, Chulalongkorn University (near MBK). For more info, please contact Soraj Hongladarom +66-2218-4756 ใครสนใจเรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคล (personal data) และความเป็นส่วนตัว (privacy) และร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังไม่ได้เกิดสักที…
-
The Hague Declaration, call for signers
Support free and open information standards, for transparency, for equality, for participatory, for communication rights, for information freedom, and for freedom of expression. — please consider signing the The Hague Declaration. ขอเชิญพิจารณาและร่วมลงชื่อใน “คำประกาศเฮก” (The Hague Declaration) เพื่อสนับสนุนมาตรฐานดิจิทัลแบบเปิดและเสรี และเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกใช้และส่งเสริมมาตรฐานแบบเปิดและเสรี เพื่อความเท่าเทียมและโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูล มีส่วนร่วมในการปกครอง และใช้บริการของรัฐ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ตามสิทธิและเสรีภาพของเราใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๕๖ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่…
-
Open Document Standard, e-Government, and Universal Information Access
ต่อเรื่อง open document standard มาตรฐานเอกสารแบบเปิด ที่ใน duocore ตอนที่ 66 ลืมพูด/เวลาไม่พอเลยข้ามไป open standard นี่ ทั้งตัว format และ protocol ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเลยนะ มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เช่นเรื่อง backoffice ระบบบริหารจัดการข้อมูลของระบบราชการ หน่วยงานรัฐ ที่ต้องประมวลผลเอกสารมาก ๆ ทั้งภายในหน่วยงานเอง ระหว่างหน่วยงานรัฐ และกับภาคเอกชน ประชาชน ถ้าไม่ใช่ฟอร์แมตเปิด การสร้างซอฟต์แวร์ระบบที่จะอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้อย่างอัตโนมัติ ก็ลำบาก (ต้อง reverse engineering แกะสเปกกันวุ่นวาย) แถมยังไม่สามารถมั่นใจเต็ม 100% ได้ว่าจะอ่าน/เขียนได้ตรงเป๊ะ ซึ่งก็อาจทำให้ข้อมูลบางอย่างตกหล่นสูญหายได้ ยิ่งคิดว่าในกระบวนการทำงานจะต้องมีการส่งเอกสารกันหลายทอด อ่าน/เขียนกันหลายรอบ ก็เป็นไปได้ที่การสูญหายดังกล่าวจะสะสมเยอะขึ้นได้ด้วย มาตรฐานเอกสารแบบเปิด กับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถ้วนหน้า (universal information access) นอกจากนี้ กรณีที่สเปกรูปแบบเอกสารที่มันปิด ไม่ได้เป็นมาตรฐานเปิด ก็ทำให้มีโอกาสอยู่มาก ที่จำนวนโปรแกรมที่จะมาอ่าน/เขียนเอกสารเหล่านั้นได้…