-
สนับสนุนกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นธรรม สนับสนุนร่างแก้ไขฉบับ iLaw
ผมสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อเปิดทางให้กับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามที่ไอลอว์เสนอไว้ เพราะมันเน้น “กระบวนการ” และปล่อยให้เรื่อง “เนื้อหา” กลับไปอยู่ที่ประชาชนมากที่สุด 1) เป็นร่างฉบับที่คืนอำนาจให้ประชาชน สมาชิกสภาร่างทั้งหมดมาจากการสรรหาตัวแทนจากประชาชน ไม่มีโควตาแต่งตั้งจากสายอำนาจนำในปัจจุบัน 2) เปิดโอกาสให้สังคมคิดฝันจินตนาการถึงอนาคตที่เป็นไปได้ร่วมกันได้โดยไม่มีข้อจำกัดปลอมๆ ที่คนกลุ่มเล็ก (ที่ยึดอำนาจประชาชนมา-หรือที่เป็นอำนาจนำในขณะนี้) สร้างขึ้น ว่าหมวดนั้นหมวดนี้ห้ามแก้ไข 3) สร้างกติกาที่เป็นธรรมในระหว่างการทำประชามติ ปลดล็อกเงื่อนไขที่คณะรัฐประหารสร้างไว้ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องการสร้างกติกาที่สังคมจะทำงานร่วมกันได้ โดยไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบเสียเปรียบจากตัวกติกา ส่วนเนื้อหาจะเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่สังคมจะไปพูดคุยรณรงค์กันอย่างเสรีภายใต้การรับรองสนับสนุนของ (3) ผ่านตัวแทนใน (1) โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ ตามที่ (2) ได้เปิดโอกาสไว้ ดูคำอธิบายข้อเสนอ #5ยกเลิก5แก้ไข ของ iLaw
-
สืบพยานคดีสื่อ-คอมพิวเตอร์ กันยายน 2554 @ ศาลอาญา รัชดา
กันยา 2554 นี้ ที่ศาลอาญา รัชดา (MRT ลาดพร้าว) มีสืบพยานคดีสื่อและสิทธิเสรีภาพตลอดทั้งเดือน รวม 3 คดี — คดี “ประชาไท” (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14, 15), คดี “เอกชัย ขายซีดี” (พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ มาตรา 4 , 54 , 82 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112), คดี “ลุง SMS” (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(2), 14(3) และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112)
-
iLaw ชวน "หยุด" ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่
ร่างกฎหมายคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ กำลังจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา (ดูข่าวที่กรุงเทพธุรกิจ) สรุป ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา (ดูละเอียดการวิเคราะห์ร่างนี้และข้อสังเกต 10 ประการ ที่: http://ilaw.or.th/node/857) ร่างฉบับใหม่นี้ : จะเน้นการจับ “ตัวกลาง” คือเว็บไซต์มากกว่าตัวผู้กระทำผิดจริง ๆ (เน้น “จับแพะ” ว่าง่าย ๆ) จะมีคณะกรรมการใหม่หนึ่งชุด ซึ่งอำนาจหน้าที่ตามข้อที่ 5 ระบุไว้ว่ามีอำนาจทำอะไรก็ได้ และไม่ต้องขอหมายศาลด้วย (พรบ.คอมฉบับปัจจุบันต้องขอหมายศาล) ซึ่งนักกฎหมายตั้งข้อสังเกตไว้ว่าเขียนลักษณะเหมือนพ.ร.ก.ฉุกเฉินเลย คือเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.นี้จะมีอำนาจเต็ม โปรแกรมอย่าง torrent, proxy, shark (เอาไว้ดูทราฟิกเน็ต), ฯลฯ พวกนี้จะผิดกฎหมายทันที ในฐานะผู้ใช้เน็ตคนนึง รู้สึกว่ามันเกินพอดีไปแล้ว แน่นอนว่าคนร้ายเราก็ต้องจัดการ แต่คนที่ไม่ได้ทำอะไรผิด ก็ควรจะต้องได้รับการคุ้มครองด้วย (ไม่ใช่ว่าจะขี่ช้างจับตั๊กแตน วิ่งไล่วนมันทั่วนา ช้างเหยียบข้าวพวกเราแหลกหมด ตำรวจบอกว่ามันจำเป็น เพราะต้องจับคนร้ายเจ้าตั๊กแตนตัวนั้นให้ได้ ทำไปทำมาจับไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่นาเราพังไปหมดแล้ว ไม่มีใครรับผิดชอบ) เราควรจะแสดงออกอะไรบ้าง ถึงสิทธิของเราที่มีในพื้นที่ตรงนี้ ขั้นต่ำสุด ที่ทำได้ตอนนี้เลย ก็คือไปแสดงตัวกันหน่อย ด้วยการลงชื่อที่…
-
“อินเทอร์เน็ตภิบาลกับประชาสังคม” / “ยกเลิกกฎหมายความมั่นคง”
ประชาสัมพันธ์สองงาน พรุ่งนี้ (เสาร์ 4 กันยา) 12:30 ที่ร้านกาแฟวาวี ซอยอารีย์ มี เวิร์กช็อปและแลกเปลี่ยน “อินเทอร์เน็ตภิบาลกับประชาสังคม” กลางเดือนนี้ วันที่ 14-17 ก.ย. จะมี Internet Governance Forum ครั้งที่ 5 เป็นที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลระดับโลก คุยกันเรื่องการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต และประเด็นท้าทายใหม่ ๆ ที่ต้องรับมือ จะมีผู้เข้าร่วมจากภาคประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปร่วมด้วย ถึงจะไม่กี่คน แต่ก็พยายามจะให้มันมีอินพุตมีเสียงจากชายขอบของชายขอบอีกทีบ้าง (คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มันก็ชายขอบในวง IGF อยู่แล้ว แล้วภาคประชาสังคมมันก็ชายขอบของชายขอบไปอีกที) สำหรับประเทศไทยจะตัวแทนจากเครือข่ายพลเมืองเน็ตไปด้วย เขาก็เลยนัดกันว่า วันเสาร์นี้ เจอกันที่วาวีละกัน มาคุยกัน ใครสนใจอยากจะแลกเปลี่ยน เผื่อฝากประเด็นอะไรไปที่เวทีนี้ ก็ฝากได้ หรือใครอยากจะเข้าร่วมแบบทางไกล ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ IGF เขาจะเตรียมไว้ให้ วันเสาร์นี้ก็มีเวิร์กช็อปเล็ก ๆ แนะนำเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ด้วย เป็นการเตรียมตัวเตรียมพร้อม ใครสนใจก็เชิญนะครับ อีกเรื่อง อย่างที่เราก็ได้เห็นมาแล้ว ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาในกรุงเทพ…
-
เวที ประชาธิปไตย ประชาชน
ไทยพูด – เวทีประชาธิปไตยประชาชน (วปช.) เวทีประชาธิปไตยประชาชน (วปช.) เป็นเวทีที่รวบรวมและเชื่อมโยงประเด็นการปฏิรูปสังคมและการเมืองจากเครือข่ายภาคประชาชนทุกส่วน รวมทั้งเป็นเวทีร่างรัฐธรรมนูญภาคประชาชน เพื่อเสริมพลังในการขับเคลื่อนผลักดันประเด็นเหล่านี้สู่หลักการของรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ นโยบายและการปฏิบัติ ทั้งนี้โดยการสร้างกระแสทางสังคมผ่านกิจกรรมและสื่อต่างๆ เวทีประชาธิปไตยประชาชน จะไม่เข้าไปก้าวก่ายกิจกรรมของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว แต่จะเป็นเวทีภาคประชาชนอีกเวทีหนึ่งที่พร้อมที่จะร่วมมือและประสานงานกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนทุกส่วนอย่างเสมอภาค thaipood.com อัปเดต: 2011.01.11 โครงการไทยพูดได้ยุติลงไปแล้ว และ เกิดใหม่ ในชื่อ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw (อ่านว่า ไอ – ลอ)