-
เมื่อโลกใหม่ดิ้นรนจะบังเกิด และโลกเก่ากำลังตาย ?
Anthropology News Volume 51, Issue 4, April 2010 ปีที่แล้วนี่เอง เป็นฉบับว่าด้วย “มานุษยวิทยาและวารสารศาสตร์” วันจันทร์ที่ผ่านมา [16 พ.ค.] ไปงาน Public forum: Reflection for the Thai Media in the post-2010 political violence เป็นเวทีสาธารณะจัดโดย สมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ร่วมกับสมาคมนักข่าวฯ และสถาบันข่าวอิศรา มีหลายคนพูดถึงจริยธรรมสื่อ ถึงเรื่อง objectivity ที่ “เป็นมาตรฐาน” ของสื่อมวลชน บางคนก็ว่าจริยธรรมมันต้องมีจริยธรรมเดียว จะสื่อเก่าสื่อใหม่ก็ตาม ไม่งั้นก็ไม่ใช่สื่อมวลชน เป็นสื่อเฉพาะกลุ่ม เป็น “สื่อเทียม” บางคน (รวมถึงผมเอง) ก็ว่า อย่าเอาคุณค่าที่สื่อเก่าเห็นว่าดีว่าชอบ มาครอบงำกดทับสื่อใหม่ สมชัย สุวรรณบรรณ กรรมการนโยบาย ThaiPBS ที่เพิ่งเขียนบทความเรื่อง “สื่อชนเผ่า”…
-
[review] Doing Ethnographies. (assignment)
ส่งการบ้านวิจารณ์หนังสืออีกแล้ว Doing Ethnographies. โดย Mike Crang และ Ian Cook (Sage Publications, 2007) ด้วยรูปร่างหน้าตาเผิน ๆ เหมือนหนังสือ “ฮาวทู” แต่เมื่ออ่านช่วงต้นก็รู้สึกแว่บว่า “ต่อต้านฮาวทู” จนอ่านต่อก็รู้สึกว่า “อาจจะฮาวทู”, Doing Ethnographies เป็นหนังสือที่ควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ในวาระ วิธี ลำดับ และทิศทางต่าง ๆ กัน. ด้วยการสะกิดผู้อ่านให้นึกถึงทางเลือกยุ่บยั่บย้อนแย้งอยู่ทุกระยะ แครงก์และคุกสองผู้เขียนไม่เพียงแต่เล่าเรื่องราวยุ่งเหยิงในการ(จะไป)ทำชาติพันธุ์วรรณนาที่ไม่ค่อยจะมีใครเล่านัก แต่ยังทำให้เรารู้สึกสับสน อย่างที่เราควรจะรู้ว่ามันจะสับสนอย่างไรในสนาม. ผู้เขียนเสนอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นก็คือตัว ความสัมพันธ์ของมนุษย์ นั้นเอง. ไม่เพียงผู้ไขประตูสู่สนามเท่านั้นที่เป็นมนุษย์ แต่รวมถึงผู้ที่ถูกศึกษาและผู้ศึกษาด้วย, เหล่านี้นำไปสู่ประเด็นจริยธรรมและความเป็นภววิสัยของการศึกษา และสิ่งที่ผู้เขียนย้ำคือ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูลดิบ” ทุกอย่างล้วนถูกประกอบสร้าง-โดยตัวผู้สังเกตก็มีส่วนกำหนด ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีอิทธิพลในการประกอบสร้างข้อมูลดังกล่าวเสมอ และความคิดต่าง ๆ ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความคิดก่อนหน้าอื่น ๆ. จงเป็นมนุษย์ที่ปรับตัวและรู้ตัวในทุกขณะ อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวของหนังสือ “อาจจะฮาวทู” เล่มนี้. บทวิจารณ์ (PDF, 5+1…
-
[review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)
การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…