Tag: education

  • PrachataiNoi Classroom

    ประชาไทน้อย ชวนฟังบรรยาย อนาคตการเมืองไทยหลังประชามติ เชิญชวนนักเรียนข้างถนน ผู้รักการศึกษาตลอดชีวิต และสื่อมวลชน ร่วมฟังบรรยาย ห้องเรียนประชาไทน้อย วิชาสัมมนาการเมืองไทย (สมท101) ปีการศึกษา 2550 ตอน: อนาคตการเมืองไทยหลังประชามติ พุธที่ 15 สิงหาคม 2550 เวลา 13:00-16:00 น. ห้อง 206.2 อาคาร 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ร่วมบรรยาย… คำพร ธุระเจน (นศ. นิติ มธ., ประธานวิชาการ มธ., แฟนพันธุ์แท้ 2004 เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.) ตฤน ไอยะรา (นศ. เศรษฐ มธ.) ชาติชาย แสงสุข (นายกองค์การบริหารนศ. มรภ.นครสวรรค์, สมาชิกสภาร่างรธน.) ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ (นศ. รัฐศาสตร์ จุฬา, แฟนพันธุ์แท้…

  • Requirements

    “…มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา…” — ปรัชญาการตั้งมหาวิทยาลัย จากสุนทรพจน์ของ ปรีดี พนมยงค์ เมื่อวานได้รับไปรษณียบัตรยืนยันที่อยู่ เพื่อสมัครสมาชิกห้องสมุดธรรมศาสตร์ ประเภทบุคคลภายนอก-แบบยืมหนังสือได้ หนึ่งในหลักฐานที่ต้องใช้คือ “หลักฐานการจบการศึกษาปริญญาตรี” ! … อาจารย์ปรีดีจะคิดยังไง ? กำลังจะครบรอบ 75 ปี คณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย เรากำลังจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ “ฉบับยอดมนุษย์” … อาจารย์ปรีดีจะคิดยังไง ? … เมื่อคนเล็กคนน้อย “ประชา” ในทุกพื้นที่ กำลังถูกกันออกจากวงไปเรื่อย ๆ รวมถึง ประชาธิปไตย และมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนมัน technorati tags: Thammasat University

  • Curriki – curriculum wiki

    จากอีเมลกลุ่ม Sun Alumni: Take a look at www.curriki.org <http://www.curriki.org/> , addressing Scott’s interest in supporting education for every child. BTW, is a combination of curriculum and wiki. Curriki เป็นวิกิสำหรับแบ่งปันหลักสูตรการเรียนการสอน – โดยเป็นผลลัพธ์จากโครงการ Global Education and Learning Community ที่ริเริ่มโดย Scott McNealy แห่ง Sun Microsystems ตอนนี้เว็บเข้าไม่ได้ สงสัยมีปัญหา ยังไงลองดูที่เว็บอื่น ๆ พูดถึง Curriki ละกัน ว่าเค้าว่ากันว่ายังไงบ้าง: eSchool News: Curriki offers new…

  • Higher Education and Expectations — Doesn’t it too much ?

    พี่มหาถามโดนใจอีกแล้ว: ความคาดหวังจากภาคธุรกิจต่อมหาวิทยาลัย — มากไปไหม? ที่ว่าผิดคือผมคิดว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้มีหน้าที่ รับใช้ ภาคธุรกิจ พอโรงงานของท่านใช้โปรแกรม ก. ไก่ นักศึกษาของเราก็ต้องใช้โปรแกรม ก. ไก่ เป็น พอโรงงานของท่านใช้โปรแกรม ข. ไข่ นักศึกษาของเราก็ต้องใช้โปรแกรม ข. ไข่ เป็น ไม่ต้องพูดถึงว่าภาคธุรกิจของท่านเคยตอบแทนอะไรให้สังคม หรือแม้แต่แบ่งปันอะไรให้มหาวิทยาลัยบ้าง ไม่เกี่ยวกันนัก … … จบจากมหาวิทยาลัยผลิตช่างเทคนิค เข้าทำงานในโรงงานผลิตสินค้าและบริการ ผ่านไปสามปี เข้าเรียนโรงเรียนผลิตผู้บริหาร อีกสองปีเลื่อนขั้นเป็นผู้จัดการ บลา บลา บลา… ในขณะที่ภาคธุรกิจต้องการเด็กจบใหม่ที่ทำงานเทคนิคได้ทันที โครงสร้างองค์กรกลับไม่สนับสนุนให้มีความเจริญก้าวหน้าในสายงานเทคนิคได้นัก เราได้นักบริหารห่วย ๆ และสูญเสียช่างเทคนิคดี ๆ กันทุกวัน เราเป็นต้นไม้ที่โตตาม ไม้ค้ำ กรอบ ฯลฯ และนับวันกรอบเหล่านั้นดูเหมือนจะมากขึ้นและซับซ้อนขึ้น และถึงวันหนึ่ง เราก็พบว่า — เราสูญเสีย ความหลากหลาย ไปตั้งแต่ตอนไหนกัน technorati tags:…

  • KaosPilot: Entrepreneurial Profile 2

    from the book “KaosPilot A-Z – 2nd Edition” Entrepreneurial Profile 2 The school today is inspired by the seven “entrepreneurial motivation profiles” developed by our own students in conjunction with students from the European Studies department of the University of Aarhus. The identification of these seven archetypes was the main conclusion of a large innovation…

  • KaosPilot: Entrepreneurial Profile 1

    from the book “KaosPilot A-Z – 2nd Edition” ลอกตอนเช้า ก่อนจากกัน มิเชลบอกว่าสัปดาห์หน้าที่จะถึงนี้ จะไปเดนมาร์ก และจะได้พบกับ Uffe Elbæk ผู้ก่อตั้ง KaosPilot Entrepreneurial Profile 1 When looking for new students at the KaosPilots we go for those who already have an entrepreneurial profile or the potential to develop one. Because without the fundamental qualities that are prerequisites for operating as…

  • KaosPilot A-Z

    มาเชียงใหม่คราวนี้ มาพักบ้าน มิเชล เบาเวนส์ (thanks!) มิเชลแนะนำหนังสือให้เล่มหนึ่ง ชื่อ KaosPilot A-Z ระหว่างพาเข้าไปดูห้องทำงานของเขา และชั้นหนังสือมโหฬารนั่น KaosPilot A-Z เป็นหนังสือเกี่ยวกับโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า KaosPilot ผมยังไม่ได้อ่านตลอดเล่ม เพียงเปิดผ่าน ๆ เท่านั้น หนังสือเล่มเขื่อง หนาและหนัก แม้จะเต็มไปด้วยรูปประกอบ และการจัดวางที่น่าอ่าน ก็ยังไม่รู้จะบริโภคมันให้หมดอย่างไรดี (ในคำนำเอง ก็แนะนำไว้ว่า ไม่มีวิธีอ่านที่ถูกต้องสำหรับหนังสือเล่มนี้หรอก จะใช้มันเป็น หนังสืออ้างอิงก็ได้ หนังสือภาพก็ได้ เช็คลิสต์ก็ได้ … จะใช้แบบไหนก็เอาเถอะ) เท่าที่เข้าใจ โรงเรียนแห่งนี้ เป็นโรงเรียนประเภท “ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” (คำฮิตเมื่อสองสามปีก่อนในบ้านเรา ในชื่อ “child-centered” — และภายหลังเด็กผู้หญิงคนหนึ่งแทงใจว่าหรือมันจะคือ “ควาย-centered” ?!) Uffe Elbæk ครูใหญ่ของโรงเรียนแห่งนี้ (เพิ่งออกจากตำแหน่งนี้ไปเมื่อ ค.ศ. 2006 เพื่อไปเป็นประธานบริหารของ KaosPilots International Board) ก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น…

  • Knowledge Commons

    (ควันหลง/เก็บตกจากงาน Hakuna Matata Night โดย TRN และกลุ่มอาสาสมัครเพื่อสังคมอื่น ๆ เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา แถวข้าวสาร – ผมไปเสนอเรื่อง Creative Commons แบบเบลอ ๆ – เค้าบอกให้มีแต่รูป เราทำมีแต่ตัวอักษรไป!) update (2007.05.07): ดาวน์โหลดสไลด์ได้ที่ bact’ bazaar นอกจากสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ open content แล้ว มากไปกว่านั้น Open Education Movement ยังเสนอ หลักสูตร แนวทาง นโยบาย แนวคิด และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการกว้าง ๆ คือ: ความรู้จะต้องฟรีและเปิดให้ใช้/นำกลับมาใช้ได้ การร่วมมือกันจะต้องง่ายขึ้น คนที่มอบอะไรให้กับการศึกษาวิจัย ควรจะได้รับการมองเห็นและคำชื่นชม แนวคิดและความคิดนั้นโยงร้อยกันในวิธีที่เราไม่ได้คาดคิด และไม่ได้เป็นเส้นตรงอย่างที่เห็นในหนังสือเรียน โอเพ่นเอดูเคชั่นให้คำสัญญาที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างถึงแก่นทั่วโลก ในวิธีที่ผู้เขียนหนังสือ ผู้สอน และผู้เรียน แลกเปลี่ยนโต้ตอบกัน เรื่องนี้มีผู้สนใจทั่วโลก…

  • Arsom Silp Institute of the Arts and Development

    มีเพื่อนจะไปเรียน วันนี้เพิ่งถามรายละเอียดมา สถาบันอาศรมศิลป์ หลักสูตรที่เพื่อนจะไปเรียนคือ สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) Master of Architecture (Community and Environmental Architecture) ลงมือพร้อมเรียนรู้ น่าสนใจไหม? โครงการจัดตั้งสถาบันอาศรมศิลป์ ภายใต้การสนับสนุนของของมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคณะทำงานที่มีประสบการณ์ในสายงานศิลปะและวัฒนธรรมหลากหลายสาขา ด้วยความมุ่งหวังที่จะสรรค์สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางศิลปะในแขนงต่างๆ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางประสานงานเครือข่ายศิลปินและนักวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรมจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์อันหลากหลาย อันจะนำไปสู่การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาวิชาชีพทางศิลปะต่อไป โครงสร้างบางส่วน (ดูฉบับเต็ม): สำนักวิชาการ – จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอุดมศึกษา สำนักวิชาเสกขศิลป์ (ศึกษาศาสตร์ การเรียนการสอนแบบบูรณาการ) สำนักวิชาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สำนักวิชาสหศาสตร์ – วิจัย บริการวิชาการและวิชาชีพ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมอวิจารณ์ พูดถึง อาศรมศิลป์ แชทกะเพื่อนอยู่ สถาปัตยกรรมคืออะไร (ในความหมายชุมชนและสิ่งแวดล้อม) มันว่าพื้นที่ที่เปิดให้มีกิจกรรมร่วมกัน งั้น ไซเบอร์สเปซ ก็ได้ดิ ได้มะ? technorati tags: Arsom…

  • OER Commons

    Open Educational Resources (OER) ทรัพยากรการศึกษาเปิดสำหรับทุกคน มีเนื้อหาตั้งแต่ระดับประถมถึงอุดมศึกษา ใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons technorati tags: Creative Commons, education

Exit mobile version