Tag: discourse analysis

  • oh your highness "highly educated" PAD

    จากข่าว พันธมิตรฯ ฮุสตัน ต้อนรับ “หมัก” อบอุ่น, ผู้จัดการออนไลน์, 6 พ.ย. 2551 : “… ทั้งนี้ เมืองฮุสตัน มลรัฐเทกซัสถือเป็นเมืองหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีพันธมิตรฯ หนาแน่นมากเมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทยที่มีการศึกษา เป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ พนักงานบริษัท เป็นต้น” หรือพูดง่าย ๆ ว่า เป็นเมืองที่ไม่ค่อยมี “บาบูน” นั่นเองครับ (เหมาะแก่การอยู่อาศัยของพันธมิตรเป็นอย่างยิ่ง) technorati tags: PAD, education, language

  • Corpus-Related Research

    สาขาวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์จากคลังข้อความได้ เช่น ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ วัฒนธรรมศึกษา และ การวิเคราะห์วาทกรรม ใน Linguistics of Political Argument: The Spin-Doctor and the Wolf-Pack at the White House [gbook], Alan Partington รองศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยคาเมรีโน ประเทศอิตาลี ได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างทำเนียบขาวกับสื่อ โดยการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์จากคลังข้อความ ซึ่งประกอบไปด้วยสรุปคำแถลงข่าวประมาณ 50 ชิ้นในช่วงปีท้าย ๆ ของการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีคลินตัน โดยหัวข้อนั้น มีตั้งแต่เรื่องในโคโซโวไปจนถึงเรื่องความสัมพันธ์คลินตัน-เลวินสกี งานชิ้นนี้ไม่เหมือนใครก่อนหน้า ตรงที่มันทำให้เราเห็นว่า เราสามารถนำเทคโนโลยี concordance (การแสดงคำที่กำหนดในบริบทต่าง ๆ) และหลักฐานทางภาษาศาสตร์อย่างละเอียด มาใช้ในการศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวาทกรรม ทั้งในตัวบทและกลวิธีการสื่อสารของผู้พูดได้-อย่างไร Tony McEnery and Andrew Wilson, Corpus Linguistics, Edinburgh…

  • discourse/information/communication people

    จดกันลืม บุคคลน่าสนใจ สาวิตรี คทวณิช คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ discourse analysis; critical discourse analysis; language and politics นคร เสรีรักษ์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกระบวนการธรรมรัฐไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) Freedom of Information and Privacy Protection in Thailand วราภรณ์ วนาพิทักษ์ มาตรการการจัดการการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.) สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ cultural studies technorati tags: people, freedom of information, discourse analysis

  • Language and Politics

    ถ้าการเมืองเป็นเรื่องโต้วาที (ประชด) … แบบนี้ ภาษา ก็สำคัญน่ะสิ พิชญ์​ ​พงษ์สวัสดิ์: ครอบครัว​ ​ภาษา​ ​กับ​การเมือง​ไม่​ใช่​เรื่องที่​ไกล​กัน​ ​จอร์จ​ ​เลคคอฟ​ (George Lakoff) การเมืองอเมริกัน รีพับลิกัน เดโมแครต ระบบคุณค่า ภาษา และ การกำ​หนดกรอบ​ความ​หมาย ชาวมะกันนั้นมิได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามผลประโยชน์ของตัวเอง แต่การลงคะแนนมีความหมายว่าเขา “เลือกที่จะเป็นใคร” โดยที่เขาเหล่านั้นเลือก “คุณค่า” บางอย่าง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่บรรดาชาวมะกันหัวก้าวหน้าจะต้องกล้าพูดและสื่อสารในเรื่องของคุณค่า และคุณธรรม ของพวกเขา มิใช่พูดแต่เรื่องข้อมูลและข้อเท็จจริง ด้วยวิธีคิดเช่นนี้ การยึดครองสื่อนั้นจึงไม่สำคัญเท่ากับความสามารถใน “การสื่อสารคุณค่า” ซึ่งสำคัญกว่า “การสื่อสารความจริง” เพราะความจริงจะไม่มีความหมาย ถ้าเราไม่มี “กรอบ” ให้ความจริงนั้น “ถูกแปลค่า” ออกมา ตะกี้เจอโดยบังเอิญ: ที่นิด้า มีอาจารย์ที่สนใจเรื่อง ภาษาศาสตร์/การเมือง ด้วย — Dr. Savitri Gadavanij Sangma — ตัวอย่างงานตีพิมพ์:…

  • Noam Chomsky: Collateral Language

    เราเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ว่า เราสามารถควบคุมความคิดของสาธารณชนได้ เราสามารถควบคุมทัศนคติและความคิดเห็น ตรงนี้แหละที่ลิปป์มันน์บอกว่า “เราสามารถปั้นแต่งมติมหาชนได้ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ” ส่วนเบอร์เนย์ส์บอกว่า “สมาชิกในสังคมที่มีสติปัญญามากกว่าสามารถต้อนประชาชนไปในทิศทางไหนก็ได้ตามต้องการ” ด้วยสิ่งที่เขาเรียกว่า “วิศวกรรมมติมหาชน” เขาบอกว่า นี่แหละคือ “หัวใจของประชาธิปไตย” บทสัมภาษณ์นอม ชอมสกี : ภาษาชวนเชื่อ “เกี่ยวกับสื่อ การโฆษณาชวนเชื่อ และการจูงใจให้ทำสงคราม เทคนิคที่สหรัฐอเมริกันเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญสูง” เหมือนกับเหตุการณ์ช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมารึเปล่า ? … จริง ๆ แล้วก็ตลอดช่วงอายุการเมืองไทย , และที่อื่น ๆ ล่ะ “หาเสียง” นอม ชอมสกี นี่เป็นคนที่น่าทึ่ง ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรก็ทำได้ดีไปหมด และไม่ใช่ดีธรรมดา แต่ดีถึงขั้นมีอิทธิพลต่อสาขานั้น ๆ เลยทีเดียว เรียกว่าเป็น จอห์น ฟอน นอยมันน์ ของวงการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รึเปล่า ? แนว ๆ นั้น