Tag: cultural hegemony

  • พระราชดำรัสและคติพจน์เหมาเจ๋อตุง

    ไอเดียการเผยแพร่พระราชดำรัส ยกโควตมาออกอากาศช่วงข่าวภาคค่ำ และในโอกาสต่างๆ นี่เหมือนกับการพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “คติพจน์เหมาเจ๋อตุง” (毛主席语录) ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหนังสือขายดีอันดับ 2 ของโลก รองจากไบเบิล

  • ReadCamp started (some how), call for SELF-organization 😉

    คอนเซปต์ของ ReadCamp หรือ “กางมุ้งอ่าน” ก็ยังตามที่ทวีตคุย ๆ กัน และที่โพสต์ถามลงใน Culture Lab คือจะเป็นงานลักษณะ unconference ทำนอง BarCamp ที่ชวนผู้ร่วมงานมาเสนอเรื่องการ “อ่าน” แล้วก็แลกเปลี่ยนกัน อ่าน หนังสือ. อ่าน หนัง. อ่าน เพลง. อ่าน โปสเตอร์. อ่าน โฆษณา. อ่าน เสื้อยืด. อ่าน พฤติกรรม. อ่าน trend. อ่าน วัฒนธรรม. อ่าน ปุ่มบนไมโครเวฟ user interface. อ่าน ตึก สถาปัตยกรรม. อ่าน การ์ตูน. อ่าน ภาพวาด งานศิลปะ. … … นั่นคือ เป็น “อ่าน” ในความหมายที่กว้างที่สุดนั่นเอง. ทั้งการอ่านตามตัวบท ตีความ…

  • What is an alternative media ?

    บางทีเราอาจจะต้องดีใจในบางขณะ ที่เราอยู่ในสถานะถูกควบคุมคุกคามเช่นนี้ เพราะนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า เรายังเป็นสื่อทางเลือกอยู่ และไม่ได้ลืมความเป็นตัวตนของเราไป บางทีการเป็นสื่อทางเลือก อาจจะหมายถึง การทำให้ตัวเองอยู่ในฐานะหมิ่นเหม่ ท้าทาย “เป็นตัวปัญหากับความคิดกระแสหลัก” อยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ก็เป็นได้ เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าย ไม่ได้เป็นสิ่งจำเพาะใด ๆ เป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นศาสนจักร สถาบัน วิทยาศาสตร์ ท้องถิ่น หรือโลกาภิวัฒน์ แต่สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าท้าย ก็คือสิ่งที่เป็น “ปกติ” “ธรรมชาติ” ในสังคม ในวันที่ศาสนจักรมีอำนาจเหนือสังคม สื่อทางเลือกคือเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้กล้าตายที่ประกาศว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างโลก มนุษย์กำหนดชะตากรรมตนเองได้ พวกเขาเป็นตัวปัญหาของสังคม หลายคนถูกตราหน้าว่าเป็นพวกนอกศาสนานอกรีต และถูกเผาทั้งเป็น เวลาผ่านไป ในวันหนึ่ง วันที่วิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นวาทกรรมที่มีอำนาจเหนือสังคม สิ่งที่สื่อทางเลือกเสนอก็จะไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกต่อไป แต่เป็นคุณค่าที่วิทยาศาสตร์ได้กดทับมัน ในชื่อที่ผู้คนเหล่านี้สร้างคุณค่าใหม่ให้มันอีกครั้ง ในชื่อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” และในวันที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ได้กลายเป็นวาทกรรมหลักในสังคม ก็เป็นหน้าที่ของสื่อทางเลือกนี้แหละ ที่จะท้าทายภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ด้วยชุดวาทกรรมท้าทายใหม่ ๆ ทั้งหมดนี้เพราะอะไร ก็เพราะภารกิจของสื่อทางเลือกนั้น ไม่ใช่อะไรมากไปกว่า การเสนอทางเลือกให้กับสังคม “นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้าม นักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน”…

  • May Oh May

    เวียนวน เวียนวน เวียนวน… เจตนารมณ์ “พฤษภาฯ 2535” (ยังเหลืออยู่?) ฉายซ้ำ ฉายซ้ำ ฉายซ้ำ… คานนส์กับ “Mai 68” technorati tags: change, resist

  • YouTube – "This video is not available in your country"

    YouTube ถูกเซ็นเซอร์ครับ เป็นการเซ็นเซอร์ตัวเอง (self-censorship) ของ YouTube ซึ่งก็อย่างที่เราทราบ เป็นไปตามข้อตกลงของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงไอซีที กับทางกูเกิล ที่ทางรัฐบาลไทยสามารถร้องขอให้ทาง YouTube ปิดการแสดงวิดีโอชิ้นใดก็ได้ … วิเศษครับ This video is not available in your country. Oh, thank you for reminding me that I’m in Thailand. http://youtube.com/watch?v=70m1ncXQjXA No matter what it is, the question is that, why I can’t judge it myself whether I want to see it…

  • Syndrome and a Century Thailand’s Edition statement-screening – 10 Apr

    Syndrome and a Century Thailand’s Edition statement-screening Thursday, April 10, 2008 20:00 @ Paragon Cineplex, Siam Paragon with film freedom exhibition and talks ขอเชิญเล่นเกมส์ตอบคำถาม ชิงบัตรชมภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ ฉบับ Thailand’s Edition รอบปฐมทัศน์ วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายนนี้ เวลา 20.00 น. ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน [หมายเหตุ: Thailand’s Edition (ฉบับ “ไทย ๆ”) จะมีการเซ็นเซอร์อย่างหนักหน่วง 6 ฉาก ซึ่งผู้กำกับยืนยันที่จะไม่นำช่วงที่ถูกเซ็นเซอร์ออกไป แต่จะแทนที่ด้วย “ความมืด” แทน เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ร่วมกันอย่างชัดเจนว่า มี “บางอย่าง”…

  • Language is What Culture Looks Like

    Typographics อนิเมชันโดย Boca (a.k.a. Marcos Ceravolo) และ Ryan Uhrich หลักสูตรออกแบบดิจิทัล Vancouver Film School ในตอนต้นของหนัง มีคำพูดนี้: “Typography is What Language Looks Like” — Ellen Lupton Ellen Lupton เป็นนักออกแบบกราฟิก นักเขียน ภัณฑารักษ์ และนักการศึกษา เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มนักออกแบบ 33 คน ที่ร่วมลงชื่อในคำประกาศ First Things First 2000 manifesto (อ่าน) ซึ่งเป็นการตั้งคำถามถึง คุณค่า ของการออกแบบ นักออกแบบควรจะคำนึงถึงคำถามทางสังคมการเมืองหรือไม่ นักออกแบบควรจะวิพากษ์และประกาศจุดยืนในงานของตัวเองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น จะไม่โฆษณาสินค้าหรืออุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายต่อสังคม ซึ่งนี่คือคำถามที่นำไปสู่คำถามในเชิงต่อสู้ที่ว่า นักออกแบบและการออกแบบ จะต้านทาน cultural hegemony การครอบงำผูกขาดทางวัฒนธรรม หรือไม่ อย่างไร Thinking with…

  • Noam Chomsky: Collateral Language

    เราเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ว่า เราสามารถควบคุมความคิดของสาธารณชนได้ เราสามารถควบคุมทัศนคติและความคิดเห็น ตรงนี้แหละที่ลิปป์มันน์บอกว่า “เราสามารถปั้นแต่งมติมหาชนได้ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ” ส่วนเบอร์เนย์ส์บอกว่า “สมาชิกในสังคมที่มีสติปัญญามากกว่าสามารถต้อนประชาชนไปในทิศทางไหนก็ได้ตามต้องการ” ด้วยสิ่งที่เขาเรียกว่า “วิศวกรรมมติมหาชน” เขาบอกว่า นี่แหละคือ “หัวใจของประชาธิปไตย” บทสัมภาษณ์นอม ชอมสกี : ภาษาชวนเชื่อ “เกี่ยวกับสื่อ การโฆษณาชวนเชื่อ และการจูงใจให้ทำสงคราม เทคนิคที่สหรัฐอเมริกันเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญสูง” เหมือนกับเหตุการณ์ช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมารึเปล่า ? … จริง ๆ แล้วก็ตลอดช่วงอายุการเมืองไทย , และที่อื่น ๆ ล่ะ “หาเสียง” นอม ชอมสกี นี่เป็นคนที่น่าทึ่ง ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรก็ทำได้ดีไปหมด และไม่ใช่ดีธรรมดา แต่ดีถึงขั้นมีอิทธิพลต่อสาขานั้น ๆ เลยทีเดียว เรียกว่าเป็น จอห์น ฟอน นอยมันน์ ของวงการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รึเปล่า ? แนว ๆ นั้น