Tag: contemporary arts

  • เข้านอก ออกใน วัฒนธรรมศึกษา หลังนวยุค งานหนังสือ

    วันนี้ไปงานหนังสือ ตอนไปตั้งใจว่าจะซื้อแค่เล่มเดียว คือ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 (ประชา สุวีรานนท์; สำนักพิมพ์อ่าน; 2552) (อ่านบทวิจารณ์เล่มแรก โดย สุภาพ พิมพ์ชน, @Duangruethai, @birdwithnolegs, ฯลฯ) สุดท้ายตัดสินใจ ยังไม่ซื้อ ดีไซน์+คัลเจอร์ 2 ด้วยเหตุอยากจำกัดงบไม่ให้บาน และคิดว่าไว้ซื้อวันหลังได้ วันนี้เลยขอเฉพาะหนังสือที่คิดว่า คงหาซื้อตามร้านที่ปกติจะไป-ไม่ได้ พวกหนังสือเก่า หนังสือจากสำนักพิมพ์เล็ก ๆ (ซึ่งผมคิดว่า นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่ง[หรือหนึ่งอย่าง?]ของงานหนังสือ ผมได้รู้จัก สถาบันสถาปนา ก็จากงานหนังสือสมัยคุรุสภานี่แหละ เขาเอามาเลหลังลดราคา) ได้สามเล่มนี้มา: ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ บรรณาธิการ; ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร; 2552) เล่มที่ 3 ในชุด ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มนี้มีบทความของ ธีระ นุชเปี่ยม, ชาตรี ประกิตนนทการ, วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล, นิติ ภวัครพันธุ์…

  • "Nothing To Say" "ไม่มีอะไรจะพูด" silent films screening – 31 Oct at Pridi Institute

    ไม่มีอะไรจะพูด โครงการพิเศษเกิดขึ้นโดยกลุ่มศิลปินแขนงต่าง ๆ มากกว่าห้าสิบคน อาทิ ผู้กำกับหนัง (ทั้งในระบบและอิสระ), นักวาดภาพประกอบ, ศิลปินภาพถ่าย, นักเรียนหนัง, ครูหนัง, นักวิชาการ, นักเขียน, นักวิจารณ์หนัง, บล็อกเกอร์, นักแสดง, นักดนตรี, ผู้กำกับละครเวที, ศิลปินทัศนศิลป์และสื่อผสม จัดฉายวิดีโอเงียบบนกำแพงตึก เกี่ยวข้องกับสังคม และการเมือง เพื่อสะท้อนภาพความคิดของศิลปินในฐานะประชาชนชาวไทย ที่มีต่อสภาพบ้านเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยได้รับความร่วมมือจาก สถาบันปรีดี พนมยงค์ และมูลนิธิหนังไทย โดยในครั้งที่ 1 นี้ จะแสดงบนกำแพงภายในตึกสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์: ศิลปกับสังคม ครบรอบ 35 ปี 14 ตุลาคม 2516 (เทศกาลนี้มีวันที่ 18 ต.ค. – 2 พ.ย. 2551) โดยโครงการ ไม่มีอะไรจะพูดนี้ จะจัดแสดงครั้งแรก ในวันที่ 31 ต.ค.…

  • hauntedness management

    ว่าจะไปอยู่ ท่าจะเจ๋ง เชิญร่วม เสวนา “ศิลปะร่วมสมัยกับการจัดการประวัติศาสตร์” (กรณี 6 ตุลา 19) อาทิตย์ 6 ก.ค. 2551 9:30-17:00 น. @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ และ นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “อดีตหลอน” (’76 Flash Back) 2-23 ส.ค. 2551 @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ งานนี้ริเริ่มโดยศิลปินภาพถ่าย มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย/การแสดงชุด “Pink Man” (ตัวอย่าง) รายละเอียดเพิ่มเติม ดูที่บล็อกคนป่วย technorati tags: contemporary arts, October 6, history

  • documenta 12

    DOCUMENTA KASSEL 16/06—23/09 2007 anpanpon ก็พูดถึงไปแล้ว เราเองก็อยากไปดู มิถุนา-กันยานี้ ด็อกคูเมนต้าคืออะไร ? วิกิพีเดียเขาว่างี้ (ถ้าแปลผิดก็ช่วยบอกด้วยนะ, จริง ๆ ไปดู ภาษาเยอรมัน ละเอียดกว่า): documenta เป็นงานแสดงศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งของโลก ซึ่งในปัจจุบันจัดขึ้นทุก ๆ ห้าปี ที่เมืองคาสเซิล ประเทศเยอรมนี งานแสดงนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1955 โดย Arnold Bode ซึ่งเป็นศิลปิน อาจารย์ และผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Bundesgartenschau (งานแสดงพืชสวนสหพันธ์) ซึ่งจัดขึ้นที่คาสเซิลในตอนนั้น. งาน documenta ครั้งแรกนั้นถือว่าประสบความสำเร็จ ผิดจากความคาดหมายส่วนใหญ่ เนื่องจากมันแสดงผลงานจากศิลปินซึ่งนับว่ามีอิทธิพลอย่างยิ่งอยู่แล้วในขณะนั้นต่อศิลปะสมัยใหม่ เช่น ปีกัสโซ หรือ วาสสิลี่ คานดินสกี้. ในงาน documenta หลายครั้งล่าสุดจัดแสดงผลงานจากทุกทวีป – อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานสร้างสรรค์ขึ้นมาเฉพาะสถานที่ (site-specific art)…

  • Noir – street art exhibition

    lost in space bkk นำเสนอผลงานชุดใหม่ของ 4 ศิลปินไทย ในนิทรรศการ “Noir” ตะลุยด้านมืดของศิลปะร่วมสมัยและศิลปะแห่งท้องถนนเมืองไทย 4 จิตรกร นักออกแบบ และศิลปินกราิฟิตี้รุ่นใหม่ AUD, TP07, NEVER และ JOB นำเสนองานที่เป็นส่วนผสมของ ศิลปะท้องถนน กับ ทัศนศิลป์ไทยร่วมสมัย ด้วยธีมหลักที่เน้นตัวละคร ทุกชิ้นงานจะพาคุณผจญภัยไปในด้านมืด ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตัวละครและการ์ตูนมังงะ ผลงานที่แสดงเป็นการผสมผสานที่หลากหลาย ทั้งจากปากกามาร์กเกอร์ การทาสี สติ๊กเกอร์ งานนี้จัดโดย Christian Hogue จากกลุ่ม lost in space ลอนดอน 19 ม.ค. – 9 ก.พ. 2550 ที่ ร้าน “ปลาดิบ” 1/1 ซอยอารีย์สัมพันธ์ 7 พหลโยธิน 7 พญาไท กรุงเทพ ร้านเปิดเวลา…

  • contemporary art is on the street

    “ทุกวันนี้คนเสพงานศิลปะมีอยู่แต่เป็นคนหน้าเดิม วงการศิลปะยังต้องสร้างกลุ่มคนดูใหม่โดยการเอางานศิลปะ เข้าไปในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น ที่ผ่านมาเราเอางานศิลปะ ไปแสดงตามจุดที่คนต้องไป อย่างถนนออชาร์ด ห้างสรรพสินค้า โบสถ์คริสต์ โบสถ์จีน โบสถ์พราหมณ์ ศาล สถานที่ราชการ บางงานอาจจะมีแค่วันเดียวจบ บางงานอาจจะมีต่อเนื่อง เพื่อให้คนเข้าร่วมได้มากขึ้น เพราะผู้ชมมีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาศิลปะร่วมสมัย” ชอบและเห็นด้วยกับวิสัยทัศน์ของคุณผู้จัดงาน singapore biennale แฮะ 🙂 ว่า “ผู้ชมมีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาศิลปะร่วมสมัย” สังเกตมาหลายทีเหมือนกันว่า งานไหนที่ผู้ชมมีส่วนร่วมในงาน หรือเป็นส่วนหนึ่งของงาน มักจะทำให้งานนั้นมีรู้สึกมีชีวิตชีวา และเป็นที่จดจำ มากกว่างานที่แสดงอยู่ในสถานที่นิ่งๆ เช่นงาน Nowandthen ที่กรุงเทพฯเมื่อ 3 ปีก่อน งานอย่าง Designmai เมื่อ 2 ปีที่แล้ว .. หรืออย่างล่าสุด Singapore Biennale ปีนี้… anpanpon’s ศิลปะร่วมสมัยแถว ๆ บ้าน technorati tags: art, contemporary art, street, space

  • Optimistic Thailand

    บางกอก โอเค! เชียงใหม่ เยเย! ขอนแก่น ฮูเร! Bangkok-OK! ศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย ในประเทศไทย ข่าวคราวความเคลื่อนไหว กิจกรรมต่าง ๆ ติดตามได้ที่นั่น — คั่นไว้ซะ 😉 [ผ่าน girl friday] tags: art | culture | contemporary | Thailand | Bangkok | Chiang Mai | Khon Kaen

  • Bhirasri Institute of Modern Art

    (เริ่มเขียน 31 ต.ค. และค้าง/ดองไว้) เสาร์ที่ 28 ต.ค. นั่งรถเมล์สาย 47 จากบ้าน จะไปเรียน แต่เลยป้ายไปหนึ่งป้าย มัวแต่ใจลอย … เลยได้เห็นของดี ตั้งใจจะลงป้ายสวนลุม ตรงข้ามตึกอื้อจื่อเหลียง แต่เลยข้ามสะพานไปอีกฝั่งแล้ว ไม่อยากเดินย้อน เลยลองเดินเข้าซอยงามดูพลี เพราะจำได้ว่ามันทะลุไปออกสาทรได้นี่นา เดินมั่วไปมั่วมา ก็ได้เจออาคารเก่า ๆ อยู่หลังนึง … เอ๊ะ นี่มันหอศิลป์เก่านี่นา ตรงนี้มีด้วยเหรอเนี่ย แล้วทำไมมันโทรมจัง .. เลยถ่ายรูปมาหน่อย ตอนถ่ายนี่ ก็กะว่า เดี๋ยวกลับบ้านมาค้นข้อมูลต่อ ว่ามันคืออะไร .. ตามเคย ลืม จนกระทั่งคืนวันจันทร์ Girl Friday ก็บอกขึ้นมา ประมาณว่า นี่ แถวสาทรมันมีหอศิลป์เก่าอยู่อันนะ (ผมเพิ่งบล็อกเรื่อง HOF ART ไป) ในซอยสาทร 1 เราก็ เฮ้ย อันนี้ป่าว…