-
Thailand Punkcore
Thailand Punkcore punk scene ส่วนหนึ่งในเมืองไทย, Oi!Merry แนะนำมาทางเอ็ม มีเพื่อนคนนึงที่เบอร์ลิน ชื่อ “แฮ็ค” ประกาศตัวชัดเจนด้วยเสียงอันดังว่า เป็นพังค์ (พังค์ที่ตาตี่ที่สุดในโลก) วัยรุ่นยุโรปดูจะเป็นพังค์กันเยอะ ดูน่ากลัวในทีแรก แต่ส่วนใหญ่พวกเขารักสันตินะ – peace punk เป็นพังค์ ไม่จำเป็นต้องเป็นอนาธิปัตย์ (anarchist) เป็นอนาธิปัตย์ ไม่จำเป็นต้องเป็นพังค์ แต่สองสิ่งนี้ ก็มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง และมีอิทธิพลต่อกันและกัน เพราะ พังค์ ไม่ได้เป็นแค่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หรือ พังค์ร็อก นี่นา ในบทเพลง หากเราไม่ได้ยินเรื่องราว มันก็คงเป็นเพียงเสียงหนวกหูเท่านั้น Anarcho-punk (อนาธิป-พังค์ ? :P) ที่ ประชาไท มีเรื่อง Anarcho-Punk ให้อ่านกัน (พร้อมแนะนำอัลบั้มของวง Anti-Flag, อ่ะฮ่า นสพ.ออนไลน์ฉบับนี้มีแนะนำเพลงด้วยนะ!!) (via สถาบันต้นกล้า) “ มาถึง Anarcho-punk…
-
Infoshops in Thailand ?
เมืองไทยมี infoshop ที่ไหนมั่ง ? ประชาไทเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอินโฟชอปแห่งหนึ่งในบัลติมอร์: Red Emma’s Bookstore Coffeehouse (บล็อกถึงเมื่อปีที่แล้ว) “อินโฟชอป” นี่ ภาษาไทยเรียกว่าอะไรดี ? … “ร้านเล่า” ได้มะ ? … มีคนใช้แล้วดิ – -“ ร้านข้อมูล ไม่อ่ะ ร้านสาร ร้านข่าว … แงวว social center Street Libraries: Infoshops and Alternative Reading Rooms Infoshop.org เดี๋ยวนะ งี้ อินโฟชอป ขาย โค้ก ได้ป่ะ ? 😛 technorati tags: infoshop
-
Red Emma’s – collective’s infoshop
หนังสือ กาแฟ และอนาธิปไตย … ใน Red Emma’s Bookstore Coffeehouse โดย วิทยากร บุญเรือง เมื่อปี ค.ศ. 2005 ที่ผ่านมา กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยจอห์นสฮอปกินส์แห่งสหรัฐอเมริกา ได้โหวตให้ร้านกาแฟแห่งหนึ่งเป็นร้านยอดเยี่ยมในใจของพวกเขา แน่นอนว่าร้านแห่งนั้นต้องมีอะไรที่โดดเด่นกว่าร้านกาแฟทั่วไป ร้านแห่งนั้นคือร้าน Red Emma’s Bookstore Coffeehouse ซึ่งมีความเป็นร้านหนังสือ ร้านกาแฟ และแหล่งหาความรู้ทางการเมือง ที่คุณก็มิอาจจะสามารถไปเสาะหาได้ในร้านสตาร์บัคส์ 😉 ที่สำคัญร้านแห่งนี้ยังจัดการบริหารแบบ worker ownership ซึ่งทุกคนที่ทำงานในร้านเป็นเจ้าของร้าน และมีส่วนร่วมกันอย่างเท่าเทียม ร้าน Red Emma’s Bookstore Coffeehouse เป็นสถานที่ที่เรียกว่า ‘infoshop’ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของเหล่านักอนาธิปไตย ที่ใช้เป็นจุดนัดพบแลกเปลี่ยน และพักผ่อน จุดเด่นของ infoshop คือมีบริการกาแฟ อาหาร รวมถึงหนังสือแนวอนาธิปไตย (ซึ่งจะขาดไม่ได้เลย) และงานศิลปะอื่น ๆ สำหรับใช้เป็นห้องเรียนของเหล่านักเคลื่อนไหวแนวอนาธิปไตย — เพราะนอกจากที่จะมีการพบปะพูดคุยกันธรรมดาพร้อมด้วยหนังสือ…
-
DIY against the state
จาก ประชาไท: เมื่อวันที่ 26 – 30 กรกฏาคมที่ผ่านมา กลุ่มอนาธิปัตย์ (anarchists) และนักเคลื่อนไหวทางสังคมกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกันจัดกิจกรรม ‘งานสังสรรค์ระดับจักรวาลของคนติดดิน’ (an intergalactic festival of squatters*) ที่เมือง Freiburg ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี (*squatters : กลุ่มคนที่ชอบบุกเข้าไปยึดพื้นที่รกร้างว่างเปล่าของรัฐ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในแบบฉบับของพวกเขาเอง ซึ่งโดยส่วนมากในประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นนักอนาธิปัตย์ที่ท้าทายอำนาจรัฐทุนนิยม , ส่วนในประเทศด้อยพัฒนามักจะเป็นกลุ่มเกษตรกรไร้ที่ทำกิน) ‘DIY against the state festival’ เป็นกิจกรรมที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่หลากหลาย ได้มาพบปะร่วมวงแลกเปลี่ยนและลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ในแนวทางอนาธิปไตย (anarchism) อาทิเช่น การใช้ชีวิตโดยปฏิเสธอำนาจรัฐ (autonomous living), การต่อต้านระบบทุนนิยม, การต่อต่าน – ขัดขืนอำนาจนิยม, การละเล่น – สังสรรค์ทางศิลปะและดนตรีต่างๆ, รวมถึงการฝึกหัดใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองบนสังคมทุนนิยม … (อ่านต่อ) ปีหน้าเขาก็จะจัดกันอีก เวลาเดิม…
-
Anarchism Reader
เรื่องเกี่ยวกับ อนาธิปไตย / การปฏิเสธการถูกควบคุม เกษียร เตชะพีระ “ที่เรียกว่าอนาธิปไตย” ดูหนังอย่างคนป่วย: V for Vendetta: Political is Personal อื่น: แดน บราวน์ นักเขียนอันตราย กลุ่มเครือสหาย : อนาธิปไตยภาคพลเมือง เราจะเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างไรโดยไม่ยึดอำนาจ — “เราเดินด้วยคำถาม” บทสัมภาษณ์จอห์น ฮอลโลเวย์ อนาธิปไตย : การเมืองแบบไร้รัฐ สัมภาษณ์ นอม ชอมสกี : รัฐและบรรษัท คนงานเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต — ยึด ยืนหยัด ผลิต : สหกรณ์คนงานในบูเอโนสไอเรส นาโอมี ไคลน์ รั้วแห่งการกักกัน หน้าต่างแห่งโอกาส นาโอมี ไคลน์ อนาธิปไตย VS เสรีนิยมใหม่ การสำรวจเชิงอนาธิปไตย กรณีเขื่อนปากมูล Wikipedia: อนาธิปไตย /…
-
Let’s kick Racism out of Football
ขอเจาะเรื่องนี้ต่อ เกี่ยวกับ การเหยียดชาติพันธุ์ (racism) ในเกมฟุตบอล หลังจากที่อ่านตัวบทความ รายงานพิเศษ เรื่องราวที่มิอาจมองข้าม การเหยียด ‘สีผิว-ชาติพันธุ์’ (racism) ในเกมฟุตบอล + ความเห็นต่าง ๆ ผมก็ลอง ๆ หาข้อมูลต่อหน่อยนึง จากเว็บ Kick It Out เค้าบอกว่า แฟน ๆ ฟุตบอลที่มีปัญหาเรื่องการเหยียดผิว เหยียดชาติพันธุ์มากที่สุดในยุโรปก็คือ สโมสร Lazio กับ Verona ในอิตาลี, Paris Saint-Germain ในฝรั่งเศส และ Real Madrid กับ Real Zaragoza ในสเปน ก็ตรงกับที่พูดถึงในบทความที่ประชาไท (ดูรายละเอียด และกรณีที่เกิดต่าง ๆ ได้ในตัวบทความนั้น) จากความเห็นของคุณภัควดี (อยู่ท้าย ๆ เลย) พูดถึงมาเตรัซซี: เมื่อปีก่อนหรือ 2-3 ปีก่อน…