-
social problems in Old Town Rome, lecture by Michael Herzfeld
เชิญร่วมการบรรยายพิเศษ “ปัญหาสังคมในเขตเมืองเก่า: กรณีศึกษากรุงโรม” โดย ศ.ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ (Michael Herzfeld) ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม 2551 13:00-16:00 น. ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ตึกคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ศูนย์รังสิต ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ เป็นศาสตราจารย์มานุษยวิทยา และภัณฑารักษ์ชาติพันธุ์วิทยายุโรปประจำพิพิธภัณฑ์พีบอดี ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, ที่ซึ่งเขาสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1991. หัวข้อวิจัยที่สนใจได้แก่ ทฤษฎีสังคม, ประวัติศาสตร์ของมานุษยวิทยา, social poetics, การเมืองของประวัติศาสตร์, ยุโรป (โดยเฉพาะกรีซและอิตาลี) และประเทศไทย. สำหรับประเทศไทยไมเคิลมีผลงานเด่นคือการศึกษาชุมชนป้อมมหากาฬในกรุงเทพ. technorati tags: Michael Herzfeld, Rome, old town
-
different treatments of Mai Yamok in BEST Corpus
In the first release of BEST Word Segmented Corpus (free registration required for corpus download), I found different segmentations for May Yamok (repetition mark): |พร้อม|ๆ| |กับ| |ร้อย|ๆ |ปี| |ทั้งๆ ที่| |ต่างๆ| |ดัง| |ย่อ|ๆ| |ว่า| |ย่อ|ๆ |ว่า| (Real data, taken from encyclopedia_00005.txt. ‘|’ is word/token boundary) These are probably intended. Or inconsistency ? Not quite sure,…
-
hauntedness management
ว่าจะไปอยู่ ท่าจะเจ๋ง เชิญร่วม เสวนา “ศิลปะร่วมสมัยกับการจัดการประวัติศาสตร์” (กรณี 6 ตุลา 19) อาทิตย์ 6 ก.ค. 2551 9:30-17:00 น. @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ และ นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “อดีตหลอน” (’76 Flash Back) 2-23 ส.ค. 2551 @ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ งานนี้ริเริ่มโดยศิลปินภาพถ่าย มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย/การแสดงชุด “Pink Man” (ตัวอย่าง) รายละเอียดเพิ่มเติม ดูที่บล็อกคนป่วย technorati tags: contemporary arts, October 6, history
-
rent a house = high mobility ?
เวลานั่งรถไฟฟ้า นั่งรถไปไหนมาไหน มองเห็นตึกแถวใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่เยอะแยะมากมายในกรุงเทพ ตึกแถวต่าง ๆ น่าจะมีการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ากว่านี้ จะได้ไม่ต้องสร้างตึกใหม่ให้เปลืองทรัพยากร ทำเป็น mixed use ซะ ใช้หลายประสงค์ ถือครองร่วมกันหลายคนหลายครอบครัวหรือเจ้าของตึกแบ่งเช่า ชั้นล่างให้เช่าเป็นร้านค้า/สำนักงาน ชั้นบน ๆ แบ่งชั้นให้แต่ละครอบครัวเช่า ชั้นดาดฟ้าบนสุดใช้ร่วมกัน เป็นลานซักล้าง-ตากผ้า หรือถ้าตึกข้างเคียงจะตกลงเปิดดาดฟ้าต่อกันก็ได้-ทำเป็นลานนั่งพักผ่อน/ทำกิจกรรม (ข้างล่างไม่มีที่) ถ้าจะทำ ต้องปรับปรุงเรื่องประตูเข้าออก ทางขึ้นลง ให้สะดวกกับทุกฝ่าย แบบนี้ ตึกแถวห้องหนึ่งอาจอยู่ได้ถึงสามสี่ครอบครัวเล็ก ๆ ตามลักษณะครอบครัวคนทำงานรุ่นใหม่ในเมือง อีกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ที่จะทำให้เรื่องข้างบนเป็นไปได้มากขึ้น คือ ค่านิยมเรื่อง “เช่าบ้าน = ไม่มั่นคงในชีวิต” น่าจะปรับเปลี่ยนเป็น “เช่าบ้าน = คล่องตัวสูง” มี mobility เคลื่อนย้ายสะดวก ซึ่งน่าจะเหมาะกับลักษณะชีวิตคนทำงานรุ่นใหม่มากกว่า ที่ย้ายสถานที่ทำงานบ่อยครั้ง (ทั้งจากการย้ายองค์กร หรืออยู่ในองค์กรเดิมแต่ต้องเดินทางเปลี่ยนที่ทำงาน) ทั้งตอบสนองความต้องการที่จะมีบ้านอยู่ใกล้ที่ทำงาน เพื่อความสะดวก ลดค่าเดินทาง ประหยัดเวลา เพิ่มคุณภาพชีวิต (สามารถย้ายบ้านตามที่ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องห่วงเรื่องซื้อขายบ้าน หรือทำสัญญาระยะยาว)…
-
[seminar] Personal Data and Risks from e-Government
Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University, will held an open seminar on personal data and risks in the age of e-government on Wednesday, July 9, 2008, 13:00-16:30 @ Room 105, Maha Chulalongkorn building, Chulalongkorn University (near MBK). For more info, please contact Soraj Hongladarom +66-2218-4756 ใครสนใจเรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคล (personal data) และความเป็นส่วนตัว (privacy) และร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังไม่ได้เกิดสักที…
-
[review] Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache (assignment)
การบ้านวิจารณ์หนังสือชิ้นแรก เสร็จแล้ว ส่งไปเมื่อวาน เป็นการเขียนหลังจากอ่านไปประมาณ 60-70% ได้ ข้ามไปข้ามมา ฉบับที่ให้ดาวน์โหลดนี้ แก้นิดหน่อยจากที่ส่งไป เป็นบทวิจารณ์ หนังสือเรื่อง Wisdom Sits in Places: Landscape and Language Among the Western Apache ซึ่งเขียนโดย Keith H. Basso นักมานุษยวิทยาที่สนใจเรื่องชนพื้นเมืองอเมริกัน เอาเข้าจริง ๆ ไม่อยากจะเรียกว่าวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสรุปหนังสือให้ฟังเสียมากกว่า ไม่ได้วิจารณ์อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่การบ้านเขาให้วิจารณ์ แม้เรื่อง “สถานสัมผัส” (sense of place) หรือการที่คนเราจะรับรู้ถึงสถานที่ (place) อย่างไรนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการจะเข้าใจว่าผู้คนและชุมชนจะให้ความหมายและความสำคัญทางสังคมกับสถานที่อย่างไร รวมถึงความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางบุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคม, โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่มีความปั่นป่วนไร้ระเบียบในเรื่องสถานที่มากขึ้น, แต่บาสโซพบว่างานชาติพันธุ์วรรณนากลับไม่ให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งที่ผู้คนทำกับสถานที่เสียเท่าไหร่. งานชาติพันธุ์วรรณนามักพูดถึงสถานที่ในฐานะเพียงตัวผ่านไปสู่เรื่องอื่น แค่ปูพื้นฉากหลัง หรือบอกที่มาของบุคคล สิ่งของ (น. xiv, 105). แนวคิดทางมานุษยวิทยาในหนังสือเล่มนี้ได้รับอิทธิพลจาก…
-
ทฤษฎีเก่า "Old Theory" – Thailand Bill of Rights
(น่าจะเก่าอยู่ล่ะ ตั้ง 76 ปี แล้ว วันนี้วันที่ 24 มิ.ย. ครบรอบการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง) “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา” — หลัก 6 ประการของคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 สิ่งที่ “ทฤษฎีใหม่” และลูก ๆ พอเพียงต่าง ๆ เสนอ คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อาจจะโยงไปได้ถึงเอกราช แต่ขาดเรื่อง เสมอภาค และ เสรีภาพ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่มีใน “ทฤษฎีเก่า” เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา 76 ปีแล้ว ดูเหมือนเราจะยังไปไม่ถึงหลักหกประการนั้นสักที โดยเฉพาะประการที่ 4 และ 5 หลัก 6 ประการของคณะราษฎร จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น…
-
small, yet unneglectable, voices from consumers who don’t want to pay for things they will never use
คุณซาจาล ชาวอินเดียในไทย กำลังเลือกซื้อโน้ตบุ๊กเครื่องใหม่ และพบว่าโน้ตบุ๊กรุ่นต่าง ๆ ที่เขาสนใจนั้นล้วนรวมราคาวินโดวส์มาด้วยแล้ว คุณซาจาลรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับใช้จ่ายค่าไลเซนส์วินโดวส์ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้จะใช้ จึงเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นมาเป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ที่บล็อกของเขา ผมเห็นว่าน่าสนใจ และก็รู้สึกเช่นเดียวกันในตอนเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก จึงขออนุญาตแปลมาเป็นภาษาไทยให้เราอ่านกันครับ โดยตีพิมพ์ลงที่ Blognone: จดหมายเปิดผนึกถึงไมโครซอฟท์และผู้จำหน่ายโน้ตบุ๊กในเมืองไทย มีความเห็นน่าสนใจจำนวนมากที่ Blognone ขอเชิญอภิปรายที่นั่นจะสะดวกกว่าครับ technorati tags: notebook, consumer rights, Windows
-
CiteULike serious-crash course
ในชั้นเรียนเมื่อวันพุธแรกของวิชา อาจารย์แนะนำให้ใช้ EndNote สำหรับเก็บเอกสารอ้างอิง และช่วยเขียนอ้างอิง citation ทำบรรณานุกรม ผมเองซึ่งใช้ EndNote (ของบริษัท Thompson Reuters) ไม่ได้ เพราะมันรันได้เฉพาะบน Windows และ Mac OS X ไม่มีลีนุกซ์ ก็เลยเสนอไปว่า มันมีทางเลือกอย่าง CiteULike (www.citeulike.org) อยู่นะ ซึ่งก็มีความสามารถพวกนั้นเหมือนกัน อาจจะสะดวกไม่เท่าในแง่การผนวกกับ Microsoft Word แต่ก็โอเคนะ (มานั่งนึก ๆ ทีหลัง บางทีทางเลือกนี้คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเท่า EndNote … ถ้าพูดในแง่ราคา ตราบใดที่ยังเป็นนักศึกษาหรือทำงานในมหาวิทยาลัย เขาก็มีสัญญาอนุญาตของมหาวิทยาลัยให้ใช้อยู่แล้ว … ถ้าพูดในแง่ความสะดวกที่อยู่บนเว็บ เดี๋ยวนี้มันก็มี EndNoteWeb ให้ใช้ … แต่ถ้าคิดถึงเรื่องว่า สักวันหนึ่งเราก็คงไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยต่อไป แล้วอยากจะใช้ข้อมูลเก่า ๆ ที่เราเก็บไว้ล่ะ คิดว่าคุ้มไหมที่จะซื้อ EndNote ในตอนนั้น หรือว่าใช้ CiteULike…