-
Language and Politics
ถ้าการเมืองเป็นเรื่องโต้วาที (ประชด) … แบบนี้ ภาษา ก็สำคัญน่ะสิ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์: ครอบครัว ภาษา กับการเมืองไม่ใช่เรื่องที่ไกลกัน จอร์จ เลคคอฟ (George Lakoff) การเมืองอเมริกัน รีพับลิกัน เดโมแครต ระบบคุณค่า ภาษา และ การกำหนดกรอบความหมาย ชาวมะกันนั้นมิได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามผลประโยชน์ของตัวเอง แต่การลงคะแนนมีความหมายว่าเขา “เลือกที่จะเป็นใคร” โดยที่เขาเหล่านั้นเลือก “คุณค่า” บางอย่าง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่บรรดาชาวมะกันหัวก้าวหน้าจะต้องกล้าพูดและสื่อสารในเรื่องของคุณค่า และคุณธรรม ของพวกเขา มิใช่พูดแต่เรื่องข้อมูลและข้อเท็จจริง ด้วยวิธีคิดเช่นนี้ การยึดครองสื่อนั้นจึงไม่สำคัญเท่ากับความสามารถใน “การสื่อสารคุณค่า” ซึ่งสำคัญกว่า “การสื่อสารความจริง” เพราะความจริงจะไม่มีความหมาย ถ้าเราไม่มี “กรอบ” ให้ความจริงนั้น “ถูกแปลค่า” ออกมา ตะกี้เจอโดยบังเอิญ: ที่นิด้า มีอาจารย์ที่สนใจเรื่อง ภาษาศาสตร์/การเมือง ด้วย — Dr. Savitri Gadavanij Sangma — ตัวอย่างงานตีพิมพ์:…
-
Noam Chomsky: Collateral Language
เราเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ว่า เราสามารถควบคุมความคิดของสาธารณชนได้ เราสามารถควบคุมทัศนคติและความคิดเห็น ตรงนี้แหละที่ลิปป์มันน์บอกว่า “เราสามารถปั้นแต่งมติมหาชนได้ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ” ส่วนเบอร์เนย์ส์บอกว่า “สมาชิกในสังคมที่มีสติปัญญามากกว่าสามารถต้อนประชาชนไปในทิศทางไหนก็ได้ตามต้องการ” ด้วยสิ่งที่เขาเรียกว่า “วิศวกรรมมติมหาชน” เขาบอกว่า นี่แหละคือ “หัวใจของประชาธิปไตย” บทสัมภาษณ์นอม ชอมสกี : ภาษาชวนเชื่อ “เกี่ยวกับสื่อ การโฆษณาชวนเชื่อ และการจูงใจให้ทำสงคราม เทคนิคที่สหรัฐอเมริกันเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญสูง” เหมือนกับเหตุการณ์ช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมารึเปล่า ? … จริง ๆ แล้วก็ตลอดช่วงอายุการเมืองไทย , และที่อื่น ๆ ล่ะ “หาเสียง” นอม ชอมสกี นี่เป็นคนที่น่าทึ่ง ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรก็ทำได้ดีไปหมด และไม่ใช่ดีธรรมดา แต่ดีถึงขั้นมีอิทธิพลต่อสาขานั้น ๆ เลยทีเดียว เรียกว่าเป็น จอห์น ฟอน นอยมันน์ ของวงการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รึเปล่า ? แนว ๆ นั้น
-
Constitutionalism : Road Map to … "Citizenless State" ?
Constitutionalism: Road Map to the (Plato) Republic — Somchai Preechasilpakul (Midnight University and Chiang Mai University) on Amorn Chantrasomboon’s Constitutionalism (an important framework for Thailand political reform in 1997) and thoughts for the next political reform. บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 893 (บทความเดียวกันนี้ ตีพิมพ์ในนิตยสาร “ฟ้าเดียวกัน” ฉบับมกราคม-มีนาคม 2549) บทวิพากษ์ “คอนสติติวชั่นแนลลิสม์” ของอมร จันทรสมบูรณ์ Constitutionalism: Road Map สู่อุตมรัฐที่ไร้ประชาชน?*,** โดย ผศ. สมชาย…
-
Democracy is in the Eye of the Beholder (?)
เริ่มจาก อ่าน ขอสนับสนุนฟ้าเดียวกัน และบทบาทของศิลปะในสังคมประชาธิปไตย โดย เคโกะ เซ anpanpon ก็บล็อกเรื่องนี้ … Process Art: ความหมายโดย Tate Online | ความหมายโดย Guggenheim Museum (NY) — ที่หลังนี่ เริ่มต้นให้ความหมายว่า: “ศิลปะกระบวนการ เน้น “กระบวนการ” การสร้างงานศิลปะ (แทนที่จะเป็นการจัดวางหรือผังที่วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว) และความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงและสภาพที่ไม่ถาวร” แล้วก็พูดถึงศิลปินคนสำคัญในแนวนี้ ยกตัวอย่างวิธีการสร้างสรรค์ของแต่ละคน … แต่เหมือนมันจะเกี่ยวกับ(คุณสมบัติของ)วัสดุซะมากกว่า … อืม ถ้าจะโยงไปหาบทความข้างบนสุดนั่น ซึ่งอ้างถึง Process Art ตอนที่ว่า: ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐสภาเยอรมันทำให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับงานศิลปะอย่างดุเดือด เมื่อปีค.ศ. 1994 ตอนที่สภากรุงบอนน์มีการอภิปรายว่า จะอนุญาตให้ศิลปินคริสโตห่อหุ้มรัฐสภาเป็นงานศิลปะได้หรือไม่ งานนี้เป็นโครงการที่ศิลปินเลื่องชื่อท่านนี้ได้วางแผนไว้ตั้งแต่ปี 1975 ผลงานของคริสโตเรียกกันว่าเป็นโพรเซส อาร์ต (Process Art – ศิลปะกระบวนการ) ซึ่งหมายถึงประสบการณ์ในศิลปะของคนดูไม่ใช่เพียงแค่ชื่นชมผลลัพธ์ แต่รวมถึงมีส่วนสำรวจกระบวนการสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นความรู้สึกนึกคิดในใจของตน…
-
(f) Off ?
ตกลง ‘เค้า’ ยังเป็นนายกอยู่ ? ทักษิณกำลังสร้างสถานภาพพิเศษ ? มีอำนาจตัดสินใจ แต่ไม่ต้องรับผิดชอบ เนื่องจากไม่มีตำแหน่ง ไม่รับตำแหน่ง ลดความกดดัน หลบเดินเกมลับ ให้ พล.ต.อ. ชิดชัย เป็นรักษาการ รับหน้าเสื่อ + ซิวพันธมิตร รอกลับมาใหม่สมัยหน้า ? (ผม) มองโลกแง่โคตรร้ายเลยอ่ะ แย่จัง 🙁
-
Hamburg Seminar Notes
Update: ขอเอาลิงก์ออกไปก่อน รออนุญาตจากผู้บรรยาย Update: ผู้บรรยาย เงียบ สืบเนื่องจากงาน เสวนา “วิกฤติทักษิณและอนาคตการเมืองไทย หลังการเลือกตั้ง เมษายน 2549” เมื่อวานนี้ (8 เมษา) ตามคำขอ ผมทำบันทึกเอาไว้ ไม่สมบูรณ์นัก คงตกหล่นไปหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลัง ๆ ซึ่งคุยกันเร็วมาก ตามไม่ค่อยทัน แต่คิดว่าก็น่าจะเป็นประโยชน์บ้าง ดาวน์โหลดได้ที่นี่เลยครับ: บันทึกการเสวนา “วิกฤติทักษิณและอนาคตการเมืองไทย หลังการเลือกตั้ง เมษายน 2549” (รุ่น 3, 10 หน้า) OpenDocument Text (ต้นฉบับ) | PDF (อ่านอย่างเดียว) หมายเหตุ: บันทึกนี้ ไม่ได้เป็นการบันทึกคำพูดแบบคำต่อคำ ประเด็นต่อประเด็น และไม่ได้รับการตรวจสอบ/ตรวจทานจากผู้บรรยายแต่อย่างใด ผู้จัดทำพิมพ์บันทึกนี้ระหว่างการเสวนาทันที และมีหลายประเด็นที่ไม่ได้รับการบันทึก ถูกข้ามไป สาเหตุใหญ่เนื่องจากพิมพ์ไม่ทัน (เครื่องบันทึกเสียงที่บันทึกไว้ก็ถ่านหมด หลังจากการเสวนาเริ่มไปได้ประมาณ 50 นาที – และคุณภาพเสียงแย่กว่าที่คิด…
-
homework
ทำการบ้่าน… ธงชัย วินิจจะกูล : ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา ธีรยุทธ บุญมี : เข้าใจสังคมไทย และ 4 ปัญหาที่ต้องแก้ไข วิทยากร เชียงกูล : 30 ปีหลังยุค “ฉันจึงมาหาความหมาย” สังคมไทยเรียนรู้อะไรบ้าง ? สุริยะใส กตะศิลา : วิวาทะ “ปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2”: ตั้งโจทย์อาจยากกว่าหาคำตอบ
-
Friday Talk with Dr. Somkit
ไม่ใช่ จาตุศรีพิทักษ์ นะ 🙂 ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และศาสตราจายร์ด้านกฎหมายมหาชน ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมาเบอร์ลิน และวันศุกร์ที่จะถึงนี้ ตอนเย็น ๆ ถ้าเกิดว่ามีคนสนใจก็มีการเสวนาการเมืองกัน เวลา สถานที่ ยังไม่รู้ ถ้าใครสนใจจะมา ก็ตามข่าวจากเว็บบอร์ดละกันครับ จะเอาอะไรไปคุยกะเค้าเนี่ย ไปนั่งฟังอย่างเดียวละกัน 😛 หรือใครมีคำถามอยากฝาก เดี๋ยวจะลองไปถามดูให้ 🙂 วันศุกร์เจอ อ.สมคิด ที่นี่ วันเสาร์ไปเจอ อ.ปริญญา ที่ฮัมบวร์ก (คนนี้ก็กฎหมายมหาชน) … ทำหยั่งกะไปท่าพระจันทร์-รังสิต ! (ขาดก็แต่สาว ๆ อ่ะนะ)
-
We shouldn’t forget anything.
TIME.com: Thailand Leader’s Surprising Exit “We have no time to quarrel,” “I want to see Thai people unite and forget what has happened.” — Prime Minister Thaksin Shinawatra Yep, we have no time to quarrel (but if it necessary, we would have to). Yep, we should unite. Definitely agree. But, nope, we shouldn’t forget anything…
-
to Hamburg this Sat (8)
เสวนา “วิกฤติทักษิณและอนาคตการเมืองไทย หลังการเลือกตั้ง เมษายน 2549” วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2549 เวลา 10.00 – 13.00 ณ. ห้อง 221 Asien-Afrika-Institut (AAI), Universität Hamburg more info มีเพื่อนที่นี่ไป ก็เลยจะไปด้วย เพิ่งรู้ว่ามันอยู่ไม่ไกลจากเบอร์ลิน (โง่ภูมิศาสตร์อีกเช่นเคย) อยากเจอ อ. ปริญญา อีกรอบด้วย 10.00 — บรรยาย “วิกฤติทักษิณและอนาคตการเมืองไทยฯ” โดย ดร. ปริญญา เทวานฤมิตกุล 11.00 — พูดคุยซักถามสถานการณ์บ้านเมือง กับ ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ และคณะอาจารย์ธรรมศาสตร์ (มีใครอยู่แถวนั้นวันนั้นมั่งอ่ะ? คุณพี่จอยต้องเลี้ยงลูกอ๊ะป่าว? :D) Update: อ. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ก็จะมาที่เบอร์ลิน…