-
doubleplusgoodblog
โอ้ย ผมชอบเค้ามากเลยอ่ะ ShadowServant ไม่เคยอ่านอะไรเลยนะ แค่เห็นลิงก์ทางขวามือของบล็อกเค้า: Minitrue Miniluv Minipax Miniplenty (now expelled to Eurasia) จร๊าบบส์ส์ เอ แต่อังกฤษนี่มันอยู่ใน Oceania ไม่ใช่เหรอ 😀 (เอาน่ะ ขำ ๆ .. เอ๊ะ เค้าอาจจะหมายถึง ฮ่องกง ก็ได้) ชื่อข้างบนทั้งหมด 4 อันนั่น เป็นชื่อกระทรวงของรัฐ Oceania ในนิยาย 1984 Miniluv นี่ก็คือ Ministry of Love ที่เขียนสั้น ๆ อย่างนั้น ก็เพราะมันเป็น Newspeak (ที่เคยพูดถึงเมื่อไม่นานมานี้) แบบฝึกหัด: ดูชื่อกระทรวงใน 1984 ด้านบนนั่น แล้วคลิก ดูซิ ว่าเราจะได้เว็บอะไรออกมา… Censorship is the…
-
on YouTube
ตอบเมลในลิสต์ WOICT (เรื่องบล็อก YouTube) เอาลงในนี้ละกัน คิดว่าน่าจะโอเค Hi, For me, as an indivisual Thai, yes, I feel very uncomfortable with the King mocking clip. Anyway, blocking the whole website is not a joke. I’m in a sorry state to see MICT cannot deal with the issue with minimum side-effects (they may already tried to do their…
-
Taisoc
ที่โอเพ่นออนไลน์มีบทความใหม่ ประเด็นร้อนตอนนี้ merveillesxx : เมื่อกองเซ็นเซอร์ดับ “แสงศตวรรษ” – หนัง เซ็นเซอร์ เรทติ้ง ยูทูบ ซีเอ็นเอ็น ยุกติ มุกดาวิจิตร : Online-phobia – สังคมออนไลน์ รัฐ ชาติ การควบคุม ยูทูบ ไอซีที สนธยา ทรัพย์เย็น : แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) แสงสะท้อนความอัปยศอดสูของชนเผ่าสยาม – ภาษาหนัง (update) เดือนก่อน อ่านภาคผนวกของ 1984, เรื่อง Newspeak (นิวสปีก) เจ๋งดี (ตัวนิยายยังไม่ได้อ่านหรอกนะ ข้ามมาอ่านภาคผนวกเลย) ผมว่ามันทำได้จริง ๆ นะ ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดมาก (อย่างน้อยนักภาษาศาสตร์และนักจิตวิทยาส่วนหนึ่งก็เชื่อเช่นนั้น) เช่นเวลาเราคิด เราคิดเป็นภาษารึเปล่า ? มันอาจจะไม่เสมอไป บางคนอาจแย้ง แต่ส่วนใหญ่แล้ว…
-
New Generations
‘ขัดขืนอารยะ : พลังคนหนุ่มสาว’ และรอบโลกการต่อสู้ 25 – 31 มีนาคม 2550 วิทยากร บุญเรือง, ประชาไท พนักงาน Airbus ในแคว้นเวลส์ตอนเหนือหยุดงาน, พนักงาน Air Senegal หยุดงานเรียกร้องเพิ่มค่าแรงและสวัสดิการ, วัยรุ่นฝรั่งเศสปะทะกับตำรวจที่สถานีรถไฟในปารีส, ตำรวจชิลีจับกุมนักศึกษาประท้วงถึง 475 คน, นักศึกษา BYU เตรียมประท้วงการมาเยือนของ Dick Cheney ในรอบปี 2006 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปีที่ขบวนการนักศึกษาเพื่อสังคมประชาธิปไตย (Students for a Democratic Society : SDS) ทั่วโลกเติบโตเบ่งบานขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะการคืนชีพอย่างสมเกียรติทั่วของขบวนการนักศึกษาที่มีแนวทางค่อนไปทางฝ่ายซ้าย ที่ต่อต้านนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ (neoliberal economic policies) และต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา (U.S. Empire) … ในสหรัฐอเมริกา ขบวนการนักศึกษาฝ่ายซ้ายเหล่านี้เป็นหัวหอกในการต่อต้านนโยบายการรุกราน ตะวันออกกลางของจักรวรรดินิยมอเมริกาอย่างแข็งขัน ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านการยึดครองอัฟกานิสถานและอิรัก การต่อต้านที่รัฐบาลอเมริกันสนับสนุนรัฐบาลอิสราเอลกระทำย่ำยีชาวเลบานอน และปาเลสไตน์…
-
Nation-State and the Netizen
เราสามารถนำคำอธิบายความขัดแย้ง ระหว่าง รัฐ (state) กับ ชาติ (nation, กลุ่มคน) มาใช้อธิบายความขัดแย้งระหว่าง รัฐ กับ ชาว(เผ่า)อินเทอร์เน็ต ได้ไหม ? ชาวอินเทอร์เน็ตบางส่วน มีคุณค่าพื้นฐานที่ยึดถือร่วมกันอยู่ เช่น netiquette, open-source culture, hacker ethic และเป็นลักษณะที่ข้ามเขตพรมแดน เลยขอบเขตของรัฐออกไป (แฮกเกอร์เวียดนามก็ยึดถือคุณค่าเดียวกับแฮกเกอร์ญี่ปุ่น เป็นต้น) อย่างนี้แล้ว แม้ชาวอินเทอร์เน็ตกลุ่มนั้นจะไม่ถึงขนาดนับเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ได้ แต่เราจะเรียกว่า เผ่า (tribe) จะพอไหวไหม ? Netizen ? แล้วกรณีที่รัฐพยายามจะเข้ามาจัดการจัดระเบียบอินเทอร์เน็ต (รวมถึงการเซ็นเซอร์) ก็คือการที่รัฐพยายามจะมามีอำนาจเหนือชาติ (อินเทอร์เน็ต) ส่วน(คนใน)ชาตินั้นก็พยายามจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง แต่ความพยายามของรัฐ จะประสบความยากลำบากอย่างหลีกหนีไม่พ้น เพราะเครื่องมือของรัฐนั้น มีขีดจำกัดอำนาจอยู่แค่ในเขตแดนของรัฐเท่านั้น ในขณะที่ชาติครอบคลุมเกินไปกว่า นึก ๆ เรื่องนี้ขึ้นมาได้ ระหว่างอ่าน รัฐ-ชาติกับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่ โดย…
-
Nipples and the Citizen Power
… ในฐานะที่เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีในอดีต <คุณสุวิทย์ คุณกิตติ> ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า “ คุณต้องยอมรับว่า ไม่ว่าคุณจะพยายามบล็อกอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีใดก็ตาม คุณไม่มีวันทำได้สำเร็จ ถ้าเราปิดเว็บไซต์ไปสักแห่งหนึ่ง ใครๆ ก็สามารถหาพร็อกซี่เพื่อเข้าถึงมันจนได้ การเซ็นเซอร์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำร้ายประชาชน ทำร้ายรัฐบาล และยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ” ท่านยังกล่าวด้วยว่า แทนที่จะเซ็นเซอร์ ทางที่จะแก้ปัญหา [การใช้อินเทอร์เน็ตแบบผิดๆ] เป็นทางแก้ทางสังคม – ให้การศึกษา, ศีลธรรม, สำนึกทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อที่ประชาชนจะได้ตัดสินใจอย่างรอบรู้เอง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ได้ดีเพียงไร ข้อสรุปอันแรกที่ผมอยากย้ำไว้ก็คือ คนไทยต้องเลี้ยงลูกเอง เลิกคิดที่จะให้รัฐเลี้ยงลูกแทนเสียที เพราะถ้าคิดอย่างนั้นหอบลูกไปทิ้งไว้หน้าสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าของรัฐดีกว่า นอกจากนี้ควรเข้าใจด้วยว่าอำนาจที่รัฐได้มาจากการปกป้องสายตาเด็กจากหัวนมผู้หญิงนั้น รัฐได้ใช้มันไปในทางฉ้อฉลเพื่อบดบังความรับรู้ของประชาชนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐ หรือข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นภัยต่อกลุ่มอำนาจด้วย เว็บที่ถูกกระทรวงไอซีทีบล็อกนั้นไม่ได้มีแต่เว็บโป๊ แต่รวมถึงเว็บอื่น ๆ ที่มีข้อความซึ่งผู้มีอำนาจเห็นเป็นอันตรายต่อตัวด้วย ดาบศีลธรรมนั้นบั่นรอนทั้งศีลธรรมและเสรีภาพทางอื่น ๆ ไปพร้อมกัน บั่นรอนศีลธรรมเพราะทำให้มนุษย์ไม่พัฒนาตนเองให้ใช้วิจารณญาณของตนเอง จึงไม่อาจศีลธรรมได้จริง บั่นรอนเสรีภาพเพราะข้อมูลข่าวสารที่เรารับรู้ถูกตัดตอนจนทำให้เสรีภาพเหลือเพียงเสรีภาพที่จะทำตามคำสั่งของเบื้องบน ผมไม่ได้หมายความว่ารัฐไม่มีประโยชน์นะครับ ตรงกันข้าม รัฐสามารถช่วยครอบครัว, โรงเรียน, สื่อ, ชุมชน และสังคมได้มาก (เพราะกระจุกทรัพยากรจำนวนมากของเราทั้งหมดไว้จัดการเอง) ในอันที่จะเพิ่มสมรรถภาพทางหัวใจของเราก็จะเผชิญกับโลกที่เป็นจริง แต่ต้องไม่ปล่อยให้รัฐถือดาบศีลธรรมเที่ยวฟาดฟันอย่างโง่ๆ…
-
Political Games
น่าเล่นไหม ? 🙂 ไพ่การเมือง เกมวงเวียนประชาธิปไตย เกมเลือกตั้ง สื่อการศึกษา โดย สถาบันนโยบายศึกษา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ technorati tags: games, politics, education
-
(keep) watching the Cyber Crime Bill
ดูสิว่าไปถึงไหนกันแล้ว สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ ครั้งที่ 11/2550 technorati tags: Internet censorship, Internet, cyber-crime bill
-
Thai Wikipedia is Failing
คุณ Patiwat จุดประเด็นเอาไว้ (ผมขออนุญาตแปลไว้ตรงนี้): บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ที่ชื่อ “Wikipedia is Failing” [วิกิพีเดียกำลังล้มเหลว] ทำให้ผมต้องพิจารณาอย่างหนักว่า วิกิพีเดียไทยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง. ผลลัพธ์นั้นชวนหดหู่. โปรดสังเกตว่าบทความดังกล่าวนั้น ไม่ได้ ชื่อว่า “Wikipedia Can Improve” [วิกิพีเดียยังพัฒนาได้]. ผู้เขียนได้บอกเป็นนัยว่าปัญหาเชิงระบบและปัญหามูลฐานนั้นคือต้นเหตุแห่งความล้มเหลว. นี่คือการพิจารณาชั้นต้นในตัวชี้วัดที่พอเทียบเคียงได้ในวิกิพีเดียไทย. ไปอ่านข้อเขียนนี้+ความเห็นจากชาววิกิพีเดียอื่น ๆ ได้ที่ “วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว” สำหรับผมแล้ว ปัญหา “สองมาตรฐาน” (double standard) คือปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของวิกิพีเดียไทย สองมาตรฐาน เช่น บางครั้งก็เข้มงวดกับกฎเกณฑ์ บางครั้งก็ผ่อนปรน โดยที่ไม่แน่ชัดว่า อะไรคือหลักในการพิจารณาว่าเมื่อไรถึงจะเข้มหรือจะผ่อน หรือเนื้อหาลักษณะเดียวกัน แต่เขียนโดยคนละคน กลับได้รับการเพ่งเล็งปฏิบัติแตกต่างกัน ฯลฯ ความอัปลักษณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในวิกิพีเดียไทยตอนนี้ ผมเห็นว่ามีรากฐานมาจากปัญหา (ทัศนคติ?) ดังกล่าวทั้งสิ้น และปัญหานี้เองที่จะทำให้วิกิพีเดียค่อย ๆ เสื่อมลงได้อย่างเป็นระบบ ทำไมผมจึงเห็นว่า มันเป็นกระบวนการเสื่อมลงอย่างเป็นระบบ ?…