Category: Media

  • ‘Censorship’ 2.0 : RoyalVDO.com – an organized User-DUPLICATED Content campaign

    ดูคำชักชวนและวิธีการ ใน RoyalVDO.com ที่เชิญชวนให้คนนำวีดิโอเกี่ยวกับในหลวงไปอัปโหลดตามที่ต่าง ๆ เยอะ ๆ เพื่อเป็นการ “ถวายงาน” แก่ในหลวงท่านแล้ว ก็เห็นว่าควรจะเขียนอะไรบางอย่าง ก่อนที่อะไร ๆ มันจะบิดเบี้ยวเลยเถิดไปหมดในสังคมนี้ … แม้แนวคิดโดยรวมของ RoyalVDO.com นั้น “เชื่อได้ว่า” คงจะมีเจตนาดี ผมพบว่ามัน “เกินพอดี” ไปหน่อย … จากหน้า เกี่ยวกับ ของเว็บไซต์ดังกล่าว : หากมีคนไทยจำนวนหนึ่ง ช่วยกัน DownLoad คลิปวิดีโอ แล้วนำไป UpLoad เข้าใน YouTube หรือเว็บ อื่นๆ วันละตอน สองตอน หรือมากกว่า จนรวมกันได้มาก เป็นหมื่น เป็นแสน หากจะมีการสืบค้น โดยใช้คำ ว่า King Thai หรือ King of Thailand หรืออื่นๆ ก็จะพบเป็นหมื่นเป็นแสนเรื่อง…

  • The most terrifying thing is what people do want

    “Television is the first truly democratic culture – the first culture available to everybody and entirely governed by what the people want. The most terrifying thing is what people do want.” “โทรทัศน์เป็นวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่แท้จริงอย่างแรก – วัฒนธรรมอย่างแรกที่ทุกคนเข้าถึงได้และทั้งหมดดำเนินไปโดยสิ่งที่ผู้คนต้องการ. สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือสิ่งที่ผู้คนต้องการจริง ๆ.” — Clive Barnes on Television (New York Times, December 30, 1969) สิ่งน่ากลัวที่ว่านั้น ไปได้ทุกที่ รวมถึงในสื่อนฤมิตและอินเทอร์เน็ตด้วย ที่ตายกันบนถนน ก็ไม่ได้เป็นผลมาจาก “สิ่งที่ผู้คนต้องการ” หรือไง ?…

  • rt @shelisrael The Power of ReTweeting

    power of retweeting in action – พลังรีทวีต ในสถานการณ์ put #pad, #thaigov, or #thpol tag in your tweets about recent conflicts on Bangkok street. they will appear in bangkok51.morphexchange.com (similar to election.twitter) ใส่แท็ก #pad, #thaigov, หรือ #thpol ในทวีตของคุณเกี่ยวกับสถานการณ์พันธมิตรล้อมสภา ทวีตเหล่านั้นจะไปปรากฏใน bangkok51.morphexchange.com วันนี้เพิ่งตามทวิตเตอร์ ของ @mediabistro (ซึ่งเจอจากการตามทวิตเตอร์ของอีกคน) ก็ได้เจอลิงก์ที่น่าสนใจอันนี้: The Power of ReTweeting เลยขอถอดความมาให้อ่านกันครับ. อาจจะพอให้เราจินตนาการเชื่อมโยงทวิตเตอร์ ในฐานะเครื่องมือสื่อพลังสังคม (social media). สั้น ๆ…

  • New Blood, New Media in the New City

    ไปเชียงใหม่มาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน มีงานสัมมนาเกี่ยวกับสื่อใหม่/สื่อนฤมิต* จัดโดยคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจอคนเยอะแยะ เดินทางสู่ผู้คน เลยงอกออกมาเป็นดูโอคอร์ตอนพิเศษ อย่างน่าดีใจ ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ channel.duocore.tv/new-media-in-chiang-mai ขอบคุณทีมงานคณะการสื่อสารมวลชน + CAMT ทีม minimal gallery ขลุ่ย เมฆ ชา และพี่ปูคนขับรถที่พาเราไปทุกที่ บรรยากาศเชียงใหม่เปลี่ยนไปนิดหน่อย ที่ช้างคลานผมเห็นร้านที่เคยไปปิดลง หลายร้านบนถนนนั้นก็ปิดด้วย คนที่นั่นว่ามันไม่บูมเหมือนสองปีก่อน ที่มีงานพืชสวนโลก แต่รวม ๆ มันก็ยังเป็นเชียงใหม่นั่นแหละ ไม่ได้ต่างจากเดิม จริง ๆ ที่ไหน ๆ มันก็เปลี่ยนทั้งนั้น และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอ เหมือนใครซักคน (วิชา?) พูดระหว่างฝนตกหน้าร้าน minimal “คนที่บอกว่าปายเปลี่ยนไปไม่ดีเลย ก็คนเชียงใหม่คนกรุงเทพนั่นแหละ คนปายเขาชอบ” หรือที่แพทว่า “คนเชียงใหม่ไม่รู้หรอกว่านิมมานเปลี่ยนไป คนเชียงใหม่เขาไม่ได้มานิมมาน มีแต่คนกรุงเทพแหละที่มาเที่ยว” ใช่ หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงมันโหดร้าย แม้กระทั่งกับ “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ไปนอนบ้านริมน้ำ ซื้อของตลาดน้ำ ตกค่ำ ๆ ก็นั่งเรือไปดูหิ่งห้อย…

  • What is an alternative media ?

    บางทีเราอาจจะต้องดีใจในบางขณะ ที่เราอยู่ในสถานะถูกควบคุมคุกคามเช่นนี้ เพราะนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า เรายังเป็นสื่อทางเลือกอยู่ และไม่ได้ลืมความเป็นตัวตนของเราไป บางทีการเป็นสื่อทางเลือก อาจจะหมายถึง การทำให้ตัวเองอยู่ในฐานะหมิ่นเหม่ ท้าทาย “เป็นตัวปัญหากับความคิดกระแสหลัก” อยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ก็เป็นได้ เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าย ไม่ได้เป็นสิ่งจำเพาะใด ๆ เป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นศาสนจักร สถาบัน วิทยาศาสตร์ ท้องถิ่น หรือโลกาภิวัฒน์ แต่สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าท้าย ก็คือสิ่งที่เป็น “ปกติ” “ธรรมชาติ” ในสังคม ในวันที่ศาสนจักรมีอำนาจเหนือสังคม สื่อทางเลือกคือเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้กล้าตายที่ประกาศว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างโลก มนุษย์กำหนดชะตากรรมตนเองได้ พวกเขาเป็นตัวปัญหาของสังคม หลายคนถูกตราหน้าว่าเป็นพวกนอกศาสนานอกรีต และถูกเผาทั้งเป็น เวลาผ่านไป ในวันหนึ่ง วันที่วิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นวาทกรรมที่มีอำนาจเหนือสังคม สิ่งที่สื่อทางเลือกเสนอก็จะไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกต่อไป แต่เป็นคุณค่าที่วิทยาศาสตร์ได้กดทับมัน ในชื่อที่ผู้คนเหล่านี้สร้างคุณค่าใหม่ให้มันอีกครั้ง ในชื่อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” และในวันที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ได้กลายเป็นวาทกรรมหลักในสังคม ก็เป็นหน้าที่ของสื่อทางเลือกนี้แหละ ที่จะท้าทายภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ด้วยชุดวาทกรรมท้าทายใหม่ ๆ ทั้งหมดนี้เพราะอะไร ก็เพราะภารกิจของสื่อทางเลือกนั้น ไม่ใช่อะไรมากไปกว่า การเสนอทางเลือกให้กับสังคม “นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้าม นักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน”…

  • [seminar] Personal Data and Risks from e-Government

    Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University, will held an open seminar on personal data and risks in the age of e-government on Wednesday, July 9, 2008, 13:00-16:30 @ Room 105, Maha Chulalongkorn building, Chulalongkorn University (near MBK). For more info, please contact Soraj Hongladarom +66-2218-4756 ใครสนใจเรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคล (personal data) และความเป็นส่วนตัว (privacy) และร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังไม่ได้เกิดสักที…

  • 21 should-says about the thing that should be able to say but it is now the shouldn’t

    ประวิตร โรจนพฤกษ์: 21 ข้อสังเกตเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ที่ถูกหยิบใช้กันอย่างสะดวกมือ เหมือนวางอยู่ในเซเว่น อย่างกรณี เทพไท เสนพงศ์ ประชาธิปัตย์ เหมา 29 เว็บไซต์ ว่าหมิ่นฯ) technorati tags: lese majeste, Thailand, politics

  • Blackhat Democrats (again)

      เทพไท เสนพงศ์ (ประชาธิปัตย์) อย่ามั่ว   technorati tags: blackhat, SEO, Democrats

  • open letter to media

    5 พฤษภาคม 2551 เรียน ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนที่เคารพ ขณะนี้มีร่องรอยว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่อันตรายจากความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจทรุดลงเป็นความรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้คือ สื่อมวลชน ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แม้ต่างกันคนละขั้วก็ยังเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ตัวความแตกต่างนั้นเองมิได้เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรง ตราบเท่าที่ความแตกต่างสามารถปะทะขัดแย้งกันได้อย่างสันติตามกระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางศาล และกระบวนการทางปัญญาผ่านสื่อและเวทีวิชาการ หากเมื่อใดที่กระบวนการเหล่านั้นไม่ทำงาน หรือกลายเป็นปัจจัยยุยงส่งเสริมความเกลียดชังเสียเอง ความแตกต่างก็จะกลายเป็นความรุนแรง คนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบสื่อและสื่อที่ไม่รับผิดชอบกำลังส่งผลกร่อนทำลายประชาธิปไตยสังคมไทยใน 3 ทางดังนี้ 1. สร้างความโกรธแค้นเกลียดชัง ปลุกปั่นสถานการณ์เสียเอง 2. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นกระบอกเสียงของฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างสุดหัวใจ ให้ร้ายใส่ความคู่ต่อสู้ด้วยเล่ห์เพทุบายสารพัด 3. ทั้งหมดนี้ดำเนินไปขณะที่ ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนเฉยเมยต่อการละเมิดจรรยาบรรณสองประการข้างต้น หรือทำตัวลู่ตามลม เลือกปฏิบัติปกป้องเฉพาะพวก ลงโทษเฉพาะฝ่าย สิ่งที่ดูจะหายไปในแวดวงสื่อมวลชนไทยที่ทำการทั้ง 3 ประการข้างต้น คือ มาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ที่ต้องเคร่งครัดกับหลักการ ความเที่ยงธรรม และความรับผิดชอบที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ และสูงกว่ากระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่าง ๆ เมื่อประกอบกับอำนาจที่มากขึ้นทุกวัน ผลก็คือสื่อมวลชนของไทยจำนวนหนึ่งกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ใช้อำนาจทำร้ายผู้ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ โดยที่คนในวิชาชีพด้วยกันไม่กล้าทักท้วงตรวจสอบ สื่อมวลชนเช่นนี้นอกจากจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยแล้ว ยังกลับจะเป็นโทษอีกด้วย เพราะก่อความโกรธ หนุนความหลง และใช้เหตุผลเพียงเพื่อเอาชนะ ส่งผลโน้มน้าวสาธารณชนอย่างผิด ๆ และที่สุดสามารถจุดชนวนให้ความแตกต่างทางความเชื่อและความคิดเห็นกลายเป็นความรุนแรง…

  • me(dia)

    มีเพื่อนส่งลิงก์นี้มาให้ดู น่าเสียดาย…เว็บประชาไท (ผู้จัดการออนไลน์) ในนั้นเขาว่า เขา “เปิดโปง” เบื้องหลังคนสนับสนุนประชาไท ผมก็งง ๆ ข้อมูลทั้งหมด เขาก็มีเผยแพร่ไว้ใน เกี่ยวกับประชาไท ตั้งนานแล้วนี่นา อย่างน้อยก็มากกว่าหนึ่งปีล่ะ ที่ผมเคยกดดู – มันเรียกว่าเปิดโปงตรงไหนนะ เรื่องรสนากับปลื้ม ผมก็งง ๆ – เอ เขานับ “ส่วนใหญ่” กันยังไงนะ ลองอ่านดูในความเห็นท้ายข่าว มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่านี่นา เรื่องมีคนมา “รุมด่ารสนามากกว่าปลื้ม” (แน่นอนว่ามีคนตั้งคำถามต่อท่าทีกระทบกระเทียบของรสนา ว่าไม่จำเป็นต้องพูดไปถึงวงศ์ตระกูลของปลื้มเขาเลย) ผมก็คงบอกแทน คิดแทนคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็ลองดูข้อมูลจากหลาย ๆ ที่ละกันครับ สื่อ/แหล่งข่าว/บล็อก ๆ หนึ่งไม่สามารถมีข้อมูลที่รอบด้านได้ และก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น แต่สื่อหลาย ๆ ที่ หลาย ๆ มุมมอง รวมกัน ก็สามารถที่จะให้ข้อมูลที่รอบด้านขึ้นได้ นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงต้องรักษาเสรีภาพและความหลากหลายของแหล่งข่าวเอาไว้ ให้สามารถเสนอหลายมุมมอง เสนอหลายแนวคิดที่แตกต่างกันได้ ผมคิดว่าสำหรับสื่อต่าง…

Exit mobile version