-
YouTube blocked (again)
ท่อตันอีกแล้วจ้า~ ยูตูบถูกบล็อกอีกแล้ว ฮิ้ว~ ไอเลิฟมายคันทรี่อะล็อต ลงชื่อ เรียกร้องให้รัฐไทยยุติการปิดกั้นเนื้อหาอินเทอร์เน็ต (ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเชีย) technorati tags: Internet censorship, YouTube, Thailand
-
STOP Internet Censorship
หยุดเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต! (ซะที) ร่วมลงชื่อที่ คณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) http://thailand.ahrchk.net/fact_petition/ ใครที่เคยลงชื่อที่ FACThai.wordpress.com ไปแล้ว สามารถลงชื่อที่AHRC ได้อีกทีนะครับ 🙂 technorati tags: Internet censorship, Thailand, free speech
-
your children will be next… :p
WordPress.com ถูกปิดกั้น[โดยไอเอสพี] (ดู ปกป้อง.คอม, iTeau) ตามด้วย GotoKnow ถูกปิดกั้น[โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ] (ดู จันทวรรณ, และกรณีก่อนหน้านี้) ตามด้วย (ใครจะเป็นรายต่อไป ?) ลงชื่อสนับสนุน คำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้รัฐยุติการปิดกั้นเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต FACT เสนอ “เสรีภาพพลเมือง” ในรัฐธรรมนูญ technorati tags: Internet censorship, free speech
-
Nation-State and the Netizen
เราสามารถนำคำอธิบายความขัดแย้ง ระหว่าง รัฐ (state) กับ ชาติ (nation, กลุ่มคน) มาใช้อธิบายความขัดแย้งระหว่าง รัฐ กับ ชาว(เผ่า)อินเทอร์เน็ต ได้ไหม ? ชาวอินเทอร์เน็ตบางส่วน มีคุณค่าพื้นฐานที่ยึดถือร่วมกันอยู่ เช่น netiquette, open-source culture, hacker ethic และเป็นลักษณะที่ข้ามเขตพรมแดน เลยขอบเขตของรัฐออกไป (แฮกเกอร์เวียดนามก็ยึดถือคุณค่าเดียวกับแฮกเกอร์ญี่ปุ่น เป็นต้น) อย่างนี้แล้ว แม้ชาวอินเทอร์เน็ตกลุ่มนั้นจะไม่ถึงขนาดนับเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ได้ แต่เราจะเรียกว่า เผ่า (tribe) จะพอไหวไหม ? Netizen ? แล้วกรณีที่รัฐพยายามจะเข้ามาจัดการจัดระเบียบอินเทอร์เน็ต (รวมถึงการเซ็นเซอร์) ก็คือการที่รัฐพยายามจะมามีอำนาจเหนือชาติ (อินเทอร์เน็ต) ส่วน(คนใน)ชาตินั้นก็พยายามจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง แต่ความพยายามของรัฐ จะประสบความยากลำบากอย่างหลีกหนีไม่พ้น เพราะเครื่องมือของรัฐนั้น มีขีดจำกัดอำนาจอยู่แค่ในเขตแดนของรัฐเท่านั้น ในขณะที่ชาติครอบคลุมเกินไปกว่า นึก ๆ เรื่องนี้ขึ้นมาได้ ระหว่างอ่าน รัฐ-ชาติกับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่ โดย…
-
Nipples and the Citizen Power
… ในฐานะที่เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีในอดีต <คุณสุวิทย์ คุณกิตติ> ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า “ คุณต้องยอมรับว่า ไม่ว่าคุณจะพยายามบล็อกอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีใดก็ตาม คุณไม่มีวันทำได้สำเร็จ ถ้าเราปิดเว็บไซต์ไปสักแห่งหนึ่ง ใครๆ ก็สามารถหาพร็อกซี่เพื่อเข้าถึงมันจนได้ การเซ็นเซอร์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำร้ายประชาชน ทำร้ายรัฐบาล และยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ” ท่านยังกล่าวด้วยว่า แทนที่จะเซ็นเซอร์ ทางที่จะแก้ปัญหา [การใช้อินเทอร์เน็ตแบบผิดๆ] เป็นทางแก้ทางสังคม – ให้การศึกษา, ศีลธรรม, สำนึกทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อที่ประชาชนจะได้ตัดสินใจอย่างรอบรู้เอง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ได้ดีเพียงไร ข้อสรุปอันแรกที่ผมอยากย้ำไว้ก็คือ คนไทยต้องเลี้ยงลูกเอง เลิกคิดที่จะให้รัฐเลี้ยงลูกแทนเสียที เพราะถ้าคิดอย่างนั้นหอบลูกไปทิ้งไว้หน้าสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าของรัฐดีกว่า นอกจากนี้ควรเข้าใจด้วยว่าอำนาจที่รัฐได้มาจากการปกป้องสายตาเด็กจากหัวนมผู้หญิงนั้น รัฐได้ใช้มันไปในทางฉ้อฉลเพื่อบดบังความรับรู้ของประชาชนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐ หรือข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นภัยต่อกลุ่มอำนาจด้วย เว็บที่ถูกกระทรวงไอซีทีบล็อกนั้นไม่ได้มีแต่เว็บโป๊ แต่รวมถึงเว็บอื่น ๆ ที่มีข้อความซึ่งผู้มีอำนาจเห็นเป็นอันตรายต่อตัวด้วย ดาบศีลธรรมนั้นบั่นรอนทั้งศีลธรรมและเสรีภาพทางอื่น ๆ ไปพร้อมกัน บั่นรอนศีลธรรมเพราะทำให้มนุษย์ไม่พัฒนาตนเองให้ใช้วิจารณญาณของตนเอง จึงไม่อาจศีลธรรมได้จริง บั่นรอนเสรีภาพเพราะข้อมูลข่าวสารที่เรารับรู้ถูกตัดตอนจนทำให้เสรีภาพเหลือเพียงเสรีภาพที่จะทำตามคำสั่งของเบื้องบน ผมไม่ได้หมายความว่ารัฐไม่มีประโยชน์นะครับ ตรงกันข้าม รัฐสามารถช่วยครอบครัว, โรงเรียน, สื่อ, ชุมชน และสังคมได้มาก (เพราะกระจุกทรัพยากรจำนวนมากของเราทั้งหมดไว้จัดการเอง) ในอันที่จะเพิ่มสมรรถภาพทางหัวใจของเราก็จะเผชิญกับโลกที่เป็นจริง แต่ต้องไม่ปล่อยให้รัฐถือดาบศีลธรรมเที่ยวฟาดฟันอย่างโง่ๆ…
-
(keep) watching the Cyber Crime Bill
ดูสิว่าไปถึงไหนกันแล้ว สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ ครั้งที่ 11/2550 technorati tags: Internet censorship, Internet, cyber-crime bill
-
Cameraphone Reports, Tags and Labels, Censorship Code of Conduct
ลิงก์ที่ดองไว้หลายวัน ยังไม่ได้อ่านเลย NYC 911 to Accept Cellphone Pics and Video — จารย์มะนาวน่าจะสนใจ พลเมืองในฐานะหูตาของผู้รักษากฎหมาย .. ไว้อีกหน่อยถ้ามีกล้องมือถือจับภาพ “พับเล็ก ๆ” ตามสี่แยกได้ คงสนุก Labels Not Tags, Says Google — มันต่างกันยังไง ? ฉลาก? กะ ป้าย? – -“ Microsoft, Google Agree to NGO Code of Conduct — เกี่ยวกะเรื่องเซ็นเซอร์ ไมโครซอฟท์กะกูเกิลจะร่วมกันร่างแนวทางปฏิบัติในการเรื่องการเซ็นเซอร์ technorati tags: Google, Microsoft, cellphone, tags, labels, New York
-
Bloggers Handbook in Thai
คู่มือสำหรับบล็อกเกอร์ และนักเคลื่อนไหวไซเบอร์ แปลจาก Handbook for Bloggers and Cyber-dissidents ของ องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Borders หรือ RSF) แนะนำวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเคลื่อนไหวทางสังคม ตั้งแต่วิธีการเลือกเครื่องมือ แนวปฏิบัติ และเทคนิคในการเขียนบล็อกแบบไม่เปิดเผยตัวตน ฉบับภาษาไทย แปลเสร็จแล้วสองบท (จาก 13 บท) วิธีเขียนบล็อกแบบไม่เปิดเผยตัวตน (นิรนาม) วิธีทางเทคนิคในการหลบเลี่ยงการเซ็นเซอร์ ขอขอบคุณ คุณคนชายขอบ ที่ได้กรุณาแปลสองบทแรกให้อย่างรวดเร็ว รวมถึงผู้ร่วมตรวจทานทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย หากท่านใดได้แปลเพิ่มเติม สามารถส่งมาได้ที่ facthai AT gmail.com — ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง [ลิงก์ คู่มือสำหรับบล็อกเกอร์ และนักเคลื่อนไหวไซเบอร์ @ เว็บล็อก กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT)] technorati tags: FACT, Internet censorship, privacy
-
ants’ works
Thaksin Interview on YouTube ยังมีคนตัวเล็ก ๆ ทำงานเล็ก ๆ … คนตัวเล็ก ๆ เยอะ ๆ ทำงานส่วนเล็ก ๆ เยอะ ๆ เป็นงานใหญ่ technorati tags: YouTube, Internet censorship
-
Harvard to Investigate Net Censorship in Thailand
ข่าวสำหรับตีพิมพ์ จาก กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะสืบสวน การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (In English: Harvard University to Investigate Internet Censorship in Thailand) สำหรับเผยแพร่ทันที — 2 มกราคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดจะสืบสวนการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ดร. บอนนี่ โดเฮอตี้ อาจารย์ผู้ดูแลประจำแผนงานสิทธิมนุษยชน ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะเป็นผู้นำทีมคณะนักวิจัยมายังประเทศไทยในช่วงต้นเดือนมกราคม ร่วมกันกับ ศูนย์เบิร์กมานเพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคม (Berkman Center for Internet and Society) ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และโครงการโอเพนเน็ตอินิชิเอทีฟ (OpenNet Initiative) ทีมงานจะทำการสืบสวนประเด็นการแสดงออกอย่างเสรีในประเทศไทย ทีมงานจะพิจารณาการปิดกั้นและคัดกรองเว็บในปัจจุบัน ซึ่งกระทำโดยหน่วยงานรัฐบาลไทยจำนวนหนึ่ง ที่เด่นชัดก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย ทีมงานจะสืบสวนหาความจริงเกี่ยวกับสถานการณ์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกอย่างเสรี และจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในบริบทที่กว้างกว่า เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน เนื่องจากการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยทั้งหมดนั้น…