Category: Rights & Freedom

  • TorPark : A quick Firefox jumps over a lazy watch dog

    Browse anonymously with TorPark. Tor (anonymous Internet connection) + Portable Firefox (Firefox on USB drive) = TorPark .. “Turn any internet terminal into a secure connection.” TorPark เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ขนาดเล็ก (6 MB) สำหรับ Windows ที่ใช้ได้จากยูเอสบีไดร์ฟทันที จุดเด่นของโปรแกรม นอกจากจะไม่ต้องติดตั้ง (ทำให้ไม่ทิ้งร่องรอยการใช้งานไว้บนเครื่อง) แล้ว ยังทำการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรม Tor ซึ่งทำให้การติดตามร่องรอยการใช้อินเทอร์เน็ตทำได้ยาก เราสามารถพก TorPark ใส่ยูเอสบีไดร์ฟไปใช้งานที่อื่นได้ เช่น ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ (ยกเว้นร้านพี่หน่อย ที่ใช้ลีนุกซ์ทั้งร้าน :P) หรือคอมพิวเตอร์สาธารณะตามโรงเรียนและห้องสมุด ขอขอบคุณคุณ (นิรนาม..ละกัน) ที่แนะนำเข้ามาทางอีเมล p.s. It seems…

  • Civil Disobedience 2549

    อารยะแข็งขืน = อารยะขัดขืน = การดื้อแพ่งแข็งขืนแบบอารยะ = การแข็งขืนแบบอารยะ = civil disobedience อารยะแข็งขืน 10 ประการ บทวิเคราะห์: เปิดองค์กรรากหญ้า เปิดแนวรบใหม่รุกไล่ทักษิณ | กรุงเทพธุรกิจ 12 มีนาคม 2549 โฆษกพันธมิตรฯ ชี้ พร้อมดื้อแพ่ง ถ้าใช้ พรก.ฉุกเฉิน | กรุงเทพธุรกิจ 14 มีนาคม 2549 related: การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก

  • The Zeroth Right

    I disapprove of what you say, but I will defend to the death your right to say it. — Evelyn Beatrice Hall ฉันไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณพูด แต่ฉันจะปกป้องจนสุดชีวิต เพื่อรักษาสิทธิ์ของคุณเพื่อพูดสิ่งนั้น — Evelyn Beatrice Hall

  • Sun to open sources UltraSPARC

    ซันประกาศจะเปิดสเปคของซีพียู UltraSPARC รวมถึงรหัส ตัวตรวจสอบ โมเดล และเครื่องมือพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะใช้สัญญาอนุญาตที่ Open Source Initiative รับรอง.. อ่านต่อที่ OSNews สำหรับซีพียูตระกูล SPARC ที่เป็นโอเพนซอร์ส เท่าที่รู้ มี LEON-1 (GPL), LEON-2 (LGPL) ดูเพิ่มได้ที่ dmoz.org OpenCores.org รวบรวมผังโพรเซสเซอร์แบบโอเพนซอร์สไว้เยอะแยะ ทั้ง VHDL และ Verilog มีทั้งสำหรับงานทั่วไป และงานเฉพาะทาง Microprocessor, Crypto core, DSP core, System controller

  • How to keeps your blog under the radar

    CNN — Guide aims to help bloggers beat censors PARIS, France (AP) — A Paris-based media watchdog has released an ABC guide of tips for bloggers and dissidents to sneak past Internet censors in countries from China to Iran. เขียนบล็อกยังไงไม่ให้โดนเซ็นเซอร์ และไม่มีใครรู้ว่าเราเขียน update 2007.05.26: Thai version available – มีฉบับภาษาไทยแล้ว

  • แล้วใครจะกล้า

    เมื่อก่อนสามีเคยเป็นตัวแทนเก็บค่าไฟฟ้าให้การไฟฟ้าแก่งคอย จ.สระบุรี ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 โดยเอาโฉนดที่ดินไปวางค้ำประกันไว้ ทำมาได้เกือบ 2 ปี ต่อมาทางการไฟฟ้าแก่งคอยแจ้งว่าส่งค่าไฟให้ไม่ครบ ขาดไปประมาณ 3 แสนบาท จึงตัดสิทธิ์ไม่ให้เก็บค่าไฟต่อและยังยึดที่ดินซึ่งค้ำประกันไว้ สามีจึงตรวจสอบหาข้อเท็จจริงปรากฏว่าคนใกล้ชิดที่ร่วมทำงานด้วยกัน และเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าบางคน สมรู้ร่วมคิดกันยักยอกเงินค่าไฟที่เก็บได้เอาไปใช้เอง นายปรีชาจึงแจ้งให้การไฟฟ้าแก่งคอยทราบ ทำให้เจ้าหน้าที่บางคนถูกย้ายและถูกตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง จนถึงขณะนี้เรื่องยังไม่เสร็จสิ้น ในช่วงนี้สามีจึงหลบมาเก็บตัวที่กรุงเทพฯมาได้ 6 เดือนแล้ว เพราะเกรงจะได้รับอันตราย มายึดอาชีพเป็นคนขับรถตู้วิ่งระหว่าง อนุสาวรีย์ชัยฯ-ลาดกระบัง ส่วนตนขายผลไม้อยู่ที่ตลาดลาดกระบัง ที่ผ่านมาเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์มือถือ และไม่ยอมติดต่อใครเลย แต่สามียังถูกตามฆ่าจนได้ คิดว่าเป็นเรื่องนี้แน่นอน เพราะตั้งแต่มาอยู่กรุงเทพฯไม่เคยมีเรื่องกับใคร แก๊งงาบค่าไฟโหด ฆ่าปิดปาก 11 มม. ยิงกะโหลก

  • อาลัย..พระนักต่อสู้

    กรุงเทพธุรกิจ 5 กรกฎาคม 2548 “ คดีการปองร้าย พระสุพจน์ สุวโจ พระนักปฏิบัติ กลุ่มเสขิยธรรม แห่ง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มีแนวโน้มว่า จะถูกสรุป ด้วยสำนวนแบบง่าย ๆ ว่าเป็นคดีวิวาทเล็กน้อย ทั้งที่ความจริงแล้ว คดีนี้มีส่วนเชื่อมโยง กับการแย่งชิงทรัพยากร ในเขตลุ่มน้ำฝาง อย่างลึกซึ้ง เพียงแต่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง จะกล้าและเอาจริงแค่ไหน พิษณุรักษ์ ปิตาทะสังข์ เปิดปมปัญหา จากมุมมองของหลายฝ่าย ”

  • แถลงการณ์สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

    ปรับปรุง 2008.05.27: แก้ไขปี พ.ศ. ที่ผิดของรัฐธรรมนูญ เดิมคือ “พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๓๙” แก้เป็น “พ.ศ.๒๕๔๐ มาตรา ๓๙” แถลงการณ์สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เรื่อง การสั่งปิดเว็บไซต์การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ตามที่มีผู้อ้างตัวว่าเป็นสารวัตรอินเทอร์เน็ต สังกัดคณะกรรมการสืบสวนป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการปิดเว็บไซต์ ๒ แห่งได้แก่ เว็บไซต์ www.fm9225.com และเว็บไซต์ www.thai-insider.com โดยอ้างว่าเว็บไซต์ดังกล่าว มีเนื้อหาเข้าข่ายการยุยงให้เกิดความแยกแยกภายในชาติ อันจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ จึงจำเป็นต้องสั่งปิด เพื่อดำเนินการตรวจสอบการจดทะเบียนเว็บไซต์ ว่าดำเนินการโดยถูกต้องหรือไม่นั้น สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ในฐานะสมาคมของผู้ประกอบวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไซต์ในประเทศไทย และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมวิชาชีพผู้แลเว็บไซต์ รวมทั้งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้กรอบแห่งจริยธรรมวิชาชีพ ได้ประชุมหารือคณะกรรมการบริหารสมาคมแล้ว มีความเห็นต่อกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ ๑) สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ยึดมั่นในหลักการให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตามบทบัญญัติมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ดังนั้น การสั่งปิดเว็บไซต์ที่มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ย่อมเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย ตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญมาตรานี้ ๒) การกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารว่า จำเป็นต้องปิดเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นการชั่วคราว เพราะมีเนื้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาตินั้น…

  • จริยธรรมในการรับทุนวิจัย

    เนื่องจากไม่เคยทำงานอยู่ในแวดวงวิจัย (ในระดับบริหาร) ผมเลยไม่ทราบว่า สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษาที่ทำงานวิจัย โดยเฉพาะในบ้านเรานั้น มีนโนบายเรื่องการรับทุนวิจัยยังไงบ้าง เช่น ถ้าเกิดว่าโครงการวิจัยนั้นจะนำไปสู่การสร้างอาวุธสงคราม หรือวัตถุอันตรายที่พิจารณาแล้วว่าไม่ได้มีประโยชน์ในทางอื่นเลย นอกจากการทำลายล้้าง หรือผู้ให้ทุนเกี่ยวข้องกับกิจการเหล่านั้น หรือมีประวัติไม่ดีด้านจริยธรรม สิทธิมนุษยชน ไม่รับผิดชอบต่อสังคม มีสถาบันไหนปฏิเสธที่จะรับทุนวิจัยจากผู้ให้ทุนเหล่านั้นรึเปล่า ? หรือมีนโยบายหรือไม่ว่า การให้ทุนนั้นเป็นไปในลักษณะไหน มีผลกระทบต่อแนวทางการทำวิจัยของสถาบันหรือไม่ ? อย่างถ้าสมมติกรณีสอบสอนเรื่องกล้ายาง เรื่องปุ๋ยปลอม อะไรพวกนี้ ผลออกมาว่า ผิดจริง มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย จะพิจารณาไม่รับโครงการ/ทุนจากบริษัทเหล่านั้นมั๊ย ? หน้าที่หนึ่งของสถาบันการศึกษา นอกเหนือจากการถ่ายทอดแนะแนวความรู้สู่สังคมแล้ว ก็คือการสร้างความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสังคม การสร้างความรู้เพื่อสังคมนั้น สมควรที่จะรับทุนจากผู้ที่ทำผิดต่อสังคมหรือไม่ ? ถ้าเห็นสมควรว่าทำได้ มีนโยบายอย่างไร ที่จะรับประกันว่า ผู้ให้ทุนจะไม่สามารถมามีอิทธิพลเหนือแนวทางการสร้างความรู้นั้นได้ ? (ซึ่งอันตรายต่อการที่ความรู้นั้นจะไม่ได้มีเพื่อสังคม) พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าอยากจะรับเงินจากคนไม่ดี จะระวังตนยังไง ให้เราเอาเงินนั้นไปใช้ในทางที่ดีได้ เช่น ถ้ารู้แน่ชัดว่าสุดท้ายแล้วผลวิจัยจะถูกเอาไปใช้ในเรื่องไม่ดี (หรือคิดแล้วว่า ไม่ว่ายังไงก็ใช้ให้ดีไม่ได้)…

  • Open Access News

    news from the open access movement “Putting peer-reviewed scientific and scholarly literature on the internet. Making it available free of charge and free of most copyright and licensing restrictions. Removing the barriers to serious research.”

Exit mobile version