ร่างกฎหมายคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ กำลังจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา (ดูข่าวที่กรุงเทพธุรกิจ)
สรุป ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา (ดูละเอียดการวิเคราะห์ร่างนี้และข้อสังเกต 10 ประการ ที่: http://ilaw.or.th/node/857) ร่างฉบับใหม่นี้ :
- จะเน้นการจับ “ตัวกลาง” คือเว็บไซต์มากกว่าตัวผู้กระทำผิดจริง ๆ (เน้น
“จับแพะ” ว่าง่าย ๆ) - จะมีคณะกรรมการใหม่หนึ่งชุด ซึ่งอำนาจหน้าที่ตามข้อที่ 5 ระบุไว้ว่ามีอำนาจทำอะไรก็ได้
และไม่ต้องขอหมายศาลด้วย (พรบ.คอมฉบับปัจจุบันต้องขอหมายศาล) ซึ่งนักกฎหมายตั้งข้อสังเกตไว้ว่าเขียนลักษณะเหมือนพ.ร.ก.ฉุกเฉินเลย คือเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.นี้จะมีอำนาจเต็ม - โปรแกรมอย่าง torrent, proxy, shark (เอาไว้ดูทราฟิกเน็ต), ฯลฯ พวกนี้จะผิดกฎหมายทันที
ในฐานะผู้ใช้เน็ตคนนึง รู้สึกว่ามันเกินพอดีไปแล้ว แน่นอนว่าคนร้ายเราก็ต้องจัดการ
แต่คนที่ไม่ได้ทำอะไรผิด ก็ควรจะต้องได้รับการคุ้มครองด้วย (ไม่ใช่ว่าจะขี่ช้างจับตั๊กแตน วิ่งไล่วนมันทั่วนา ช้างเหยียบข้าวพวกเราแหลกหมด
ตำรวจบอกว่ามันจำเป็น เพราะต้องจับคนร้ายเจ้าตั๊กแตนตัวนั้นให้ได้
ทำไปทำมาจับไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่นาเราพังไปหมดแล้ว ไม่มีใครรับผิดชอบ)
เราควรจะแสดงออกอะไรบ้าง ถึงสิทธิของเราที่มีในพื้นที่ตรงนี้ ขั้นต่ำสุด ที่ทำได้ตอนนี้เลย ก็คือไปแสดงตัวกันหน่อย ด้วยการลงชื่อที่ http://ilaw.or.th/node/883 (Facebook: http://on.fb.me/hICIhM)
ในลิงก์ข้างบนนี้ จะมีรายละเอียด ที่มาที่ไป อธิบายเหตุผลว่าทำไม เราถึงควรจะหยุดมัน ถ้าเห็นด้วย ก็ช่วยสนับสนุนด้วยการลงชื่อครับ
technorati tags:
cybercrime,
Computer-related Crime Act,
iLaw