DuoCore ตอน 9 ช่วงสุดท้าย มีคุยถึง “วิทยาการบริการ” (services science) สาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการบริการ
สอนหนังสือ ร้านอาหาร รักษาพยาบาล ทำศพ จัดดอกไม้ ถ่ายรูปแต่งงาน ซ่อมคอม เขียนโปรแกรม ดูดส้วม ทำบัญชี นำเที่ยว ทำผม ขับรถ เก็บขยะ ฯลฯ พวกนี้คืองานบริการทั้งสิ้น รอบตัวเรา
จะทำยังไงให้ดีมีคุณภาพ ให้มีประสิทธิภาพ ให้เป็นที่พอใจของผู้รับบริการ และให้มีผลกำไรด้วย ?
นิตยสารบิสซิเนสวีค พูดถึงวิทยาการบริการ:
The New Discipline of Services Science
“It’s a melding of technology with an understanding of business processes and organization — and it’s crucial to the economy’s next wave”
“มันคือการรวมเทคโนโลยีเข้ากับความเข้าใจในกระบวนการและองค์กรธุรกิจ — และมันสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเศรษฐกิจยุคหน้า”
ด้วยว่าแง่มุมที่เกี่ยวกับ การบริการ นี้ มีทั้งแง่ของ ‘ศาสตร์’ (science), ‘การจัดการ’ (management), และ ‘วิศวกรรม’ (engineering)
ทางไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการศึกษาวิจัยด้านนี้ ก็เลยเรียกมันว่า “Services Sciences, Management and Engineering” หรือย่อว่า “SSME”
IBM Research: Services Sciences, Management and Engineering:
“Services sciences, Management and Engineering hopes to bring together ongoing work in computer science, operations research, industrial engineering, business strategy, management sciences, social and cognitive sciences, and legal sciences to develop the skills required in a services-led economy.”
“วิทยาการ- การจัดการ- และ วิศวกรรมบริการ หวังที่จะนำงานด้าน วิทยาการคอมพิวเตอร์ การวิจัยดำเนินงาน วิศวกรรมอุตสาหการ ยุทธศาสตร์ธุรกิจ วิทยาการจัดการ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา/ปริชานศาสตร์ และนิติศาสตร์ มารวมกันเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยภาคบริการ”
ในวิกิพีเดีย ให้ความหมาย SSME ไว้ว่า:
“SSME is an interdisciplinary approach to the study, design, and implementation of service systems – complex systems in which specific arrangements of people and technologies take actions that provide value for others. More precisely, SSME has been defined as the application of science, management, and engineering disciplines to tasks that one organization beneficially performs for and with another.”
“SSME เป็นวิธีทางสหวิทยาการเพื่อการศึกษา ออกแบบ และสร้างระบบบริการ – ระบบซับซ้อนที่การจัดเตรียมที่เฉพาะเจาะจงของคนและเทคโนโลยี จะปฎิบัติงานที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อผู้อื่น พูดให้ชัดเจนขึ้น SSME ถูกนิยามไว้ว่าเป็นการประยุกต์สาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์ การจัดการ และวิศวกรรมศาสตร์ เข้ากับงานที่องค์กรทำธุรกิจเพื่อผู้อื่น หรือทำร่วมกับผู้อื่น”
วันจันทร์ที่ผ่านมา ไปสัมมนา SSME (จัดโดยไอบีเอ็ม สวทช. ซิป้า สกอ. ฯลฯ) ทำให้รู้ว่า นอกจากงานบริการจะอยู่รอบตัวเราแล้ว สำหรับประเทศไทยของเราเนี่ย ภาคการบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง เป็นภาคธุรกิจที่ทำเงินเป็นกอบเป็นกำให้กับประเทศ และดูจะเหมาะกับจุดแข็งของคนและทรัพยากรในประเทศกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เขาก็เลยเห็นว่า น่าจะมีการศึกษาศาสตร์เกี่ยวกับการบริการกันมากขึ้น เพื่อพัฒนาภาคการบริการของไทยให้ดียิ่งขึ้น
งานนี้มีไอบีเอ็มเป็นฝ่ายเริ่ม เข้าหาภาครัฐและภาคการศึกษา โดยก่อนหน้าในต่างประเทศ ไอบีเอ็มก็ได้ร่วมมือกับสถานศึกษาต่าง ๆ ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง SSME มาได้ระยะหนึ่งแล้ว ตอนนี้ก็จะมาทำกันในเมืองไทยด้วย โดยจะร่วมกันเปิดหลักสูตรด้าน SSME ในมหาวิทยาลัยไทย จะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กัน 1 ก.พ. นี้ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ ที่จะลงนามก็มี ภาคเอกชน (ไอบีเอ็ม) ภาคการศึกษา (คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ม.รังสิต, SIIT ม.ธรรมศาสตร์, และ ม.ศิลปากร) และ ภาครัฐ (สวทช. กระทรวงวิทย์, ซิป้า กระทรวงไอซีที, สกอ. กระทรวงศึกษา)
สำหรับที่ SIIT ก็จะเปิดหลักสูตรปริญญาโท Services Science ในปีการศึกษาหน้า ก็คงจะเน้นไปทางเทคโนโลยีหน่อย วันที่สัมมนาก็มีอาจารย์จากภาคไอที เทคโนโลยีการจัดการ และการจัดการวิศวกรรม ไปร่วมด้วย ไว้มีข่าวอะไรเพิ่มเติม ก็คงจะได้มาบอกกัน — คิดว่าแนวที่เปิดนี้ สำหรับในส่วนของภาคไอที น่าจะเข้าทางพวกธุรกิจให้คำปรึกษาด้านสารสนเทศ การพัฒนาระบบธุรกิจ หรือพวกเอาท์ซอร์ส เพราะว่านอกจากความรู้ไอทีแล้ว ยังต้องการความรู้เกี่ยวกับระบบองค์กรและการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
ตอนนี้ไปดูของที่อื่นก่อน
- UC Berkeley
- UC Santa Cruz
- University of Maryland
- North Carolina State University
- Northern Illinois University
- Karlsruhe Institute of Technology, Germany
- ที่อื่น ๆ
- เอกสารการเรียนการสอน โดย ศูนย์วิจัย Almaden ของไอบีเอ็ม
technorati tags:
services science,
SSME,
SIIT