Dynamicism


พอคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมาถึงจุดนึง เราก็สามารถ “ฟุ่มเฟือย” พลังประมวลผล ไปกับคำสั่งที่อาจจะไม่จำเป็นบางอย่าง ยกหน้าที่เรื่องการเขียนภาษาเครื่องให้กับตัวคอมไพเลอร์ แล้วเราก็ไปเขียนภาษาในระดับที่สูงกว่านั้นแทน เพื่อแลกกับความสะดวกในการเขียนโปรแกรม .. ลดเวลาในการเขียน และเพิ่มความง่ายในการ port

พอคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมาถึงอีกจุดนึง เราก็สามารถ “ฟุ่มเฟือย” พลังประมวลผล ไปกับการแปลงโค้ดทุกครั้งที่รันได้ (โดยแปลงเป็นภาษากลางล่วงหน้าก่อน แล้วค่อยเป็นภาษาเครื่อง) เพื่อแลกกับความสะดวกเรื่องการใช้งานข้ามแพลตฟอร์ม .. ลดจำนวนโปรแกรมที่ต้องเขียน และถึงตอนนี้ก็ไม่ต้อง port แล้ว รันได้เลย

แล้วพอจะไปถึงอีกจุดนึง เราก็สามารถ “ฟุ่มเฟือย” พลังประมวลผล ไปกับการแปลงโค้ดทุกครั้งที่รัน (จริง ๆ – จากภาษาโปรแกรม ไปเป็นภาษาเครื่องเลย) เพื่อแลกกับความง่ายในการเขียนโปรแกรม (บางอย่างที่อาจจะยาก ถ้าต้องเขียนแบบ static) .. ลดจำนวนบรรทัดที่ต้องเขียน/ความซับซ้อนของโปรแกรม เพิ่มผลิตภาพ แล้วถึงตอนนั้น ก็อาจจะไม่ต้องเขียนโปรแกรมบางอย่างเองล่วงหน้าแล้ว ปล่อยให้โปรแกรมมันไปเขียนโปรแกรมตอนรันเอาเอง

คาดว่าหลังจากนั้น ก็คงจะถึงยุคของ การไม่ต้องเขียนโปรแกรม แต่เปลี่ยนเป็นบอกว่า เราอยากได้อะไร (declarative) (จากเมื่อก่อนเป็นการบอกขั้นตอนว่าทำอย่างไร)
คงจะเป็นทำนอง Prolog (ทั่วไป) หรือพวก XUL (เฉพาะงาน) … ??

.NET and Java

tags:
|
|
|
|
|
|


Leave a ReplyCancel reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Exit mobile version