Dome talks


ต่อเนื่องจากโพสต์ก่อนหน้า

[คาดหวังอะไรจากการรณรงค์ครั้งนี้?]
ผมไม่คิดว่าอาจารย์สุรพลจะลาออกจากตำแหน่งอย่างเด็ดขาด! แต่บรรยากาศและความรู้ความเข้าใจในสังคมจะมีมากขึ้น คนจะเข้าใจบทบาทและสถานภาพของตัวเองในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาคมในธรรมศาสตร์จะได้บทเรียนจากกิจกรรมนี้ ความสำเร็จของการรณรงค์ครั้งนี้คงไม่อยู่ที่การลาออก การลาออกเป็นวิจารณญาณส่วนบุคคล เป็นเรื่องทางจรรยาบรรณ จริยธรรม และระดับคุณธรรมของอาจารย์สุรพลเอง สิ่งนี้สอนกันไม่ได้ แต่เรียนรู้ได้ แต่สำหรับสังคม เราจะได้เรียนรู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร ครรลองของประชาธิปไตยคืออะไร นี่คือสิ่งที่ประชาคมจะได้มากกว่า
— เกษม เพ็ญภินันท์

tags:
|
|
|


2 responses to “Dome talks”

  1. จุดยืนทุกคนมีจุดยืนทำอย่างไรที่ต่างจุดยืนได้ โดยไม่เกลียดกัน

  2. เห็นด้วยครับผมรู้สึกโอเคนะ ที่ต่างฝ่ายก็อธิบายสิ่งที่ตัวเองเชื่อได้ผมอ่านความเห็นของอ.สุรพลก็เห็นด้วยหลายส่วนผมว่าตราบใดที่มธ.ยังเป็นมหาลัยรัฐ ยังไงก็ตาม ถึงไม่ถูกอำนาจรัฐแทรกแซง มธ.ก็ต้องวิ่งเข้าหารัฐอยู่ดี(ดูที่อ.สุรพลยกตัวอย่างเรื่องงบประมาณ,อัตรากำลังคน)ถ้าในกรณีปกติ ที่อำนาจรัฐนั้นได้มาแบบที่ประชาคม[ไม่มีคำว่ามหาวิทยาัลัย]ธรรมศาสตร์ ยอมรับ มันก็ไม่มีปัญหาแต่เมื่อไรมันไม่ใช่ มันก็เกิดอาการอีลักอีเหลื่ออย่างนี้ในใจคิดว่าต้องเลือกข้าง แต่ทำจริงแล้วมันทำไม่ได้ผมว่ามันโยงกันได้ คือ หากจะเอาขั้นเด็ดขาดสุดโต่งจริง ๆ ก็คืออ.สุรพลลาออกจากสนช. (ปฏิเสธอำนาจรัฐที่ประชาคมไม่ยอมรับ)และ มธ.ออกจากการเป็นม.รัฐหรือไม่รับเงินช่วยเหลือจากรัฐ ไม่ทำตามระเบียบกระทรวง (ปฏิเสธอำนาจรัฐที่ประชาคมไม่ยอมรับ — เช่นกัน)

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.