Tag: vote no

  • beyond policy

    [ คำเตือนก่อนอ่าน: ในขณะที่เขียนบทความนี้ ในใจผมอยู่ระหว่างตัดสินใจว่า จะ “กาช่องไม่เลือกใคร” หรือ “เลือกพรรคพลังประชาชน” (แต่ไม่ว่าจะเลือกอะไร ก็เพื่อส่งสัญญาณเดียวกัน คือ “ไม่เอารัฐประหาร” ทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต) — ดังนั้นข้อเขียนชิ้นนี้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องได้รับอิทธิพลจากสิ่งนี้ไม่มากก็น้อย กรุณาใช้ความระมัดระวังในการอ่าน — ติชมใด ๆ ผมถือเป็นกำนัล ขอน้อมรับด้วยความขอบคุณยิ่ง ] บางที การเลือกตั้งครั้งนี้ อาจไม่ใช่การเลือกพรรคการเมือง อย่างที่แล้ว ๆ มา ที่ผ่านมา เราบอกว่า สังคมประชาธิปไตยไทย(ไทย) ได้ก้าวพ้นการเลือกตัวบุคคล มาเป็นการเลือกพรรคแล้ว โดยชัยชนะของไทยรักไทยอาจเป็นตัวอย่าง (โดยกลไก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่เพิ่งมีใหม่ในตอนนั้น เป็นตัวอำนวยให้เกิดได้) เลือกบุคคล ก็คือเลือกจากความชอบพอในตัวบุคคล คนนี้เป็นคนดี เลือกพรรค ก็คือเลือกจากนโยบายของพรรค แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ พูดตรง ๆ ผมไม่ได้ตัดสินใจจากทั้งสองอย่าง หลายคนคงคิดเหมือนกัน ตัวบุคคล ? เรารู้จักใครบ้าง ? ถ้าจะคุ้น ๆ…

  • OOXML Advertorial — NoOOXML

    OOXML ทำเนียน วันนี้เจอโฆษณา “Open XML” ใน ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 30 ส.ค. – 1 ก.ย. 2550 หน้า 34 (เซคชั่น “ตลาด-ตลาดภูมิภาค”) หน้าตาทำเหมือนเป็นบทความ ขึ้นหัวใหญ่ว่า “ธุรกิจไทย คนไทย มีทางเลือกหรือไม่ในเวทีระดับโลก ประเทศไทยควรโหวตรับมาตรฐานการจัดเก็บเอกสารใหม่หรือไม่…” ในนั้นมียกคำพูดจากบุคคลในวงการไอทีต่าง ๆ เช่นจาก คุณฟูเกียรติ จุลนวล ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์และแพลตฟอร์ม บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด คุณสมเกียรติ อึ้งอารี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีเนียร์ คอม จำกัด นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) คุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) ตรงกลาง ๆ “บทความ” ตอนหนึ่งเขียนว่า “ที่สำคัญ การโหวตครั้งนี้เป็นการทำให้ภาษาไทยได้เข้าไปเป็นหนึ่งในมาตรฐานโลก ซึ่งหากต่อไปจะมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นอะไรขึ้นมาแล้ว ภาษาไทยก็จะเป็นหนึ่งภาษาที่ถูกนำไปพิจารณาด้วย…

  • Vote for the Better, Vote ‘NO’

    ขออนุญาตคัดทั้งหมด มาจากประชาไท เลือกในสิ่งที่ดีกว่า คือ ‘ไม่’ 19 สิงหาคม เป็นวันที่จะกำหนดอนาคตของเรา ผมไม่แน่ใจว่า สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากการยกร่างรัฐธรรมนูญและการรณรงค์ประชามติที่ผ่านมา หากไม่หลอกตัวเองมากเกินไป และซื่อตรงต่อตนเอง ไม่มากก็น้อยคงต้องยอมรับว่าการประชามติที่ผ่านมานั้นเป็นไปอย่างไม่ตรงไปตรงมา ไม่เคารพคนที่เห็นต่าง และไม่เป็นธรรมต่อการแข่งขัน หลายกรณียังเข้าข่ายฉ้อฉล การเดินไปคูหาประชามติแล้วผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ยังเท่ากับทำให้มาตรฐานการประชามติอย่างที่เป็นอยู่ได้รับการยอมรับ และจะเป็นมาตรฐานแบบไทยๆ สำหรับใช้ในครั้งต่อไป ทั้งๆ ที่ไม่มีใครในโลกเรียกการกระทำเช่นนี้ว่าประชามติได้ การไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการร่าง การเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนจำนวนมากและส่วนใหญ่ ซึ่งยืนยันจากโพลล์หลายสำนัก พึงต้องด้วยรู้ว่า การทำประชามติคือการใช้สิทธิใช้เสียงของประชาชนทุกคนอย่างเจ้าของประเทศโดยทางตรง ซึ่งกำลังเป็นวิธีที่นานาอารยประเทศนิยมใช้มากขึ้นๆ การทำให้การประชามตินี้เกิดเป็นมาตรฐานอันตราย จะทำให้การเมืองไทยเสียนิสัยและมักง่าย ซึ่งที่ผ่านมาก็มากพออยู่แล้ว กล่าวอีกอย่างก็คือ การให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านด้วยประชามติครั้งนี้ จึงไม่เพียงแต่เท่ากับศูนย์แต่ยังทำให้สังคมไทยติดลบ ในทางกลับกัน สังคมการเมืองไทยจะได้อะไรอีกมากหากประชามติครั้งนี้มีผลในทางไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2550 หนึ่งคือ เท่ากับการปฏิเสธกระบวนการร่างที่ไม่เห็นหัวประชาชน สองคือปฏิเสธที่มาของการร่าง ซึ่งจะทำให้การรัฐประหารซึ่งส่งผลเสียต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ มหาศาลทำได้ยากมากขึ้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยและพาการเมืองไทยก้าวสู่การเมืองแบบเป็นเหตุเป็นผล หรือมีโอกาสหลุดออกจากวงจรอำนาจนิยมมากขึ้น และสาม เราจะนำความสมานฉันท์กลับมาสู่สังคมไทยอย่างแท้จริงได้ เมื่อกระบวนการต่อจากนั้นเดินไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับประชาชนที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งเรื่องที่มาของผู้ร่าง กระบวนการ และเนื้อหา และวันนั้นเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะดีกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 และร่าง…

  • Pre-Referendum Reads

    Be an informed citizen, read this before referendum vote. เอกสารน่าอ่านก่อนลงประชามติ รวมรวมโดย คนชายขอบ ทุกอันมีเป็น PDF พิมพ์ไปอ่านบนรถไฟฟ้า ส่งต่อให้เพื่อน ๆ ญาติ ๆ อ่านได้ พร้อมลิงก์ไปยัง ร่างรธน. 2550 ฉบับเต็ม เพื่อประกอบการตัดสินใจ รายชื่อบทความ: ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ 2550 – ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ นับถอยหลัง “รับ-ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ การเมืองไทยจะไปทางไหน? – นิตยสารสารคดี ทำไมต้องโหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ? (พร้อมแผนภูมิ) – wevoteno.net ชำแหละระบบบัญชีรายชื่อในร่าง รธน. 2550: gerrymandering แบบไทยๆ? – ม้านอก และ เด็กนอกกรอบ บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับลงประชามติ –…

  • Wear RED, Vote NO

    “แดงไม่รับ” — RED is the colour. เสื้อยืด โปสเตอร์ สติกเกอร์ รณรงค์ โหวตไม่รับ ร่างรธน. 50 Red for No (จากสยามสแควร์ เสาร์ 4 ส.ค. 2550) technorati tags: red, vote, no, constitution, Thailand

Exit mobile version