-
พฤหัด 1 + พบค่ำ 4: สร้างวัตถุดิบเพื่อสังคมความคิด [19 พ.ค. 2555]
บันทึกจากงาน พฤหัด OpenStreetMap กับ โรงเรียนพ(ล)บค่ำ @nuling บ.ก.ลายจุด คุยเรื่อง online-offline ไปจนถึงวิกิพีเดีย และโครงการช็อปปิ้งบริจาคหนังสือ
-
Thai Wikipedia survey
ผลการศึกษาจากแบบสอบถามการใช้งานเว็บไซต์วิกิพีเดียไทย การสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หัวข้อ “สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทยกับการสื่อสารความรู้สู่สาธารณะ” โดยนิสิตปริญญาโท ภาควารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์) ดูได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/User:Tummy/finding technorati tags: Thai Wikipedia, survey
-
List of "Thai" monarchs
ควรจะใช้ชื่อหัวข้อว่าอะไรดี ? มีหน้าในวิกิพีเดียไทยหน้าหนึ่ง เป็นการรวบรวมลำดับกษัตริย์ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน โดยในขณะนี้ใช้ชื่อว่า “ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย” ทีนี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตมาว่า ไม่น่าจะใช้คำว่า “ไทย” เนื่องจากก่อนหน้า พ.ศ. 2482 นั้น เรายังใช้คำว่า “สยาม” กันอยู่ ยังไม่ใช่ “ไทย” – จึงควรจะเปลี่ยนชื่อหน้านั้น ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง (ในหน้านั้น รวบรวมรายชื่อย้อนขึ้นไปถึง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ .. ซึ่งผมว่า “สยาม” เองก็ยังไม่น่ามีนะ) กรณีเทียบเคียงของประเทศอื่น/วิกิพีเดียภาษาอื่นนี่ มีตัวอย่างเช่น List of monarchs in the British Isles (กษัตริย์ใน “เกาะอังกฤษ” ซึ่งรวมสกอตแลนด์และเวลส์ด้วย) กับ List of English monarchs (เฉพาะกษัตริย์ของอังกฤษ-ที่ไม่ใช่ UK-เท่านั้น) ของไทยนี่ ไม่รู้จะใช้ว่า “กษัตริย์ในดินแดนสุวรรณภูมิ” ได้ไหม, หรือว่ากว้างไป ? ขอเชิญผู้รู้/ผู้สนใจ…
-
di dictionaries….sssss
นั่งเขียน/แปล “นครรัฐ” ในวิกิพีเดีย (ไม่เสร็จหรอกนะ) เห็นคำว่า microstate .. แปลว่าอะไรดีหว่า นึก ๆ microbe มัน “จุลชีวัน” งั้นอันนี้ก็คง “จุลรัฐ” ล่ะมั้ง เลยลองค้นในกูเกิลดู ว่ามีใครใช้คำนี้มั๊ย … ได้เรื่องครับ เจอเว็บรวมพจนานุกรมสุดยอดนี่เข้าไป: http://se-ed.net/r3dic/ ไม่รู้จะรวมอะไรกันนักหนา มีสารพัดเลย ศัพท์วิชาชีพ คำย่อ วลี ภาษิต อุปมาอุปมัย ชื่อเฉพาะ สำนวน ราชาศัพท์ คำพ้อง อุปสรรค ปัจจัย คำคม ฯลฯ เยอะจัด ในส่วนของวิชาชีพ ก็เช่น การเมือง รัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ กฎหมาย ศิลปะ วรรณกรรม การแพทย์ ป่าไม้ ประกันวินาศภัย ดาราศาสตร์ … แง่ว กดบุ๊คมาร์กแทบไม่ทัน technorati tags:…
-
Sawasdee!
ทักทายอีกผู้ดูแลระบบของวิกิพีเดียไทย MNOP: ทิศทางวิกิพีเดีย แนวคิดคนเขียน คนอ่าน และคนไม่เขียนไม่อ่าน MNOP: นักวิชากาน ใน วิกิพีเดียไทย (ยุคแรก) technorati tags: Thai Wikipedia
-
Thai Wikipedia content policies
(ต่อเนื่องจาก วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว (?)) ไปช่วยกันดู สามนโยบายหลัก ด้านเนื้อหา ของวิกิพีเดียไทย กันหน่อย 🙂 วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง (WP:NPOV) en: Wikipedia:Neutral point of view วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ (WP:NOR) en: Wikipedia:No original research วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ (WP:V) en: Wikipedia:Verifiability ลบเพิ่มแก้ไข ได้ตามสบาย วิพากษ์วิจารณ์ ให้เหตุผล ตั้งคำถาม อภิปราย ได้ที่หน้า “อภิปราย” ของแต่ละบทความ เกี่ยวข้อง: วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ (WP:RULES) technorati tags: Thai Wikipedia, Wikipedia, style guide
-
Does Wikipedia a real peer-to-peer production ?
ต่อเนื่องจาก วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว – มีข้อสังเกตน่าสนใจจาก เชิงอรรถ ของ มหาวิหารกับตลาดสด (The Cathedral and the Bazaar) น่าสังเกตพอๆ กัน ว่าในชุมชนโอเพนซอร์สนั้น รูปแบบโครงสร้างชุมชนก็ตรงกับหน้าที่ที่ทำในหลายระดับ เครือข่ายนี้ครอบคลุมทุกอย่างและทุกที่ ไม่ใช่แค่อินเทอร์เน็ต แต่ผู้คนที่ทำงานยังได้สร้างเครือข่ายแบบกระจาย ขึ้นต่อกันอย่างหลวมๆ ในระดับเดียวกัน ที่มีส่วนที่ทดแทนกันได้เกิดขึ้นกลายส่วน และไม่ล้มครืนลงแบบทันทีทันใด ในเครือข่ายทั้งสอง แต่ละกลุ่มจะมีความสำคัญแค่ในระดับที่กลุ่มอื่นต้องการจะร่วมมือด้วยเท่านั้น ตรงส่วน “ในระดับเดียวกัน” นี้ สำคัญมากสำหรับผลิตภาพอันน่าทึ่งของชุมชน ประเด็นที่โครพอตกินพยายามจะชี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ได้ถูกพัฒนาต่อไปโดย ‘หลัก SNAFU’ ที่ว่า “การสื่อสารที่แท้จริง จะเกิดได้ระหว่างคนที่เท่าเทียมกันเท่านั้น เพราะผู้ที่ด้อยกว่าจะได้รับการตอบแทนอย่างสม่ำเสมอกว่า ถ้าพูดโกหกให้ผู้ที่เหนือกว่าพอใจ เทียบกับการพูดความจริง” ทีมงานที่สร้างสรรค์จะขึ้นอยู่กับการสื่อสารอย่างแท้จริง และจะถูกขัดขวางอย่างมากจากการมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ชุมชนโอเพนซอร์ส ซึ่งปราศจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าว จึงได้สอนเราในทางตรงกันข้าม ให้รู้ถึงข้อเสียของความสัมพันธ์ดังกล่าวในรูปของบั๊ก ผลิตภาพที่ถดถอย และโอกาสที่สูญเสียไป ข้อสังเกตนี้ ชี้ว่า ในการผลิตแบบเท่าเทียม (peer production) ชุมชนที่จะมีประสิทธิภาพควรจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชุมชนแบบเท่าเทียม/ในระดับเดียวกัน … แล้วความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวิกิืพีเดีย(ไทย)เป็นแบบไหน…
-
Thai Wikipedia is Failing
คุณ Patiwat จุดประเด็นเอาไว้ (ผมขออนุญาตแปลไว้ตรงนี้): บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ที่ชื่อ “Wikipedia is Failing” [วิกิพีเดียกำลังล้มเหลว] ทำให้ผมต้องพิจารณาอย่างหนักว่า วิกิพีเดียไทยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง. ผลลัพธ์นั้นชวนหดหู่. โปรดสังเกตว่าบทความดังกล่าวนั้น ไม่ได้ ชื่อว่า “Wikipedia Can Improve” [วิกิพีเดียยังพัฒนาได้]. ผู้เขียนได้บอกเป็นนัยว่าปัญหาเชิงระบบและปัญหามูลฐานนั้นคือต้นเหตุแห่งความล้มเหลว. นี่คือการพิจารณาชั้นต้นในตัวชี้วัดที่พอเทียบเคียงได้ในวิกิพีเดียไทย. ไปอ่านข้อเขียนนี้+ความเห็นจากชาววิกิพีเดียอื่น ๆ ได้ที่ “วิกิพีเดียไทยกำลังล้มเหลว” สำหรับผมแล้ว ปัญหา “สองมาตรฐาน” (double standard) คือปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของวิกิพีเดียไทย สองมาตรฐาน เช่น บางครั้งก็เข้มงวดกับกฎเกณฑ์ บางครั้งก็ผ่อนปรน โดยที่ไม่แน่ชัดว่า อะไรคือหลักในการพิจารณาว่าเมื่อไรถึงจะเข้มหรือจะผ่อน หรือเนื้อหาลักษณะเดียวกัน แต่เขียนโดยคนละคน กลับได้รับการเพ่งเล็งปฏิบัติแตกต่างกัน ฯลฯ ความอัปลักษณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในวิกิพีเดียไทยตอนนี้ ผมเห็นว่ามีรากฐานมาจากปัญหา (ทัศนคติ?) ดังกล่าวทั้งสิ้น และปัญหานี้เองที่จะทำให้วิกิพีเดียค่อย ๆ เสื่อมลงได้อย่างเป็นระบบ ทำไมผมจึงเห็นว่า มันเป็นกระบวนการเสื่อมลงอย่างเป็นระบบ ?…
-
12,000 mark Thai Wikipedia
เยโย วิกิพีเดียไทย เลย 12,000 บทความ (มาหลายวัน) แล้ว เข้าไปช่วยเขียน ช่วยแก้ ช่วยอ่าน ช่วยด่า หรือเข้าไปแกว่งขาเล่น ๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องช่วย สารานุกรม เสรี ฉัน ด้วย เธอ ด้วย tags: Wikipedia, Thai
-
Nice guy syndrome
อะโห วิกิพีเดียเดี๋ยวนี้ มีเรื่องความรักด้วย … อาการดีเกินไป (Nice guy syndrome) เป็นคำจำกัดความทางจิตวิทยาบรรยายลักษณะของเพศชาย ที่มีปัญหาในการมีคู่ โดยมีที่มาจากคำพูดของเพศตรงข้ามว่า “ดีเกินไป” (ตัวอย่าง เธอเป็นคนดีเกินไป แต่เราไม่สามารถเป็นแฟนกันได้ มาคบกันเป็นเพื่อนเถอะ) ซึ่งเกิดจากความรู้สึกของเพศตรงข้ามเปรียบเทียบลักษณะ “ผู้ชายที่ดีเกินไป” ไม่เข้าใจการเติบโต การวางตัวต่อเพศตรงข้าม และเรื่องราวของการมีชีวิตคู่ รวมไปถึงไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์โรแมนติค ลักษณะของบุคคลที่อยู่ในอาการดีเกินไป ส่วนมากจะมีจิตใจดีงาม ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มักจะมีปัญญาสูงกว่าบุคคลทั่วไป เชื่อมั่นในความคิดตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ขาดความเข้าใจในความคิดของผู้หญิง ขาดความเข้าใจในเรื่องของสังคมมนุษย์ และในหลาย ๆ ครั้งจะขาดความมั่นใจในเรื่องความรัก การแสดงออกจะออกมาในลักษณะ การช่วยเหลือหรือเสนอตัวช่วยเหลือ ไม่ว่าเพศตรงข้ามจะต้องการหรือไม่ แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่ตอบสนองความต้องการของตัวเอง (ที่ต้องการแสดงออก โดยการช่วยเหลือ) การพูดจาจะแสดงออกมาในลักษณะการฟังมากกว่าการพูด และเมื่อใดที่เพศตรงข้ามต้องการถอนตัวออกจากความสัมพันธ์ อาการทางจิตใจจะทำให้เกิดเข้าใจที่ตัดพ้อต่อว่าเพศตรงข้าม และในหลายๆ เหตุการณ์ถ้าเพศตรงข้ามเกิดความสัมพันธ์ใหม่กับผู้ชายคนอื่น ที่มีลักษณะท่าทางไม่ดี ผิดแปลกไปจากตน จะทำให้เกิดความตัดพ้อต่อว่าเพศตรงข้าม และฝังความคิดว่า “ผู้หญิงในโลกรักแต่คนไม่ดี” ในขณะที่เพศตรงข้ามต้องการบุคคลที่สามารถวางตัวในสังคม และมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีใคร “โดน” มะ ? 😛…