-
Corpus-Related Research
สาขาวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์จากคลังข้อความได้ เช่น ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ วัฒนธรรมศึกษา และ การวิเคราะห์วาทกรรม ใน Linguistics of Political Argument: The Spin-Doctor and the Wolf-Pack at the White House [gbook], Alan Partington รองศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยคาเมรีโน ประเทศอิตาลี ได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างทำเนียบขาวกับสื่อ โดยการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์จากคลังข้อความ ซึ่งประกอบไปด้วยสรุปคำแถลงข่าวประมาณ 50 ชิ้นในช่วงปีท้าย ๆ ของการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีคลินตัน โดยหัวข้อนั้น มีตั้งแต่เรื่องในโคโซโวไปจนถึงเรื่องความสัมพันธ์คลินตัน-เลวินสกี งานชิ้นนี้ไม่เหมือนใครก่อนหน้า ตรงที่มันทำให้เราเห็นว่า เราสามารถนำเทคโนโลยี concordance (การแสดงคำที่กำหนดในบริบทต่าง ๆ) และหลักฐานทางภาษาศาสตร์อย่างละเอียด มาใช้ในการศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวาทกรรม ทั้งในตัวบทและกลวิธีการสื่อสารของผู้พูดได้-อย่างไร Tony McEnery and Andrew Wilson, Corpus Linguistics, Edinburgh…
-
Hello ! Siam.
บล็อกใหม่แนะนำ: Hello ! Siam. โดย เจ้าน้อย ณ สยาม แถม ข่าวสัมมนาสันติวิธี ความรุนแรง และสังคมไทย: “ซ่อน-หา” สังคมไทย 19-20 พ.ย. 2550 (จันทร์-อังคาร) ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โปรแกรม จัดโดย คณะรัฐศาสตร์ มธ. ร่วมกับ โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. technorati tags: politics, Thailand, blog
-
Thongchai Winichakul Reader
รวมงานเขียนของ ธงชัย วินิจจะกูล โดย BioLawCom.de technorati tags: Thai, history, Thongchai Winichakul
-
Nation-State and the Netizen
เราสามารถนำคำอธิบายความขัดแย้ง ระหว่าง รัฐ (state) กับ ชาติ (nation, กลุ่มคน) มาใช้อธิบายความขัดแย้งระหว่าง รัฐ กับ ชาว(เผ่า)อินเทอร์เน็ต ได้ไหม ? ชาวอินเทอร์เน็ตบางส่วน มีคุณค่าพื้นฐานที่ยึดถือร่วมกันอยู่ เช่น netiquette, open-source culture, hacker ethic และเป็นลักษณะที่ข้ามเขตพรมแดน เลยขอบเขตของรัฐออกไป (แฮกเกอร์เวียดนามก็ยึดถือคุณค่าเดียวกับแฮกเกอร์ญี่ปุ่น เป็นต้น) อย่างนี้แล้ว แม้ชาวอินเทอร์เน็ตกลุ่มนั้นจะไม่ถึงขนาดนับเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ได้ แต่เราจะเรียกว่า เผ่า (tribe) จะพอไหวไหม ? Netizen ? แล้วกรณีที่รัฐพยายามจะเข้ามาจัดการจัดระเบียบอินเทอร์เน็ต (รวมถึงการเซ็นเซอร์) ก็คือการที่รัฐพยายามจะมามีอำนาจเหนือชาติ (อินเทอร์เน็ต) ส่วน(คนใน)ชาตินั้นก็พยายามจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง แต่ความพยายามของรัฐ จะประสบความยากลำบากอย่างหลีกหนีไม่พ้น เพราะเครื่องมือของรัฐนั้น มีขีดจำกัดอำนาจอยู่แค่ในเขตแดนของรัฐเท่านั้น ในขณะที่ชาติครอบคลุมเกินไปกว่า นึก ๆ เรื่องนี้ขึ้นมาได้ ระหว่างอ่าน รัฐ-ชาติกับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่ โดย…
-
TU Polsci Exhibition 2007
งานรัฐศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 14 ศุกร์-เสาร์ 9- 10 ก.พ. 2550 บริเวณคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศุกร์ 9 8-9:00 น. ปาฐกถาพิเศษ โดย รศ.ดร.นคริทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ 9-11:30 น. แข่งขันตอบปัญหารัฐศาสตร์ รอบคัดเลือก [ห้อง ร.103] 9-12:00 น. เสวนา “บทบาททหารกับการเมืองไทย” [ห้อง ร.102] 12-15:00 น. เสวนาหนัง “V For Vendetta” [ห้อง ร.102] 13:30-15:30 น. แข่งขันตอบปัญหารัฐศาสตร์ รอบชิงชนะเลิศ [ห้อง ร.103] 15:30-18:00 น. เสวนา “การเมืองลายพราง : ทหาร หมอดู กับการตัดสินใจทำรัฐประหาร” โดย…
-
งงงงง
สนใจ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ เรียนอะไรดี? จะมีมั๊ย? เห็นมี เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ (ในองค์กร) มาเยอะแล้ว จะมี เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปกครอง รึเปล่า? หรือว่า เศรษฐศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องของ ทุน อย่างนึงก็คือ ที่ดิน เป็นปัจจัยการผลิต แต่เดี๋ยวนี้ ซอฟต์แวร์ การบริการ เทคโนโลยีหลายๆ อย่าง ที่ดิน ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการผลิต (แน่นอน ยังต้องใช้อยู่ โปรแกรมเมอร์เป็นสสาร ต้องการที่อยู่ :P) มันมีสาขาไหนในเศรษฐศาสตร์ ที่ศึกษาเศรษฐกิจแบบใหม่พวกนี้โดยเฉพาะมั๊ย? หรือถ้าเป็นพวกการเมือง การที่ อินเทอร์เนต ทำให้คนที่มีความสนใจเหมือนๆ กัน รวมตัวกันเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น จะมีผลต่อการเมืองยังไงมั่ง (ดูกรณีหาเสียงเลือกตั้งสหรัฐช่วงนี้เป็นตัวอย่าง นาย Howard Dean ใช้อินเทอร์เนตในการบริหารเครือข่ายการหาเสียง ในลักษณะ decentralized ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก จนกลายเป็นปรากฏการณ์ที่นักวิเคราะห์หลายคนสนใจ ถึงแม้ว่าสุดท้าย Dean จะแพ้ Kerry…