-
Movement in Motion
2 มี.ค. เลือกตั้ง ส.ว. Thai Politics is So Boring…. (เบื่อการเมือง แต่…) Thai Politics is So Boring…. (เลือกเบอร์อะไรดี) www.fanrosana.com (คลิปทำมือ โดยกลุ่มแฟน ๆ รสนา) ลิงก์/embed code สำหรับเอาไปแปะต่อในบล็อก/สเปซ (ถ้าชอบ): (เบื่อการเมือง แต่…) link: http://youtube.com/watch?v=ywEjbAfDtDw embed: (เลือกเบอร์อะไรดี) link: http://youtube.com/watch?v=JzONTs7nxvI embed: technorati tags: Rosana, fanrosana, Bangkok, senator, election, video
-
Innovative Communication @ ITU Copenhagen
ITU Copenhagen เค้าเปิดรับสมัครปริญญาเอกอยู่นะครับ มีทุน ใครสนใจก็ไปดูรายละเอียด ผมเห็นหัวข้อของกลุ่ม Innovative Communication แล้ว โอว น่าเรียนจริง (โดยเฉพาะ 5. “Uses of online media genres in political communication” กับ 7. “User generated content (identity/interpersonal relations/fiction/storytelling)”) ส่วน FMKJ – Danish National Research School for Media, Communication, and Journalism ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน IT + new media + communication and media studies + digital culture studies ไปถึงนั่นกันแล้ว…
-
Bloggers’ Code of Conduct (3)
CyberJournalist.net นำ จรรยาบรรณของสมาคมผู้สื่อข่าวสหรัฐ มาปรับ เป็น จรรยาบรรณบล็อกเกอร์ ซึ่งอันนี้จะเน้นที่ตัวเนื้อหามากกว่าที่ทิมเสนอ (อันนั้นจะเน้นที่ความเห็น) เน้น 3 หลัก Be Honest and Fair – ซื่อตรง เท่าเทียม ซื่อตรง จริงใจ ยุติธรรมและเท่าเทียม ในการเสาะหา รายงาน และตีความข้อมูล Minimize Harm – ก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ปฏิบัติตัวต่อแหล่งข่าว และบุคคลในข่าว ในฐานะมนุษย์ ซึ่งสมควรได้รับความเคารพ Be Accountable – อธิบายได้ โปร่งใส รับผิดได้ ไม่ลำเอียง เปิดเผยอย่างชัดเจนเกี่ยวกับ จุดประสงค์และนโยบายของเว็บ ผลประโยชน์ทับซ้อน วาระส่วนตัว ความชื่นชอบส่วนตัว ผมว่าก็ชัดดี ดูรายละเอียดที่ A Bloggers’ Code of Ethics เรื่องในชุดนี้: Bloggers’ Code of…
-
Bloggers’ Code of Conduct (2)
จรรยาบรรณสื่อใหม่ ที่ตอบโต้ได้ iTeau เปิดประด็นเอาไว้-นานแล้ว อันนี้คือสิ่งที่ Tim O’Reilly เสนอ ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับ “บล็อกเกอร์” เป็นหลัก ไม่ได้หมายถึง “ผู้สื่อข่าวพลเมือง” โดยตรง เอามาให้ดูเป็นไอเดีย ให้ต่อประเด็นได้ (ผมไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด และเห็นด้วยกับ Cory Doctorow พูดไว้ว่า จรรยาบรรณชุดนี้ “แลกเสรีภาพกับความสุภาพ”) รับผิดชอบ ไม่เพียงแค่สิ่งที่คุณพูด แต่รวมถึงความเห็นที่คุณอนุญาตให้แสดงบนบล็อกของคุณ บอกระดับความอดกลั้นของคุณต่อความเห็นหยาบคาย พิจารณานำความเห็นนิรนาม*ออกไป (* นิรนามในที่นี้ หมายถึงตามไม่ได้ว่าเป็นใคร – แต่ยังสามารถปกปิดตัวตนได้ – เช่นให้อีเมลจริงกับเจ้าของบล็อก แต่ไม่แสดงชื่อ/อีเมลแก่คนอ่านคนอื่น) เพิกเฉยต่อความเห็นที่จงใจก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง คุยกันออฟไลน์ คุยกันโดยตรง หรือหาคนกลางที่จะทำอย่างนั้นได้ ถ้าคุณรู้จักใครที่ทำตัวไม่ดี บอกเขา ถ้าคุณไม่พูดสิ่งไหนต่อหน้าคนอื่น อย่าพูดสิ่งนั้นออนไลน์ อ่านดูแล้ว ก็จะพบว่าเกือบทั้งหมด จะเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่นำเสนอออนไลน์ (ถ้าพูดถึงกรณีข่าว ก็จะไม่ได้เกี่ยวกับ “ตัวข่าว” โดยตรง แต่เกี่ยวกับ “ความเห็นท้ายข่าว”) ตรงนี้ดู ๆ…
-
Internet as a new media
ประชาไท, เสรีภาพสื่อไทย ในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก, 3 พ.ค. 2550 2. จากการที่รัฐบาลและหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องพยายามให้เสรีภาพในการนำเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นแก่สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ค่อนข้างมาก กลับปรากฎร่องรอยของความพยายามในการปิดกั้นเสรีภาพในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่ถือเป็นสื่อใหม่ที่ตามข้อเท็จจริงแล้วแทบจะไม่สามารถปิดกั้นได้เลย และนับวันจะกลายเป็นทางเลือกใหม่ในการบริโภคข่าวสารของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ 3. ด้วยเหตุนี้ จึงถือโอกาสเรียกร้องไปยังเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ทำงานอยู่ในสื่อกระแสหลัก ให้ยอมรับการเกิดและดำรงอยู่ของสื่อใหม่ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเข้ามาเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการสื่อสารทางเดียวไปสู่การสื่อสาร 2 ทาง หรือหลายทาง ที่ต่างก็ต้องการเสรีภาพในการทำงาน ขณะเดียวกันก็ต้องตกอยู่ในภาวะที่สุ่มเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบและความมั่นคงของประเทศ 4. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งหลายดังมีรายชื่อข้างต้น จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมสื่อมวลชนยุคใหม่ และพยายามมองความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนี้ ในด้านดี เช่น ในฐานะเป็นเวทีเสรีที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิด เห็นกันได้อย่างเสรี ดังนั้น การดำเนินการปิดกั้นเสรีภาพในโลกดิจิตอลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง technorati tags: Internet censorship, new media
-
PassionSound – Computer Music
kijjaz แนะนำมา: PassionSound – Computer Music Journal of Thailand เป็นเว็บสำหรับคนสนใจการสร้่างสรรค์ดนตรีด้วยคอมพิวเตอร์ครับ กลางสัปดาห์หน้า กลุ่ม PassionSound นี้ จะขนแลปทอปไปเล่นมัลติมีเดียสด ๆ กันที่ คาเฟ่ เดอ มอค ตรงอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย(อันมี…) kijjaz ก็จะไป ‘เล่น’ กับเขาด้วย น่าสนุก ใครสนใจก็ไปกันได้ ผมคงไปดูด้วย อ้อ เค้าจะไปเล่นตัวนี้กันมั้ง ChucK (@wikipedia) เป็นภาษาโปรแกรมที่เอาไว้เล่นพวกเสียง แบบแสดงสด จับ เต้น แต่งกับ kijjaz ดีกว่า อิอิ technorati tags: music technology
-
MTG – CLAM – IUA – CREATE
คราวที่แล้ว แนะนำ Music Technology Group (MTG) ที่ Universitat Pompeu Fabra (UPF) ไป วันก่อน เข้าไปดูรายชื่อโครงการใน Google Summer of Code ก็ไปเจอชื่อมหาลัย UPF อีกรอบ คือโครงการ “CLAM ( at the Universitat Pompeu Fabra)” CLAM เป็นไลบรารีสำหรับพัฒนางานด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเปลี่ยนรูป สัญญาณเสียงและดนตรี (ภาษา C++ ; สัญญาอนุญาต GPL ; Windows, GNU/Linux, Mac OS X) เขาว่าทุำกอย่างเป็นวัตถุ (object) หมด แล้วก็ยืดหยุ่น ใช้งานได้หลากหลาย — kijjaz (myspace) สนป่าว? 😀…
-
Master in Interface Culture
หลักสูตรน่าสนใจมั๊ย? ปริญญาโท ที่ออสเตรีย 🙂 Master in Interface Culture Institute of Media Design, Kunstuniversität Linz, Austria programme structure The two-year graduate programme Interface Cultures provides insight into the artistic/scientific treatment and development of interactive media. In particular, the programme focuses on the development of human-machine, human-human and machine-machine interaction and their application in art, research, design,…