Tag: Netizen

  • แบบสำรวจ “สิทธิเสรีภาพในอินเทอร์เน็ต” – An Online Survey on Internet Rights and Freedom

    เชิญร่วมตอบแบบสอบถาม เรื่อง “สิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต” เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ความคิดเห็นต่อการดูแลอินเทอร์เน็ต และอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน — แบบสอบถามใช้เวลาทำประมาณ 7 นาที http://bit.ly/netfreedom-q ผลสำรวจจะถูกนำเสนอในงานเสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” (ดูรายละเอียดด้านล่าง) เสวนา “การเมืองกับโลกออนไลน์” วันเวลา: อาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2552 13.00-16.00น. สถานที่: สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน (แผนที่: http://tja.or.th/map.jpg, เว็บไซต์: http://tja.or.th/) เป้าหมาย: เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สนใจในการนำอินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ มาเป็นเครื่องมือในการช่วยผลักดันนโยบายจากภาคประชาชน การตรวจสอบนักการเมืองและพรรคการเมือง ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยบนอินเทอร์เน็ต รูปแบบงาน: เสวนากลุ่มย่อยระหว่างผู้สนใจ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เสวนา กำหนดการ: 13:00-13:30 “เสรีภาพในการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์” โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) 13:30-14:00 “การสำรวจความคิดเห็นด้านการเมืองของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทย” โดย Siam Intelligence Unit 14:00-14:30 “เว็บไซต์ฐานข้อมูลนักการเมืองไทย” โดย…

  • Protect Our Internet (English translation + Facebook)

    followed up the previous post (get the media kit there). ผู้ใช้ Facebook เข้าร่วมกลุ่ม Protect Our Internet group หรือเพิ่มแอพพลิเคชั่น Protect Our Internet application ได้ตามสะดวกครับ [ ผ่าน pittaya ] Manifesto from Internet users and bloggers who support rights and freedom of expression on the Internet 29 May 2008 Subject: A call for accountability from Thepthai Senpong and…

  • Protect Our Internet — online petition

    จาก http://gopetition.com/online/19589 (ดูต้นฉบับ และร่วมลงชื่อได้ที่ลิงก์ดังกล่าว) แถลงการณ์จาก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อพลเมือง ผู้สนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 29 พฤษภาคม 2551 เรื่อง ขอเรียกร้องความรับผิดชอบจากนายเทพไท เสนพงศ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ และขอเชิญชวนพลเมืองทุกคนร่วมกันปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตามที่นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเปิดเผยรายชื่อ 29 เว็บไซต์ ว่าเป็นเว็บไซต์อันตรายที่ส่อเค้าหมิ่นเบื้องสูง พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการ ตามข่าวทางสื่อมวลชนทั่วไป ความแจ้งแล้วนั้น พวกเราดังมีรายนามข้างท้ายมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1. เราเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ต้องได้รับการเคารพและปกป้อง สังคมประชาธิปไตยทุกสังคม ที่ปรารถนาความสงบสุข สันติภาพ และความสมานฉันท์ จำเป็นต้อง ส่งเสริม และ ปกป้อง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนอย่างเต็มที่ เหตุเพราะความเคารพและความเข้าใจอันดีต่อกัน “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมที่ผู้คนมีความแตกต่างหลากหลาย และหนทางเดียวที่จะนำเราไปสู่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจและเคารพกันได้ คือสภาพสังคมที่เอื้อให้ทุก ๆ คน มีสิทธิเสรีภาพในแสดงออกด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ ประตูที่จะนำไปสู่ความยอมรับเคารพซึ่งกันและกัน จะถูกปิดตาย เมื่อปากและใจของเราถูกบังคับให้ปิดลง 2. เราไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง รายชื่อเว็บไซต์และเว็บล็อกส่วนใหญ่ที่ถูกระบุชื่อ มิได้นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาที่หมิ่นพระมหากษัตริย์…

  • Netizen Unite!

    ศิริพร สุวรรณพิทักษ์ (ปุ๊ก) เว็บมาสเตอร์ 212cafe.com ได้ประกันตัวแล้ว — หลังนอนในห้องขังหนึ่งคืน อ่านบล็อกของปุ๊ก: 212cafe.com เป็นข่าว! เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ มติชน ออนไลน์ และ ผู้จัดการ ออนไลน์ ลงข่าวชวนเข้าใจผิด และตัดสินปุ๊กไปแล้วในข่าว-โดยไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักฐานที่ปรากฎ มติชนพาดหัวว่า “จับเว็บมาสเตอร์เว็บโป๊ แพร่ภาพคลิปลับว่อนเน็ต” ถ้านักข่าวมติชนใช้เวลาสักหนึ่งนาทีดูเว็บไซต์ 212cafe.com เสียหน่อย ก็จะรู้ว่ามันไม่ใช่เว็บโป๊ (เว็บไซต์ที่มีแต่ภาพโป๊หรือเนื้อหายั่วยุทางเพศ) ผู้จัดการพาดหัวว่า “ปดส.จับเจ้าของเว็บลามก แพร่ภาพเริงรักหนุ่มสาว” พร้อมลงรูปประกอบข่าว รูปหนึ่งเป็นภาพจับหน้าจอจากเว็บโป๊แห่งหนึ่ง-ซึ่งไม่ใช่ 212cafe.com ชวนให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่านั่นเป็นภาพที่จับหน้าจอมาจากเว็บ 212cafe.com (ล่าสุดได้มีการเปลี่ยนรูปแล้ว-แต่ไม่ได้แจ้งว่ามีการเปลี่ยนเกิดขึ้น) อันนั้นเป็นเรื่องของการนำเสนอในสื่อ-การตัดสินโดยพาดหัว อีกเรื่องก็คือ มาตรฐานในการจับกุมดำเนินคดีหรือการ “ขอความร่วมมือ” เรื่องที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมาการ “ขอความร่วมมือ” มีในลักษณะด้วยจาวาทางโทรศัพท์บ่อย ๆ คำถามคือ มันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ไหม กับการบอกกล่าวด้วยวาจา ทางโทรศัพท์ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อีกฝากหนึ่งของโทรศัพท์ ที่ขอความมือมานั้น เป็นใคร มีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น…

  • The Future of the Internet–and How to Stop It

    อนาคตของอินเทอร์เน็ต และจะหยุดมันอย่างไร เจอหนังสือเล่มนี้จากเว็บ EFF (มูลนิธิ Electronic Frontier Foundation — องค์กรต่างชาติ!) The Future of the Internet—and How to Stop It โดย Jonathan Zittrain ศาสตราจารย์ด้านการปกครองและการวางระเบียบอินเทอร์เน็ต ที่ Oxford Internet Institute หนังสือนี้อธิบายถึงกลจักรสำคัญที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเติบโตและแพร่หลายไปทั่วอย่างทุกวันนี้ และเผยให้เห็นว่า ปัญหาต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ ก็เกิดมาจากความสำเร็จอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตเอง และโดยไม่รู้ตัว ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกันเองนี่แหละ ที่จะนำมันไปสู่ระบบที่ถูกล็อก ทำให้นวัตกรรมต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ก็จะถึงจุดจบ และนั่นก็จะนำไปสู่การควบคุมอินเทอร์เน็ตโดยคนไม่กี่กลุ่ม หนังสือยกตัวอย่างถึง ไอพอด ไอโฟน เครื่องเล่นเกม เอกซ์บ็อกซ์ และกล่องรับทีวี ทิโว ซึ่งเป็นคลื่นลูกแรกของเครื่องใช้ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ต ที่ไม่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปแก้ไขดัดแปลงมันได้โดยง่าย เว้นแต่จะเป็นผู้แทนจำหน่ายเท่านั้น “เครื่องใช้ที่ถูกพันธนาการ” นี้ ไม่ค่อยเป็นที่รู้กันนักว่าเกิดขึ้น แต่สิ่งที่มันทำนั้น…

  • Nation-State and the Netizen

    เราสามารถนำคำอธิบายความขัดแย้ง ระหว่าง รัฐ (state) กับ ชาติ (nation, กลุ่มคน) มาใช้อธิบายความขัดแย้งระหว่าง รัฐ กับ ชาว(เผ่า)อินเทอร์เน็ต ได้ไหม ? ชาวอินเทอร์เน็ตบางส่วน มีคุณค่าพื้นฐานที่ยึดถือร่วมกันอยู่ เช่น netiquette, open-source culture, hacker ethic และเป็นลักษณะที่ข้ามเขตพรมแดน เลยขอบเขตของรัฐออกไป (แฮกเกอร์เวียดนามก็ยึดถือคุณค่าเดียวกับแฮกเกอร์ญี่ปุ่น เป็นต้น) อย่างนี้แล้ว แม้ชาวอินเทอร์เน็ตกลุ่มนั้นจะไม่ถึงขนาดนับเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ได้ แต่เราจะเรียกว่า เผ่า (tribe) จะพอไหวไหม ? Netizen ? แล้วกรณีที่รัฐพยายามจะเข้ามาจัดการจัดระเบียบอินเทอร์เน็ต (รวมถึงการเซ็นเซอร์) ก็คือการที่รัฐพยายามจะมามีอำนาจเหนือชาติ (อินเทอร์เน็ต) ส่วน(คนใน)ชาตินั้นก็พยายามจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง แต่ความพยายามของรัฐ จะประสบความยากลำบากอย่างหลีกหนีไม่พ้น เพราะเครื่องมือของรัฐนั้น มีขีดจำกัดอำนาจอยู่แค่ในเขตแดนของรัฐเท่านั้น ในขณะที่ชาติครอบคลุมเกินไปกว่า นึก ๆ เรื่องนี้ขึ้นมาได้ ระหว่างอ่าน รัฐ-ชาติกับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่ โดย…

Exit mobile version