-
Timeline of SIM registration in Thailand + Notes on regulatory impact assessment
Do we pay the high prices of our personal data for, in the end, low or no benefits at all? Timeline of SIM registration policy development from 2005 up until early 2018.
-
OTT (Over the Top) คืออะไร?
“Over-the-Top” (OTT) มีความหมายโดยทั่วไปถึงเนื้อหาหรือบริการที่ถูกส่งผ่านโครงข่ายที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำสิ่งดังกล่าวตั้งแต่ต้น OTT จึงถูกเรียกในภาษาทั่วไปว่า “value added” ซึ่งหมายถึงเนื้อหาหรือบริการที่สร้าง “มูลค่าเพิ่ม” จากเนื้อหรือบริการพื้นฐานที่โครงข่ายถูกออกแบบมาแต่แรก
-
จะเป็นกสทช.ของไทยต้องวัยวุฒิเพียบพร้อม ว่าที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสยังเป็นไม่ได้เลย
ตามพ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ว่าที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่เพิ่งได้รับเลือกไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นกรรมการกสทช.ไม่ได้นะครับ — อายุไม่ถึงน่ะ
-
ประวัติกฎหมายลงทะเบียนซิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ (2548 – ยุคก่อนประกาศกสทช.)
ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ออกกฎหมายควบคุมซิม ถ้าหากกทช.เห็นว่าทำไม่ได้ ให้ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495 ของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดให้รัฐสามารถควบคุมโภคภัณฑ์เพื่อสวัสดิภาพของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ
-
#มาตรา37 #กสทช. สื่อ กับสังคมโคตรอ่อนไหว อยากจะร้องไห้
ที่เคยทำงานเคยเรียนกันมาแล้วเห็นว่าดีว่าเหมาะ ตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1980 หรือ 1990 คำถามคือมันยังเหมาะกับวันนี้ไหม? สังคมไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลยหรือ? ไม่มีปัญหาอะไรถ้าเราจะเป็นอนุรักษ์นิยม แต่ถ้ามาอยู่ในสาขาเหล่านี้ ช่วยเป็นอนุรักษ์นิยมของปี 2030 หน่อย อย่าเป็นอนุรักษ์นิยมของปี 1980 เลย
-
ททบ.5 นี่มันททบ.5 จริงๆ ครับ
สาระประโยชน์เพียบครับ “ทีวีบริการสาธารณะ” ของไทย เราจะได้ดูแบบนี้นี่แหละในทีวีดิจิทัล ดูกันไปอีก 15 ปีครับ แหม่ กว่าเขาจะจัดสรรใบอนุญาตกันใหม่v
-
พ.ร.บ.คอม คณะกรรมการ และอย่าปล่อยให้ไอติมละลาย
วันนี้ไปคุย “โต๊ะกลม” ที่สำนักงานเนชั่น มีคนจากทีมร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ (ซึ่งรวมถึงที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และนักกฎหมายของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และตัวแทนจากบริษัทกฎหมายและที่ปรึกษาธุรกิจแห่งหนึ่ง ในฐานะเสียงจากภาคผู้ประกอบการ บนโต๊ะเดียวกันมีนักข่าวเนชั่นอยู่ด้วยสองสามคน รวมถึง @lekasina และ @prartana พร้อมผู้สนใจนั่งฟังอีกจำนวนหนึ่ง ผมไปถึงห้องช้าเป็นอันดับรองสุดท้าย เพราะไม่รู้ห้องและติดต่อผู้จัดไม่ได้ (เลยถือโอกาสกินไส้กรอกอยู่ข้างล่าง-และโดนจับได้พร้อมของกลาง ระหว่างกำลังจะงับ เสียฟอร์มเป็นอันมาก) บรรยากาศท่ัว ๆ ไปโดยรวมดีทีเดียว ทางนักข่าวก็ดูติดตามเรื่องนี้ ทุกคนที่มาร่วมก็แลกเปลี่ยนซักถามได้น่าสนใจ รวมถึงทีมร่างกฎหมายก็รับว่าจะนำเอาความเห็นต่าง ๆ ไปพิจารณา และหลังจากนี้จะเปิดให้มีประชาพิจารณ์ (ยังไม่ได้กำหนด ว่าที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร) มีประเด็นน่าสนใจเรื่อง “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” อยากแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมดังนี้ ทีมร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่ บอกถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่อจะได้คุ้มครองสิทธิผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมถึงคนที่จะใช้บริการอีคอมเมิร์ซ จะได้มีความมั่นใจในความปลอดภัย คำถามก็เลยมีอยู่ว่า ความตั้งใจที่ดีอันนี้ มันสะท้อนออกมาในร่างกฎหมายมากน้อยแค่ไหน (1) ถ้าเราดูที่มาและสัดส่วนของคณะกรรมการฯ ที่จะตั้งขึ้นตามพรบ.ใหม่นี้ (ตามร่างฉบับล่าสุด 20 เม.ย. 2554) จะเห็นว่า จำนวนกรรมการที่มาจาก “ตำรวจ” และ…