Tag: multiculturalism

  • “รวมมิตร” บาร์แคมป์เวียงจันทน์ #barcampvte

    “รวมมิตร” บาร์แคมป์เวียงจันทน์ #barcampvte

    เอียน ชายอเมริกัน บอกผมถึงข้อสังเกตหนึ่ง เกี่ยวกับคนในภูมิภาคนี้ เขาพบว่าคนลาว เขมร เวียดนาม พยายามจะสื่อสารกับพวกเขาด้วยภาษาอังกฤษ ในขณะที่คนไทยพูดน้อยกว่ามาก … เอียนบอกว่า บางทีนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่คนไทยรู้สึกประหม่า ไม่กล้าคุยกับฝรั่ง เพราะกลัวออกเสียงผิด … ผมรู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้เดินทางเยอะ ตาได้เห็นความไม่ปกติอันเป็นปกติ และหูได้ฟังภาษาและสำเนียงอันหลากหลาย … การได้เห็นอะไรที่ผิดความคาดหมายบ่อย ๆ มันก็สอนให้เราเผื่อใจ และไม่ตัดสินคนจากความแผก หรือไปมองว่ามันเป็นสาระสำคัญ จนมองข้ามเรื่องอื่น … ผมคิดว่าปัญหาอะไรหลาย ๆ อย่าง มันก็มาจากทัศนคติแค่นี้แหละ

  • [22-23 Dec] Conference on Nationalism and Multiculturalism

    ประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม” 22-23 ธ.ค. 2551 @ เชียงใหม่ http://202.28.25.21/conf2008/ สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นมาพร้อมๆ กับการกระบวนการสร้างรัฐชาติ ได้ส่งผลต่อการให้นิยามวัฒนธรรมประจำชาติและอัตลักษณ์ประจำชาติ ศาสนา ภาษา แนวคิดเรื่องการพัฒนาและระบบคุณค่าทางสังคมภายใต้รัฐชาติไทย เหล่านี้ ได้นำไปสู่การกดทับ และทำลายอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของกลุ่มคนที่ด้อยกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนกลุ่มอารยธรรมย่อย นอกจากนี้ ยังนำไปสู่อคติทางชาติพันธุ์ ที่มองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปอย่างเป็น “คนอื่น” และการสร้างภาพแบบเหมารวม เช่น ชาวเขาทำลายป่าและค้ายาเสพติด ชาวมุสลิมชอบใช้ความรุนแรง ในบางครั้งนำไปสู่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และความรุนแรงในสังคม นอกจากนี้ นโยบายการพัฒนาภายใต้วาทกรรมความทันสมัย ผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐที่เข้าไปดำเนินงานในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มักมุ่งเน้นไปที่ปัญหาความมั่นคงของชาติและการส่งเสริมให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร การปรับเปลี่ยนจากวิถีชีวิตแบบยังชีพเข้าสู่ระบบการตลาด โครงการพัฒนาต่างๆ นั้น ยังละเลยการให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วยความหลากหลายและซับซ้อนของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น พลังทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง ซึ่งมิไม่ได้เปิดพื้นที่ให้กลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ได้ตอบโต้หรือเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน การประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม”…

Exit mobile version