Tag: laws

  • Override / Overrule ปัญหาการเลื่อนบังคับใช้บางหมวดของกฎหมายลำดับสูงกว่าด้วยกฎหมายลำดับต่ำกว่า

    กรณีของการพยายามจะเลื่อนบังคับใช้บางหมวดของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยการออกพ.ร.ฎ.มางดเว้นนี่ก็น่าสนใจ คือคิดแบบภาวะปกติเลยนะ ไม่ต้องมีภาวะพิเศษหรือรัฐประหาร ตัวพระราชบัญญัตินั้นจะประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับได้ ต้องอาศัยรัฐสภาเห็นชอบ ส่วนพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีที่มีอำนาจตามกฎหมายนั้นๆ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาได้เลย ตามที่กฎหมายดังกล่าวได้ให้อำนาจนิติบัญญัติบางส่วนเอาไว้กับฝ่ายบริหาร ทีนี้ มันมีสิ่งน่าสนใจ 2 อย่าง ที่กรณีการพยายามเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยพ.ร.ฎ. ซึ่งตามลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทยนั้น ตัวพ.ร.ฎ.อยู่ต่ำกว่าพ.ร.บ. 1) การที่เกิดภาวะแบบนี้ได้ เพราะกฎหมายในมาตราที่ให้อำนาจกับรัฐมนตรีในการออกพ.ร.ฎ.นั้น มีผลใช้บังคับแล้ว รัฐมนตรีจึงจะนำอำนาจดังกล่าวมางดเว้นการบังคับใช้กฎหมายหมวดที่ยังไม่ถูกบังคับใช้ (จากเดิมที่เราคิดว่า กฎหมายต้องถูกใช้ก่อน แล้วการงดเว้นค่อยตามมา) การที่กฎหมายฉบับนี้ หรือฉบับใดๆ ก็ตามมีการกำหนดการเริ่มใช้บังคับเป็นหลายขยัก ทำให้เกิดสถานการณ์แบบนี้ได้ ใช่หรือไม่? (ถ้ากฎหมายทั้งฉบับยังไม่ถูกใช้บังคับเลย โดยเฉพาะมาตราที่ให้อำนาจกับรัฐมนตรีในการออกพระราชกฤษฎีกา สถานการณ์แบบนี้จะไม่เกิด หรือไปเกิดด้วยช่องทางอื่น?) 2) ในแง่ศักดิ์และลำดับอำนาจของกฎหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับหนึ่ง (กรณีนี้คือส่วนที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของประชาชน) ที่รัฐสภาพิจารณาประกาศเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติแล้ว สามารถถูกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกกฎหมายระดับพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีลำดับต่ำกว่า มาเลื่อนการบังคับใช้ได้ และถ้ายอมให้มีการเขียนกฎหมายลักษณะนี้ โดนไม่มีการท้าทายทางรัฐธรรมนูญ ก็เป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่า การเลื่อนหรือการงดเว้นนี้จะสามารถถูกต่ออายุออกไปได้เรื่อยๆ เท่ากับในทางปฏิบัติ จะมีสภาพเหมือนไม่เคยมีการตราพระราชบัญญัติในส่วนสาระสำคัญขึ้นมาเลย นี่เป็นโจทย์ที่น่าคิด ว่าจะทำอย่างไร ในกรณีนี้และกรณีทั่วไป ให้สามารถจำกัดอำนาจของฝ่ายบริหารไม่ให้สร้างสภาวะมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติในลักษณะนี้ให้เกิดขึ้นได้ แต่การคาดหวังกับฝ่ายตุลาการให้ช่วยดุลอำนาจ…

  • Timeline of SIM registration in Thailand + Notes on regulatory impact assessment

    Do we pay the high prices of our personal data for, in the end, low or no benefits at all? Timeline of SIM registration policy development from 2005 up until early 2018.

  • ออกแบบอำนาจ: อ่านโครงสร้างคณะกรรมการในกฎหมายไทย

    คำถามที่อยากค้นหาคือ เราจะดูตรงไหนได้บ้าง ว่าคณะกรรมการหนึ่งๆ มีกระบวนการสรรหาที่อย่างเหมาะสม ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน มีอิสระในการทำงาน มีอำนาจในการทำงาน และอำนาจนั้นมีกลไกตรวจสอบชัดเจน ก็เลยไปดูในกฎหมายว่าเขาออกแบบโครงสร้างอำนาจกันอย่างไร

  • Sunset Provision – กำหนดวันหมดอายุให้กฎหมาย

    Sunset Provision – กำหนดวันหมดอายุให้กฎหมาย

    ว่าด้วยแนวคิด “Sunset” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเขียนกฎหมายอย่างหนึ่ง เพื่อกำหนดให้กฎหมายมีสภาวะ “ชั่วคราว” และหมดอายุลงเมื่อถึงเวลาที่ระบุ และถ้าอยากจะใช้ต่อก็ต้องออกกฎหมายมาต่ออายุ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มีการทบทวนแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงพิจารณาข้อมูลเชิงประจักษ์จากประสบการณ์การบังคับใช้กฎหมายในช่วงที่ผ่านมา ในที่นี้ยกตัวอย่าง USA PATRIOT Act ซึ่งมาตราที่เกี่ยวกับการดักฟัง-ความเป็นส่วนตัว ถูกเขียนให้เป็น sunset provision

  • “ข้อยกเว้น” ที่อาจทำลายหลักการของร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลลงไปทั้งฉบับ #ไร้ค่า

    อ่านข้อยกเว้นในร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มองคดีศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปตัดสินว่าข้อตกลง “Safe Habour” ระหว่างสหรัฐกับอียูเป็นโมฆะ แล้วเตือนใจตัวเองว่า ระวังอย่าให้ “ข้อยกเว้น” มาทำลายหลักการการคุ้มครองเป็นการทั่วไป ไม่อย่างนั้นมีกฎหมายไปก็เหมือนไม่มี #ไร้ค่า

  • รายงานศึกษาและบทความกฎหมายอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ จากคณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯ

    รายงานศึกษาและบทความกฎหมายมาจากเว็บไซต์ คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ครับ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสหราชอาณาจักร ผลกระทบของโครงการห้องสมุดดิจิทัล (Google Library Project) : “ละเมิดลิขสิทธิ์” หรือ “ประโยชน์สาธารณะ” การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในชื่อของงาน: ก้าวใหม่และความท้าทายในกฎหมายลิขสิทธิ์ ความเป็นกลางในการให้บริการอินเทอร์เน็ต (Net Neutrality) คณะกรรมการมีเฟซบุ๊กด้วย อยู่ที่ Thai Law Reform Commission (TLRC)

  • สาวตรี สุขศรี: ว่าด้วยหลักกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550

    อาจารย์กฎหมายธรรมศาสตร์ ตอบคำถามว่าด้วยหลักการบัญญัติกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบัน (2550) มีอะไรพิเศษไปกว่ากฎหมายอาญาทั่วไป ?

  • Z to A: The Future of the Net (and how to stop it)

    (a draft from 2008) Tony Curzon Price blogs about Jonathan Zittrain‘s LSE lecture on “The Future of the Net (and how to stop it)” From Zittrain to Aristotle in 600 words technorati tags: Internet, governance

  • National School of Legal Technology

    จากผนังห้องของ @theniw (23 ธ.ค. 2553) ข่าววันนี้ : ปปช. ยกคำร้องคดีภาณุพงษ์ซ้อมทรมานผู้ต้องหาปล้นปืน , ปปช. ยกคำร้องอภิสิทธิ์และกรณ์กรณีส่ง sms , ปปช. ยกคำร้องตั้งกษิตเป็นรมต.ทั้งที่มีความผิดเรื่องปิดสุวรรณภูมิ ยกคำร้องเรื่องซ้อมทรมานผู้ต้องหาในความควบคุม เพราะหลักฐานที่พบมีเพียงภาพถ่ายรอยบาดแผลที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ไม้ที่มีตะปูตีศีรษะและรอยแผลที่หัวคิ้ว แต่ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นแผลที่เกิดขึ้นระหว่างควบคุมตัว ขณะที่เมื่อตรวจชันสูตรร่างกายแล้วไม่พบร่องรอย (ข่าวไม่ได้บอกว่าชันสูตรตรวจร่างกายวันไหน) ยกคำร้องคดีเอสเอ็มเอส เพราะวันที่ส่งเอสเอ็มเอส อภิสิทธิ์กับกรณ์ยังไม่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า จึงไม่นับเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง ยกคำร้องเรื่องตั้งกษิตเป็นรมต.ทั้งที่ยังมีเรื่องผิดสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะ ไม่มีมูล กราบฝ่ายเทคนิค ประเทศยกคำร้อง (อันปกครองด้วยพจนานุกรม) technicality [ˌtɛknɪˈkælɪtɪ] 1. a petty formal point arising from a strict interpretation of rules, etc. the case was dismissed on a technicality (Collins…

  • Fuck เย็ด

    ชื่อบทความวิชาการนิติศาสตร์: เย็ด บทคัดย่อ: บทความนี้เรียบง่ายและยั่วยุอารมณ์ดังที่ชื่อมันบอกเป็นนัย: มันสำรวจความหมายโดยนัยในทางกฎหมายของคำว่า เย็ด (fuck). จุดที่คำว่าเย็ดและกฎหมายนั้นบรรจบกันได้ถูกพิจารณาในสี่อาณาบริเวณหลัก: บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาฉบับที่หนึ่ง (ว่าด้วยสิทธิในความเชื่อและการแสดงออก), กฎข้อบังคับการกระจายเสียง, การละเมิดทางเพศ, และการศึกษา. ความเกี่ยวพันทางกฎหมายจากการใช้คำว่าเย็ดนั้นหลากหลายอย่างมากตามบริบท. แหล่งอำนาจของคำว่าเย็ดที่นอกเหนือจากทางกฎหมายได้ถูกพิจารณา เพื่อจะเข้าใจอำนาจทางกฎหมายของคำว่าเย็ดได้อย่างเต็มที่. บนฐานของการวิจัยโดยนักศัพทมูลวิทยา (etymologist) นักภาษาศาสตร์ นักพจนวิทยา (lexicographer) นักจิตวิเคราะห์ และนักสังคมศาสตร์อื่น ๆ ปฏิกริยาตอบสนองโดยสัญชาตญาณต่อคำว่าเย็ด สามารถอธิบายได้ด้วยสิ่งต้องห้ามทางวัฒนธรรม (cultural taboo). เย็ด เป็นคำต้องห้าม. ต้องห้ามเสียจนบังคับให้คนจำนวนมากต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง. กระบวนการทำให้เงียบนี้ ได้อนุญาตให้คนส่วนเล็ก ๆ ของประชากรทั้งหมด จัดการยักย้ายสิทธิของพวกเราโดยอ้างว่าสะท้อนเสียงส่วนใหญ่. จากนั้นสิ่งต้องห้ามจึงได้ถูกทำให้เป็นสถาบันผ่านกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันก็ตึงเครียดกับสิทธิทางกฎหมายอื่น ๆ. ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและสิ่งต้องห้ามนี้ ในที่สุดได้ทำให้เกิดหลักวิชา เย็ดนิติศาสตร์ (fuck jurisprudence) คำสำคัญ: Cohen, Pacifica, First Amendment, psycholinguistics อ่านฉบับเต็มที่: Fairman, Christopher M., Fuck…

Exit mobile version