Tag: Internet governance

  • Netizen Unite!

    ศิริพร สุวรรณพิทักษ์ (ปุ๊ก) เว็บมาสเตอร์ 212cafe.com ได้ประกันตัวแล้ว — หลังนอนในห้องขังหนึ่งคืน อ่านบล็อกของปุ๊ก: 212cafe.com เป็นข่าว! เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์ มติชน ออนไลน์ และ ผู้จัดการ ออนไลน์ ลงข่าวชวนเข้าใจผิด และตัดสินปุ๊กไปแล้วในข่าว-โดยไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักฐานที่ปรากฎ มติชนพาดหัวว่า “จับเว็บมาสเตอร์เว็บโป๊ แพร่ภาพคลิปลับว่อนเน็ต” ถ้านักข่าวมติชนใช้เวลาสักหนึ่งนาทีดูเว็บไซต์ 212cafe.com เสียหน่อย ก็จะรู้ว่ามันไม่ใช่เว็บโป๊ (เว็บไซต์ที่มีแต่ภาพโป๊หรือเนื้อหายั่วยุทางเพศ) ผู้จัดการพาดหัวว่า “ปดส.จับเจ้าของเว็บลามก แพร่ภาพเริงรักหนุ่มสาว” พร้อมลงรูปประกอบข่าว รูปหนึ่งเป็นภาพจับหน้าจอจากเว็บโป๊แห่งหนึ่ง-ซึ่งไม่ใช่ 212cafe.com ชวนให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่านั่นเป็นภาพที่จับหน้าจอมาจากเว็บ 212cafe.com (ล่าสุดได้มีการเปลี่ยนรูปแล้ว-แต่ไม่ได้แจ้งว่ามีการเปลี่ยนเกิดขึ้น) อันนั้นเป็นเรื่องของการนำเสนอในสื่อ-การตัดสินโดยพาดหัว อีกเรื่องก็คือ มาตรฐานในการจับกุมดำเนินคดีหรือการ “ขอความร่วมมือ” เรื่องที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมาการ “ขอความร่วมมือ” มีในลักษณะด้วยจาวาทางโทรศัพท์บ่อย ๆ คำถามคือ มันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ไหม กับการบอกกล่าวด้วยวาจา ทางโทรศัพท์ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อีกฝากหนึ่งของโทรศัพท์ ที่ขอความมือมานั้น เป็นใคร มีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น…

  • The Future of the Internet–and How to Stop It

    อนาคตของอินเทอร์เน็ต และจะหยุดมันอย่างไร เจอหนังสือเล่มนี้จากเว็บ EFF (มูลนิธิ Electronic Frontier Foundation — องค์กรต่างชาติ!) The Future of the Internet—and How to Stop It โดย Jonathan Zittrain ศาสตราจารย์ด้านการปกครองและการวางระเบียบอินเทอร์เน็ต ที่ Oxford Internet Institute หนังสือนี้อธิบายถึงกลจักรสำคัญที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเติบโตและแพร่หลายไปทั่วอย่างทุกวันนี้ และเผยให้เห็นว่า ปัญหาต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ ก็เกิดมาจากความสำเร็จอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตเอง และโดยไม่รู้ตัว ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกันเองนี่แหละ ที่จะนำมันไปสู่ระบบที่ถูกล็อก ทำให้นวัตกรรมต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ก็จะถึงจุดจบ และนั่นก็จะนำไปสู่การควบคุมอินเทอร์เน็ตโดยคนไม่กี่กลุ่ม หนังสือยกตัวอย่างถึง ไอพอด ไอโฟน เครื่องเล่นเกม เอกซ์บ็อกซ์ และกล่องรับทีวี ทิโว ซึ่งเป็นคลื่นลูกแรกของเครื่องใช้ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ต ที่ไม่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปแก้ไขดัดแปลงมันได้โดยง่าย เว้นแต่จะเป็นผู้แทนจำหน่ายเท่านั้น “เครื่องใช้ที่ถูกพันธนาการ” นี้ ไม่ค่อยเป็นที่รู้กันนักว่าเกิดขึ้น แต่สิ่งที่มันทำนั้น…

  • Goliath vs Networked Davids

    Goliath vs Networked Davids somewhat self-regulated Internet and power of grassroot reporters ? ข้างล่างเป็นเมลที่เพิ่งส่งออกไป ขี้เกียจจัดหน้า แปะมันงี้เลยละกัน จะนอนแล้ว เมื่อคนเล่นเน็ต/ผู้ใช้บริการ ตรวจสอบ เว็บไซต์/ผู้ให้บริการ ที่ทำผิด norm [บรรทัดฐาน] ของสังคมอินเทอร์เน็ต (แม้ว่าอาจจะไม่ผิดกฎหมายก็ตาม) ผมคิดว่าเรื่องเว็บไซต์ ไม่ใช่เรื่องน่าสนใจนัก (เว็บไซต์ประเภทนี้มีเยอะแยะ) เมื่อเทียบกับกระบวนการทั้งหมดที่ทำให้เรื่องมัน ‘แดง’ และ ‘ดัง’ ขึ้นมา ผมคิดว่ากระบวนการนี้น่าสนใจ จึงขอลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกัน (กรุณาอ่านต่อในรายละเอียดต่อเองในแต่ละลิงก์ – ศัพท์บางคำอาจจะใหม่ แต่ไม่น่าจะยากเกินทำความเข้าใจ) ผมขอแสดงความเห็นในเรื่องนี้ก่อน ก่อนจะเข้าส่วนของลำดับเหตุการณ์: เรื่อง blackhat SEO, spamdexing เป็นเรื่องผิดมารยาทต่อผู้ประกอบการรายอื่น และละเมิดสิทธิในการรับรู้ข่าวสารที่มีคุณภาพของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต — Google, Yahoo!, Microsoft…

Exit mobile version