Tag: HTML

  • Web Character Simplification Chart 0.1 #opendream

    ก่อนจะประมวลผลข้อความ เราจำเป็นต้องทำความสะอาดข้อความเสียหน่อย ทั่ว ๆ ไปที่จำเป็นต้องทำ ก็เช่น แปลง new line (\r\n หรือ \n), หรือแปลงให้อยู่ในชุดอักขระ (character set) ที่โปรแกรมใน processing pipeline จะทำงานได้ เช่นแปลง ä เป็น ae หรือแปลง “ ” เป็น ” “, หรือการ normalize ลำดับอักขระ เช่น น.หนู+สระอำ+ไม้โท → น.หนู+ไม้โท+สระอำ, หรือไปถึงขั้นซับซ้อน อย่างแก้ตัวสะกด (กรณีเป็นงานลักษณะจดหมายเหตุ หรือ archival ก็อาจจำเป็นต้องเก็บตัว raw text ก่อนแปลงเอาไว้ด้วย เพราะการแปลงอาจจะ(และมักจะ)เป็น lossy คือแปลงไปแล้วแปลงกลับมาได้ไม่เหมือนเดิม เช่นตัวอย่างข้างบน ที่แปลง “ ” เป็น ” “)…

  • Provinces of Thailand HTML selection box

    (เลือกจังหวัด)นอกประเทศไทยกรุงเทพมหานครเชียงรายเชียงใหม่น่านพะเยาแพร่แม่ฮ่องสอนลำปางลำพูนสุโขทัยอุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ขอนแก่นชัยภูมินครพนมนครราชสีมาบุรีรัมย์มหาสารคามมุกดาหารยโสธรร้อยเอ็ดเลยสกลนครสุรินทร์ศรีสะเกษหนองคายหนองบัวลำภูอุดรธานีอุบลราชธานีอำนาจเจริญ กำแพงเพชรชัยนาทนครนายกนครปฐมนครสวรรค์นนทบุรีปทุมธานีพระนครศรีอยุธยาพิจิตรพิษณุโลกเพชรบูรณ์ลพบุรีสมุทรปราการสมุทรสงครามสมุทรสาครสระบุรีสิงห์บุรีสุพรรณบุรีอ่างทองอุทัยธานี จันทบุรีฉะเชิงเทราชลบุรีตราดปราจีนบุรีระยองสระแก้ว กาญจนบุรีตากประจวบคีรีขันธ์เพชรบุรีราชบุรี กระบี่ชุมพรตรังนครศรีธรรมราชนราธิวาสปัตตานีพังงาพัทลุงภูเก็ตยะลาระนองสงขลาสตูลสุราษฎร์ธานี HTML option’s values according to TIS 1099-2535 Standard for Province Identification Codes for Data Interchange ค่า value ของแต่ละ option ตาม รหัสจังหวัดเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล (มอก. 1099-2535) download: จังหวัดในประเทศไทย HTML selection box technorati tags: Thailand, HTML, province

  • get semantic with HTML 5

    Lachlan Hunt รีวิว HTML 5 ให้เราดูกันว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในข้อกำหนด HTML รุ่นต่อไปบ้าง พร้อมตัวอย่างและภาพประกอบ (โดย Kevin Cornell) เข้าใจง่าย เมื่อเทียบกับ HTML 4 (รุ่นปัจจุบัน) แล้ว HTML 5 นอกจากจะมีแท็กใหม่ ๆ ที่รองรับเทคโนโลยีเว็บที่พัฒนาขึ้น เช่นแท็กเกี่ยวกับไฟล์ภาพเคลื่อนไหวและเสียงแล้ว อีกจุดสำคัญของ HTML 5 ก็คือ มันจะมี โครงสร้าง (structure) และ ความหมาย (semantic) ที่ชัดเจนขึ้นด้วย เมนู ที่ปรากฎอยู่บนจอ ก็จะถูกระบุว่าเป็นเมนู ไม่ใช่แค่ตารางที่วางอยู่ด้านขวาของจอ ชื่อหนังสือ ที่ปรากฎอยู่บนจอ ก็จะถูกระบุว่าเป็นชื่อหนังสือ ไม่ใช่แค่ข้อความอันหนึ่งที่อยู่หลังคำว่า “ชื่อหนังสือ:” ปัจจุบันนี้ นักออกแบบ/พัฒนาเว็บส่วนหนึ่ง พยายามที่จะเขียนโค้ดหน้าเว็บที่แยกเอา หน้าตา (presentation) ออกมาจาก เนื้อหา (content) ไม่ให้ปะปนกัน โดยส่วนของหน้าตาจะนำไปใส่ใน Cascading…

Exit mobile version