Tag: cultural politics

  • พิธีกรรมสาธารณะ/วันที่ระลึกของไทย – Thai public rituals

    ในโอกาสพิธีกรรมสาธารณะ (ที่ปีนี้จัดอย่างยิ่งใหญ่ยิ่งยวด) รวบรวมและจัดประเภท (วันที่ถูกกำหนดให้เป็น)วันสำคัญ/วันที่ระลึก/วันหยุด จากแหล่งต่าง ๆ (ข้อมูลประกอบบทความที่เขียนไม่เสร็จ พิธีกรรมสาธารณะและสิ่งมันระลึกถึง – การบ้านเมื่อสองเทอมที่แล้ว) พิธีกรรมสาธารณะ/วันที่ระลึกของไทย (Thai public ritual table) รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ (ดูอ้างอิงที่ท้ายตาราง) แล้วทดลองจัดกลุ่มตามสิ่งที่ระลึกถึง ได้จำนวน 20 กลุ่ม – บางวันอาจอยู่ในกลุ่มมากกว่าหนึ่งกลุ่ม เช่น วันยุทธหัตถี (วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ที่อยู่ในกลุ่มการทหาร และกลุ่มสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์, หรือ วันตำรวจ ที่อยู่ในกลุ่มราชการ/การปกครอง และกลุ่มอาชีพ/กลุ่มคน/องค์กร. กลุ่มจากการทดลองจัดนี้ สอดคล้องกับกลุ่มวันสำคัญของไทยที่จัดโดย ธวัชชัย พืชผล (2545). กลุ่ม : จำนวนวัน อาชีพ/กลุ่มคน/องค์กร : 23 สถาบันกษัตริย์/กษัตริย์ : 23 การทหาร : 20 การศึกษา/วิทยาการ : 13 ประเพณี : 10…

  • สมเกียรติ ตั้งนโม กับโครงการทางการเมืองที่ยังไม่เสร็จ

    สมเกียรติ ตั้งนโม กับโครงการทางการเมืองที่ยังไม่เสร็จ อุทิศ อติมานะ ชีวิตนั้นไร้สาระ ว่างเปล่า ผ่านมาแล้วก็ผ่านมา ที่เหลืออยู่เป็นเพียง “ความทรงจำ” เกี่ยวกับการกระทำที่ผ่านมาเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ สมเกียรติ ตั้งนโม อีกชีวิตหนึ่งที่จากไป แต่ก็ยังอยู่ใน “ความทรงจำสาธารณะ” ที่สำคัญอีกบทหนึ่งของสังคมไทย เป็นความทรงจำสาธารณะถึงชีวิตหนึ่งที่มีอุดมการณ์เพื่อ “ผลประโยชน์สาธารณะ” มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท มีวินัยอย่างคงเส้นคงวาตลอดชีวิตที่ผ่านมา ที่ลุกขึ้นต่อสู้กับความไม่เสมอภาค ความไม่รู้ ความไม่ยุติธรรม ความไม่ชอบธรรม ฯลฯ ในสังคมไทยและโลก ดูเหมือนว่าพันธกิจนี้จะยังคงเป็น “งานที่ไม่เสร็จ” ความเป็นสมเกียรติ ตั้งนโม เริ่มต้นจากความไม่เสมอภาค ความไม่รู้ ในวงการศิลปะ จากปัญหาดังกล่าวผลักดันเขาให้สร้างสรรค์ผลงานแปล เรียบเรียง และบทความ เกี่ยวกับความรู้ขั้นสูงร่วมสมัยในศาสตร์ศิลปะและสาขาที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อย่างมากมาย ด้วยความเชื่อส่วนตัวที่ว่า ความคิดเชิงวิจารณ์เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ และความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรม ชอบธรรม จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ยังคงปราศจากความรอบรู้ในศาสตร์ขั้นสูงสาขาต่าง ๆ ซึ่งความรู้เหล่านั้นส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ในโลกของผู้ใช้ภาษาอังกฤษ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ถูกฝึกฝนมาให้เป็นนักแปลมืออาชีพก็ตาม หรือแม้ว่าเขาจะไม่เคยได้รับค่าจ้างแปลใด ๆ ตลอดช่วงเวลากว่า 20…

  • อุปลักษณ์-อัปลักษณ์

    การใช้อุปลักษณ์ (metaphor) ‘พ่อ’/’แม่'(-‘ลูก’) เช่น พ่อของแผ่นดิน อาจารย์แม่ บิดาแห่งวงการ… ฯลฯ ผลที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ (entailment) ในเชิงมโนทัศน์ อย่างหนึ่งก็คือ คนคนนั้นจะมีบุญคุณกับ ‘ลูก’ โดยอัตโนมัติ เป็นบุญคุณที่ชาตินี้ชาติหน้าก็ทดแทนกันไม่หมด ทั้ง ๆ ที่คน ๆ นั้นอาจจะไม่เคยทำอะไรให้ชีวิตคุณดีขึ้นมาแม้แต่น้อย ไม่เคยเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตคุณเลย ผมจึงไม่เห็นด้วยและต่อต้านการมัดมือชก ด้วย metaphor แบบนี้ ผมมีพ่อเดียว แม่เดียว ไม่ต้องเอาใครมาเป็นพ่อเป็นแม่ผมอีก หรือถ้าจะมี ก็ขอให้ผมเป็นคนเลือกใช้เอง ไม่ต้องมาจับยัดแบบผมไม่ได้เลือก (ผมเรียก อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ว่า ‘อาจารย์ย่า’ เพราะรู้สึกอย่างมากว่าคนคนนี้เคารพได้ และข้อเขียนและคำปรึกษาของเขา มีค่ากับผมมาก ทั้งในทางวิชาการและกิจกรรมอื่น ๆ แต่ผมไม่เรียก สุนีย์ สินธุเดชะ ว่า ‘อาจารย์แม่’ แน่ๆ เขาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับผมเลย) —- ผู้สนใจเรื่องอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (conceptual metaphor) วิกิพีเดียมีเขียนแนะนำไว้ หนังสือหลักเล่มหนึ่งของเรื่องนี้คือ…

  • หวัด 2009 และ อคติในการยกตัวอย่าง

    ช่วงนี้ หวัด 2009 ระบาด รักษาสุขภาพด้วย หลีกเลี่ยงการเอามือมาสัมผัส ตา จมูก ปาก (ทีโซน T-zone) — ลดเสี่ยงทั้งหวัด ทั้งสิว สิ่งที่งานสาธารณสุขห่วงตอนนี้ ไม่ใช่ว่ากลัวมันระบาด มันระบาดไปแล้ว ไม่ต้องกลัว ที่กลัวคือกลัวคนเป็นพร้อม ๆ กันเยอะ ๆ แล้วไปโรงพยาบาลพร้อม ๆ กันคราวเดียว โรงพยาบาลจะรับไม่ไหว คนป่วยโรคอื่น ๆ ก็กระทบไปด้วย เจ้าหน้าที่และทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะรับ peak แบบนั้น แต่ถ้าชะลอการติดเชื้อออกไปได้ ให้มันเกลี่ย ๆ ไม่เป็นพร้อม ๆ กันหมด ระบบสาธารณสุขก็จะรับมือไหว มีอาการ คิดว่าเป็นหวัด หยุดอยู่บ้านเลย ไม่ต้องใส่หน้ากากออกมาเพ่นพ่าน รับข่าวสารได้ทางทวิตเตอร์ @flu2009th และเว็บไซต์ www.flu2009thailand.com … มีโอกาสไปได้ยินผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ แสดงความห่วงใยเรื่องดังกล่าว ขอความร่วมมือให้ช่วยกัน … ก็น่ายินดี มีอะไรช่วยเหลือได้ก็แน่นอน จะทำเต็มที่…

  • The Condition of Free Culture

    (เงื่อนไขสู่วัฒนธรรมเสรี) ขอคิดต่อจากพี่เทพ … เป็นไปได้ว่า เหตุหนึ่งที่ free culture หรือ วัฒนธรรมเสรี นั้นยังไม่แพร่หลายหรือไปไม่ถึงไหนในบางสังคม ก็เพราะ วัฒนธรรมในสังคมนั้น ๆ ไปกันไม่ได้กับแนวคิด เสรี เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมเสรี … เสรี = ไม่ต้องขออนุญาต คุณสมบัติหลักของ สัญญาอนุญาตแบบเปิด (open licenses) ก็คือ การผู้นำไปใช้ไม่ต้องขออนุญาตผู้ถือครองลิขสิทธิ์ เพียงผู้นำไปใช้ ตกลงยินดีที่จะทำตามเงื่อนไข ที่ทางผู้ถือครองลิขสิทธิ์ประกาศเอาไว้แล้ว-อย่างชัดแจ้ง-ต่อสาธารณะ เขาก็มีสิทธิจะใช้งานนั้นในทันที สิ่งนี้แปลว่า ถ้าคุณทำตามกติกาเดียวกัน ข้อตกลงเดียวกัน คุณก็จะได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน แต่สิ่งง่าย ๆ แบบนั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องลำบากในสังคมหลายมาตรฐาน ที่กติกาเดียวกันก็มักจะให้ผลกับคนกลุ่มต่าง ๆ ต่างกัน … เป็นไปได้เช่นกันว่า เหตุหนึ่งที่วัฒนธรรมเสรี นั้นถูกเข้าใจเพี้ยน ๆ ไป เช่นว่า เสรี ก็คือ ให้ใช้ฟรี แค่ขออนุญาตกันก็พอ นั้นก็เพราะ…

  • ‘Censorship’ 2.0 : RoyalVDO.com – an organized User-DUPLICATED Content campaign

    ดูคำชักชวนและวิธีการ ใน RoyalVDO.com ที่เชิญชวนให้คนนำวีดิโอเกี่ยวกับในหลวงไปอัปโหลดตามที่ต่าง ๆ เยอะ ๆ เพื่อเป็นการ “ถวายงาน” แก่ในหลวงท่านแล้ว ก็เห็นว่าควรจะเขียนอะไรบางอย่าง ก่อนที่อะไร ๆ มันจะบิดเบี้ยวเลยเถิดไปหมดในสังคมนี้ … แม้แนวคิดโดยรวมของ RoyalVDO.com นั้น “เชื่อได้ว่า” คงจะมีเจตนาดี ผมพบว่ามัน “เกินพอดี” ไปหน่อย … จากหน้า เกี่ยวกับ ของเว็บไซต์ดังกล่าว : หากมีคนไทยจำนวนหนึ่ง ช่วยกัน DownLoad คลิปวิดีโอ แล้วนำไป UpLoad เข้าใน YouTube หรือเว็บ อื่นๆ วันละตอน สองตอน หรือมากกว่า จนรวมกันได้มาก เป็นหมื่น เป็นแสน หากจะมีการสืบค้น โดยใช้คำ ว่า King Thai หรือ King of Thailand หรืออื่นๆ ก็จะพบเป็นหมื่นเป็นแสนเรื่อง…

  • oh your highness "highly educated" PAD

    จากข่าว พันธมิตรฯ ฮุสตัน ต้อนรับ “หมัก” อบอุ่น, ผู้จัดการออนไลน์, 6 พ.ย. 2551 : “… ทั้งนี้ เมืองฮุสตัน มลรัฐเทกซัสถือเป็นเมืองหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีพันธมิตรฯ หนาแน่นมากเมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทยที่มีการศึกษา เป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ พนักงานบริษัท เป็นต้น” หรือพูดง่าย ๆ ว่า เป็นเมืองที่ไม่ค่อยมี “บาบูน” นั่นเองครับ (เหมาะแก่การอยู่อาศัยของพันธมิตรเป็นอย่างยิ่ง) technorati tags: PAD, education, language

  • "Nothing To Say" "ไม่มีอะไรจะพูด" silent films screening – 31 Oct at Pridi Institute

    ไม่มีอะไรจะพูด โครงการพิเศษเกิดขึ้นโดยกลุ่มศิลปินแขนงต่าง ๆ มากกว่าห้าสิบคน อาทิ ผู้กำกับหนัง (ทั้งในระบบและอิสระ), นักวาดภาพประกอบ, ศิลปินภาพถ่าย, นักเรียนหนัง, ครูหนัง, นักวิชาการ, นักเขียน, นักวิจารณ์หนัง, บล็อกเกอร์, นักแสดง, นักดนตรี, ผู้กำกับละครเวที, ศิลปินทัศนศิลป์และสื่อผสม จัดฉายวิดีโอเงียบบนกำแพงตึก เกี่ยวข้องกับสังคม และการเมือง เพื่อสะท้อนภาพความคิดของศิลปินในฐานะประชาชนชาวไทย ที่มีต่อสภาพบ้านเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยได้รับความร่วมมือจาก สถาบันปรีดี พนมยงค์ และมูลนิธิหนังไทย โดยในครั้งที่ 1 นี้ จะแสดงบนกำแพงภายในตึกสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์: ศิลปกับสังคม ครบรอบ 35 ปี 14 ตุลาคม 2516 (เทศกาลนี้มีวันที่ 18 ต.ค. – 2 พ.ย. 2551) โดยโครงการ ไม่มีอะไรจะพูดนี้ จะจัดแสดงครั้งแรก ในวันที่ 31 ต.ค.…

  • ReadCamp started (some how), call for SELF-organization 😉

    คอนเซปต์ของ ReadCamp หรือ “กางมุ้งอ่าน” ก็ยังตามที่ทวีตคุย ๆ กัน และที่โพสต์ถามลงใน Culture Lab คือจะเป็นงานลักษณะ unconference ทำนอง BarCamp ที่ชวนผู้ร่วมงานมาเสนอเรื่องการ “อ่าน” แล้วก็แลกเปลี่ยนกัน อ่าน หนังสือ. อ่าน หนัง. อ่าน เพลง. อ่าน โปสเตอร์. อ่าน โฆษณา. อ่าน เสื้อยืด. อ่าน พฤติกรรม. อ่าน trend. อ่าน วัฒนธรรม. อ่าน ปุ่มบนไมโครเวฟ user interface. อ่าน ตึก สถาปัตยกรรม. อ่าน การ์ตูน. อ่าน ภาพวาด งานศิลปะ. … … นั่นคือ เป็น “อ่าน” ในความหมายที่กว้างที่สุดนั่นเอง. ทั้งการอ่านตามตัวบท ตีความ…

  • What is an alternative media ?

    บางทีเราอาจจะต้องดีใจในบางขณะ ที่เราอยู่ในสถานะถูกควบคุมคุกคามเช่นนี้ เพราะนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า เรายังเป็นสื่อทางเลือกอยู่ และไม่ได้ลืมความเป็นตัวตนของเราไป บางทีการเป็นสื่อทางเลือก อาจจะหมายถึง การทำให้ตัวเองอยู่ในฐานะหมิ่นเหม่ ท้าทาย “เป็นตัวปัญหากับความคิดกระแสหลัก” อยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ก็เป็นได้ เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าย ไม่ได้เป็นสิ่งจำเพาะใด ๆ เป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นศาสนจักร สถาบัน วิทยาศาสตร์ ท้องถิ่น หรือโลกาภิวัฒน์ แต่สิ่งที่สื่อทางเลือกท้าท้าย ก็คือสิ่งที่เป็น “ปกติ” “ธรรมชาติ” ในสังคม ในวันที่ศาสนจักรมีอำนาจเหนือสังคม สื่อทางเลือกคือเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้กล้าตายที่ประกาศว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างโลก มนุษย์กำหนดชะตากรรมตนเองได้ พวกเขาเป็นตัวปัญหาของสังคม หลายคนถูกตราหน้าว่าเป็นพวกนอกศาสนานอกรีต และถูกเผาทั้งเป็น เวลาผ่านไป ในวันหนึ่ง วันที่วิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นวาทกรรมที่มีอำนาจเหนือสังคม สิ่งที่สื่อทางเลือกเสนอก็จะไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกต่อไป แต่เป็นคุณค่าที่วิทยาศาสตร์ได้กดทับมัน ในชื่อที่ผู้คนเหล่านี้สร้างคุณค่าใหม่ให้มันอีกครั้ง ในชื่อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” และในวันที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ได้กลายเป็นวาทกรรมหลักในสังคม ก็เป็นหน้าที่ของสื่อทางเลือกนี้แหละ ที่จะท้าทายภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ด้วยชุดวาทกรรมท้าทายใหม่ ๆ ทั้งหมดนี้เพราะอะไร ก็เพราะภารกิจของสื่อทางเลือกนั้น ไม่ใช่อะไรมากไปกว่า การเสนอทางเลือกให้กับสังคม “นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้าม นักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน”…

Exit mobile version