-
me(dia)
มีเพื่อนส่งลิงก์นี้มาให้ดู น่าเสียดาย…เว็บประชาไท (ผู้จัดการออนไลน์) ในนั้นเขาว่า เขา “เปิดโปง” เบื้องหลังคนสนับสนุนประชาไท ผมก็งง ๆ ข้อมูลทั้งหมด เขาก็มีเผยแพร่ไว้ใน เกี่ยวกับประชาไท ตั้งนานแล้วนี่นา อย่างน้อยก็มากกว่าหนึ่งปีล่ะ ที่ผมเคยกดดู – มันเรียกว่าเปิดโปงตรงไหนนะ เรื่องรสนากับปลื้ม ผมก็งง ๆ – เอ เขานับ “ส่วนใหญ่” กันยังไงนะ ลองอ่านดูในความเห็นท้ายข่าว มันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่านี่นา เรื่องมีคนมา “รุมด่ารสนามากกว่าปลื้ม” (แน่นอนว่ามีคนตั้งคำถามต่อท่าทีกระทบกระเทียบของรสนา ว่าไม่จำเป็นต้องพูดไปถึงวงศ์ตระกูลของปลื้มเขาเลย) ผมก็คงบอกแทน คิดแทนคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็ลองดูข้อมูลจากหลาย ๆ ที่ละกันครับ สื่อ/แหล่งข่าว/บล็อก ๆ หนึ่งไม่สามารถมีข้อมูลที่รอบด้านได้ และก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น แต่สื่อหลาย ๆ ที่ หลาย ๆ มุมมอง รวมกัน ก็สามารถที่จะให้ข้อมูลที่รอบด้านขึ้นได้ นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงต้องรักษาเสรีภาพและความหลากหลายของแหล่งข่าวเอาไว้ ให้สามารถเสนอหลายมุมมอง เสนอหลายแนวคิดที่แตกต่างกันได้ ผมคิดว่าสำหรับสื่อต่าง…
-
on press(ed)
“The worst kind of censorship is self-censorship.” Short interviews/comments I gave (together with others) in recent months. For the records. Blogging the Coup By Dustin Roasa Columbia Journalism Review Short Takes, 10 April 2008 Bloggers don’t predict stability By Pravit Rojanaphruk The Nation, 22 December 2007 (Bangkok Pundit covered this) บทสัมภาษณ์ [PDF] กองบรรณาธิการ จดหมายข่าวปฏิรูปสื่อ, คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ,…
-
Happy Earth Day!
เนื่องในโอกาสวันคุ้มครอง(ทาง)โลกนี้ เหมือนกับโอกาสที่ผ่าน ๆ มา ผมมีความยินดีจะชวนทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ คิดเห็นอะไรกับตัวผม (หรือบล็อกนี้ หรืองานที่ผมทำ) ดีหรือไม่ดี เหมาะหรือไม่เหมาะ ไม่ว่าจะเป็นในรอบปีที่ผ่านมาหรือตอนไหนก็ตาม ว่ากันมาได้ตามสะดวกครับ ไม่ต้องเกรงใจ ไม่มีโกรธกัน — ขอบคุณมาก ๆ 🙂 (ส่วนเรื่อง “มาสาย” นี่ไม่ต้องนะ ง่ายไป ไม่อยากแจกแต้ม 😛 … จะเอาให้มันสายน้อยลงน่าาาา…) และในโอกาสนี้ ขอขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับ พ่อหมาอ้วน/ผู้ใหญ่บ้าน, คุณ mnop, พี่เทพ, mk, และคนอื่น ๆ ที่ช่วยแนะนำตักเตือนด้วยดีเสมอมาในวาระโอกาสต่าง ๆ ขอบคุณมากครับ Happy Earth Day! 22 เมษายน: วันคุ้มครองโลก ค.ศ. 1724 – อิมมานูเอิล คานท์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน ค.ศ. 1870 –…
-
stet for public consultation
เหมาะเอามาช่วยร่างรัฐธรรมนูญ/กฎหมาย/ฯลฯ ไหม? stet เป็นชุดซอฟต์แวร์เสรีสำหรับรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสารข้อความผ่านทางหน้าเว็บ สร้างขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 โดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (FSF) เพื่อใช้ในการทำประชาพิจารณ์ สำหรับการปรับปรุงสัญญาอนุญาต GNU General Public License ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์เสรี ที่กำหนดข้อตกลงที่ให้ซอฟต์แวร์เสรีจำนวนมากสามารถแจกจ่ายได้ ในการที่จะเพิ่มความคิดเห็นนั้น ผู้ใช้จะต้องเลือกคำจำนวนหนึ่งหรือประโยค ๆ หนึ่งจากตัวเอกสาร ก่อนที่จะใส่ความคิดเห็น. โดยเป็นที่คาดหวังว่า ข้อกำหนดนี้จะช่วยให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสารนั้นเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น. ความคิดเห็นที่ผ่านมาทั้งหมดจะปรากฎแก่ผู้ใช้ทุกคน และส่วนของเอกสารที่มีผู้แสดงความคิดเห็นมาก ก็จะถูกทำให้เด่นด้วยสีอ่อน-เข้ม ตามจำนวนความคิดเห็น stet สร้างด้วยจาวาสคริปต์ XSLT และ ภาษาเพิร์ล ใช้บางส่วนของซอฟต์แวร์ Request Tracker stet พัฒนาโดย Orion Montoya สำหรับมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี สำหรับกระบวนการร่างสัญญาอนุญาต GNU General Public License รุ่นที่สาม ผ่านเว็บท่า gplv3.fsf.org technorati tags: stet, collaboration, comments